Sangtakieng.com

นั่งร้านและความปลอดภัยในงานปฏิบัติการ Safe Access and Working Scaffolds
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง

แบบนั่งร้าน เนื่องจากมาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบนั่งร้านมาจากหลายแหล่งข้อมูล เมื่อนำมาพิจารณาจะพบว่าไม่ได้แตกต่างกันมาก หลักการทางวิศวกรรมโครงสร้างอยู่บนรากฐานเดียวกันทั้งสิ้น, ณ ที่นี้จะแบ่งนั่งร้านออกเป็น 8 แบบ 

  • นั่งร้านแบบเสาเรียงเดี่ยว (sigle pole scaffolds) : จะติดตั้งนั่งร้านแบบนี้ได้ ต้องมีโครงสร้างถาวรสำหรับฝากเสาหนึ่งแถวไว้กับโครงสร้างนั้น ทั้งนี้โดยการติดตั้งคาน ตงและแผ่นปูพื้นนั่งร้านไว้ร่วมด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงโดนง่ายคือใช้โครงสร้างนั้นแทนเสานั่งร้านนั่นเอง (ฝ่ายปฏิบัติการบางคนเรียกว่าเสาฝาก)
  • นั่งร้านยกพื้นอิสระ (independent scaffolds) : เป็นนั่งร้านที่ติดตั้งจากพื้นดิน พื้นของอาคาร โดยติดตั้งสูงตามแนวตั้ง, นั้งร้านแบบยกพื้นอิสระแบ่งย่อยๆ ออกเป็น ๓ แบบคือ 

นั่งร้านหอสูง (tower scaffolds)

นั่งร้านแขวนห้อย (over hung scaffolds)

นั่งร้านเคลื่อนที่ได้ (mobile scaffolds)


  • นั่งร้านไม้ไผ่ (bamboo scaffolds) : นั่งร้านแบบนี้ใช้ไม้ไผ่มาติดตั้งเป็นนั่งร้าน ห้ามนำมาใช้ในภาคโรงงาน หรือห้ามนำมาใช้ในภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรม ทั้งนี้อันเนื่องมาจากเงื่อนไขของไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติโดยตรง เป็นเรื่องที่ควบคุมยาก เช่นความแตกต่างของตาไม้ เสี้ยนไม้ อายุไม้แก่อ่อน ความโก่งงด คด รอยกัดเจาะจากมด มอด ฯลฯ เหล่านี้จะมีผลโดยตรงกับการรับแรงของนั่งร้าน จึงเป็นเหตุให้ไม่อนุญาตให้นำมาใช้ฯ ดังกล่าวแล้ว
  • นั่งร้านแบบโครงสำเร็จรูป (prefabricated scaffolds) : นั่งร้าน ถูกติดตั้งไว้บนฐานเกลียวปรับระดับ ยึดเข้ากับโครงสร้างที่มั่นคง หรือในกรณีที่เป็นลานดินไม่มีโครงสร้างให้ยึดตรึง นั้งร้านแบบนี้ต้องติดตั้งค้ำยันกับสมอบก, สามข้อจำกัดของนั่งร้านโครงสำเร็จรูป คือ

ไม่มีแผ่นกันของตก

ขนาดของโครงสร้างนั่งร้าน กว้าง ยาวและสูงจะคงสภาพ ปรับลด-ปรับเพิ่มไม่ได้ ทำให้นั่งร้านแบบนี้ติดตั้งในพื้นที่ซึ่งคับแคบกว่าเฟรมไม่ได้

โดยอุปกรณ์ของนั่งร้านไม่สามารถติดตั้งนั่งร้านสูงกว่า 3 ชั้น หากจะติดตั้งสูงกว่านี้ ต้องนำอุปกรณ์ของนั่งร้านท่อประกอบคือ ท่อเหล็กและแคลมป์มาใช้ร่วมด้วยในการยึดตรึงเข้ากับโครงสร้างหลัก หรือติดตั้งเข้ากับสมอบกเพื่อป้องกันการล้ม


  • นั่งร้านแบบยกพื้นกว้าง (platform scaffolds) : โดยแนวปฏิบัติสำหรับบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ พื้นที่ซึ่งใช้นั่งร้านต้องกำหนดเป็นเขตอันตราย ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ หากใช้นั่งร้านในพื้นที่สัญจร จึงต้องมีทางเบี่ยง หลักเกณ์ดักล่าวจะมีข้อกำกัดในสองสภาพการทำงานคือ (1) เขตที่ไม่สามารถจัดทำทางเบี่ยงได้ เช่นถนนในเขตเมือง เขตโรงงาน หรือพื้นที่ซึ่งทำงานบน-ล่าง หลายชั้นพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้นั่งร้านแบบยกพื้นกว้าง
  • นั่งร้านแบบยกพื้นค้ำยัน (cantilever scaffolds) : นั่งร้านแบบนี้เหมาะกับการทำงานภาวะโหลดเบา (light duty load) ข้อดีคือไม่ต้องติดตั้งนั่งร้านขึ้นจากพื้นดินหรือพื้นของอาคาร เสานั่งร้านจะใช้ค้ำยันมีองศาเอียงแทน เสาค้ำยันของนั่งร้านประเภทนี้ควรเอียงไม่น้อยกว่า 75 องศาและความกว้างพื้นทำงานไม่ควนเกิน 4 แผ่น (220x4 แผ่น =880 หรือประมาณ 90 เซนติเมตร)

ติดตั้งค้ำยันยื่นออกนอกอาคารหรืออกนอกโครงสร้าง

ยึดท่อนั่งร้านเข้ากับโครงสร้าง ส่วนรับแรงหลักอยู่ที่จุดค้ำยันเข้ากับโครงสร้าง

ติดตั้ง ไม่อนุญาตให้ใช้กับงานหนัก หมายถึงให้ใช้สำหรับรับโหลดเบาเช่นคนขึ้นไปทำงาน ใช้เครื่องมือเล็กและวัสดุเบาเท่านั้น


  • นั่งร้านแบบเท้าแขน (bracket scaffolds) : เป็นนั่งร้านที่ออกแบบพิเศษเฉพาะงาน อาจเชื่อมยึดเข้ากับโครงสร้างหลัก ส่วนใหญ่ใช้กับงานติดตั้งหอกลั่น ถังลูกโลก ซึ่งไม่สะดวกกับการใช้ร้านแบบอื่น
  • นั่งร้านแบบลิ่มล็อค (ring lock scaffolds)

         

   ตัวอย่างอุปกรณ์นั่งร้านแบบลิ่มล็อค


นั่งร้าน (scaffolds) มีหลายประเภท ทุกประเภทต้องติดตั้งโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมและได้รับประกาศนียบัตร สำหรับติดตั้งนั่งร้านโดยเฉพาะเท่านั้น ต้องไม่ลืมว่านั่งร้านที่ปลอดภัยต้องมีมาตรฐานรองรับ อุปกรณ์นั่งร้านและการติดตั้งต้องตรงกับข้อกำหนดของมาตรฐาน, หลักปฏิบัติทั่วไป และการเลือกใช้นั่งร้านมีแนวปฏิบัติดังนี้

  • เลือกใช้นั่งร้าน ให้เหมาะสมกับงาน selected for the type of work. 
  • พิจารณาระดับความสูงของงาน selected for the hight of work. 
  • การเลือกและการวางแผนเพื่อใช้นั่งร้าน ให้กระทำโดยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับนั่งร้านและมีคุณสมบัติที่จะใช้นั่งร้าน constructed before the applied load, by a qualified scafoldder. 
  • ตรวจสอบ ตรวจสภาพตามเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสภาพนั่งร้านตรงกับข้อกำหนด inspected before each use to ensure serviceable condition. 
  • ใช้นั่งร้าน ที่มีสภาพพร้อมใช้งานเท่านั้น maintained whilst in use. 
  • อุปกรณ์นั่งร้านควรถูกตรวจสอบจาก third party inspector หรือ independently inspector ทุก 30 วัน-independently inspected every 30 days.
  • ต้องแขวนป้ายทะเบียน การตรวจสอบ-ตรวจสภาพนั่งร้าน (scaffolding tag) ที่บันไดทางขึ้นนั่งร้านขั้นที่ 3 ทั้งนี้เพื่อแสดงสถานภาพให้ใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้นั่งร้าน ซึ่งอายุป้ายทะเบียน นับจากวันตรวจสอบตรวจสภาพต้องไม่เกิน 7 วัน have a scaffolding tag secured to each access point of scaffold.

เกณฑ์การแบ่งโหลดนั่งร้าน  load rating for scaffolds (ref. British Standard BS 5973 : code of practice for access and working scaffolds)

       

นั่งร้าน ต้องตรวจสภาพโดยผู้ที่มี Certificate (Qualified Person) เมื่อใด
  • หลังประกอบเสร็จ
  • ก่อนใช้งาน 
  • หลังมีการต่อเติม แก้ไข ดัดแปลง
  • ผ่านสภาพอากาศที่รุนแรง 
  • ทุกเจ็ดวันของการใช้งาน

ตัวอย่าง ขั้นตอนการร้องขอให้ติดตั้งหรือรื้อรอนนั่งร้าน กรณีใช้ผู้รับเหมาติดตั้งหรือรื้อถอนนั่งร้าน

          

กลับหน้าแรก :  คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังเมนู ลำดับการเลือกวิธีปฏิบัติงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รถกระเช้าและกระเช้ายกคน : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังเมนู อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บันไดและการใช้บันไดอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้ 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 18 คน
 สถิติเมื่อวาน 140 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2665 คน
23996 คน
906048 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong