Sangtakieng.com
 
safe access on wall and gondola operations
วิศวกรรมความปลอดภัยกระเช้ากอนโดลา ตอนที่สอง นำเสนอหน้านี้
วิศวกรรมความปลอดภัยกระเช้ากอนโดลา ตอนที่หนึ่ง คลิ๊กตรงนี้ 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด ASSA : ฝึกอบรม สัมมนา
e-mail : sangtakieng@gmail.com
contact number : 093 7719222
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง

ส่วนประกอบที่สาม กระเช้าคนยืนและวินซ์ฮอยท์ (hoist and suspension platform) 

กระเช้าคนยืน ถูกสร้างขึ้นตามมาตรฐานกำหนด จะอ้างอิงมาตรฐานใดที่ยอมรับใช้งานก็ได้ เช่นมาตรฐานยุโรป (CE : european standard EN1808 and has been tested to exceed the requirements of OSHA and ANSI) หรือมาตรฐานอื่นๆ ก็ได้ ฯลฯ กระบวนการนำกระเช้ามาใช้เริ่มจาก สร้างขึ้น ตรวจสภาพและทดลองใช้งานหลังติดตั้ง (commissioning) ตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ ตรวจสภาพประจำปี ตรวจสภาพและทดสอบแนวเชื่อมทุกเจ็ดปี  (commissioning) หากรวมข้อกำหนดการสร้างและข้อกำหนดการตรวจทดสอบ จะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

 
  • ออกแบบตามมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่ยอมรับใช้งาน
ออกแบบเป็นเพลทฟอร์มถาวร

กรณีมีประตู ประตูต้องเปิดเข้า

มีที่เกี่ยวแลนยาร์ดซึ่งติดตั้งมาพร้อมกระเช้า

บอกค่ารับน้ำหนักบรรทุกที่ตัวกระเช้า หน่วยเป็นกิโลกรัม

พื้นไม่ลื่น & พื้นต้องระบายน้ำได้

 
  • มีหมายเลขประจำกระเช้า (serial number or ID number)
  • ตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน
  • ห้ามมิให้แปลงสภาพยกเว้นทำโดยวิศวกร กรณีแปลงสภาพให้เก็บเอกสารดังกล่าวไว้ ณ พื้นที่ซึ่งกอนโดลาประจำการอยู่ เพื่อให้ตรวจสอบได้
  • ต้องมีการซ่อมบำรุงตามคู่มือหรือเอกสารที่วิศวกรกำหนดขึ้น
  • ผ่านการตรวจสภาพและทดสอบหลังติดตั้ง โดยวิศวกร

วินซ์ฮอยท์ (winch hoist) คือต้นกำลังขับเคลื่อนกระเช้าขึ้นลง กระเช้าไฟฟ้าแบบ counter weight or roof beam วินช์ฮอยท์จะถูกติดตั้งซ้ายขวารวมสองตัว
 
 
1. ตัวอย่างข้อมูลทั่วไปของวินซ์ฮอยท์ 
 
  • rate lifting force (kN) แรงในการยกสูงสุด ๕ กิโลนิวตัน
  • voltage (V) แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้า ๓๘๐ โวลท์ (๔๑๕ /๒๒๐ โวลท์) 
  • lifting speed (m/min) ความเร็วสูงสุดการเคลื่อนที่กระเช้า ๙.๓ เมตรต่อวินาที
  • frequency (Hz) ใช้ได้กับความถี่ ๕๐ หรือ ๖๐ เฮิร์ต (Hz : รอบต่อนาที)
  • power (kw) กำลังไฟฟ้า ๑.๑ กิโลวัตต์
  • dimension (mm) ขนาดกว้าง ยาว สูงโดยประมาณ (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อนั้นๆ) ๓๑๐ ๒๕๐ ๕๘๐ มิลลิเมตร
  • weight (kg) น้ำหนักโดยประมาณ (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อนั้นๆ) ๔๘ กิโลกรัม
  • braking torque (N.m) กำลังการทำงานของระบบเบรก ๑๕ นิวตันเมตร
  • rotating speed (r/min) ความเร็วรอบขับเคลื่อน ๑๔๐๐ รอบต่อนาที
  • diameter of wire rope (mm) แกนกลางไฟเบอร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๘.๓ มิลลิเมตร

2. ฟังก์ชั่นการทำงานและระบบบังคับ

จะมีสวิทซ์เลือกตำแหน่งให้บังคับคราวละตัวและบังคับขึ้นลงพร้อมกันทั้งสองตัวซ้ายขวา หมายความว่าเมื่อเลือกสวิทซ์ (selection switch) ไปที่วินซ์ฮอยท์ตัวซ้ายก็สามารถกดปุ่มบังคับ (push button) ตัวด้านซ้ายให้ขึ้นลงได้ ส่วนตัวด้านขวาก็ให้ปฏิบัติคล้ายกัน ฟังก์ชั่นนี้จะเลือกใช้เมื่อพื้นกระเช้าเอียงเท่านั้น (การออกแบบกระเช้าแขวน จะไม่เอียงหน้าหลัง จะเอียงเฉพาะซ้ายกับขวาเท่านั้น) จากฟังก์ชั่นที่กล่าวถึงนี้จึงสรุปได้ว่ากระเช้าไฟฟ้ากอนโดลาแบบน้ำหนักถ่วง (counter weight or roof beam gondola) ทำงานตามแนวดิ่งได้สองทิศทางเท่านั้นคือขึ้นกับลง

notes : the system can easily be operated with the suspended platform, which is equipped with its own control box and an all-in-one control panel. This panel includes a lifting and lowering function as well as an emergency stop.

 
 
 
กรณีพื้นกระเช้าเอียงประมาณ ๑๕-๒๐ องศา อุปกรณ์เซฟตี้ล็อค (mechanical safety lock) ซึ่งอยู่เหนือวินซ์ฮอยท์จะทำงาน โดยจะล็อคสลิงให้คงระดับแขวนค้าง กระเช้าเคลื่อนที่ลงไม่ได้ 

3. ระบบฮอยท์เบรก
 
เบรกแม่เหล็กไฟฟ้าของมอเตอร์ฮอยท์ ทำงานโดยระบบอัตโนมัติโดยสร้างความฝืดระหว่างกลไกของเบรกกับสลิง ขณะเบรกทำงานกระเช้า (suspended platform) จะหยุดค้างไม่เคลื่อนที่ลง กรณีกระแสไฟฟ้าขัดข้องหรือกลไกของระบบไม่ทำงาน สามารถบังคับให้กระเช้าเคลื่อนที่ลงได้ โดยใช้มือดันคันโยกให้เบรกถ่างออกจากสลิง กระเช้าก็จะเคลื่อนที่ลงด้วยความเร็วปกติ

The electromagnetic brake of hoist motor is able to be auto-engaged to producing braking torque that stops and supports the suspended platformIn the event of power failure or emergency, the electric-mechanical brake can be manually released in order to ensure safe and controlled lowering of the load. Safe lowering mechanism is guaranteed by the integrated centrifugal force brake.

 
 

การรักษาสภาพและการตรวจทดสอบ Maintenance and Inspections

 
สำหรับประเทศไทย ไม่มีข้อกฎหมายที่เป็นลักษณะเฉพาะสำหรับตรวจทดสอบกระเช้ากอนโดลา มีเพียงกฎหมายระดับกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พุทธศักราช ๒๕๕๒ เท่านั้น ที่ระบุให้การประกอบ การติดตั้ง การซ่อมแซมและการใช้งานเครื่องจักร นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้รับรองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดและเก็บหลักฐาน ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ ฉะนั้นการตรวจทดสอบหรือการตรวจสภาพให้ใช้หลักการทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยร่วมด้วย ซึ่งมีแนวปฏิบัติในการตรวจสภาพดังนี้
 
  • ตรวจทดสอบหลังการติดตั้ง
  • ตรวจทดสอบหลังการย้ายติดตั้งไปยังตำแหน่งใหม่บนพื้นที่ใหม่หรือพื้นดาดฟ้าอื่น (หากเป็นพื้นที่เดิมหรือพื้นดาดฟ้าเดิมแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจากเดิมให้ตรวจทดสอบใหม่เช่นกัน)
  • ตรวจทดสอบหลังซ่อมบำรุงเกี่ยวกับชิ้นส่วนหรือระบบที่มีผลต่อความปลอดภัย
  • ตรวจทดสอบหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
  • ตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้
  • ตรวจทดสอบแนวเชื่อมและการประกอบชิ้นส่วนอยู่กับที่ทุกรอบเจ็ดปี
 
ตรวจทดสอบหลังติดตั้งและตรวจทดสอบประจำปีโดยวิศวกร 
 
ตรวจสภาพและทดสอบให้ทำโดยวิศวกรผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรและเก็บบันทึกการตรวจสภาพและทดสอบดังกล่าวไว้ในสถานประกอบกิจการให้ตรวจสอบได้ 
ด้วยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกรมฯ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นใด มิได้กำหนดแบบตรวจสภาพและทดสอบประจำปีไว้ การกำหนดแบบตรวจและทดสอบจึงให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดขึ้นเป็นเอกสาร อย่างไรก็ตามเอกสารวิศวกรรมความปลอดภัยฉบับนี้จะให้คำแนะนำอย่างละเอียดไว้ด้วย 
 
หนึ่ง ตรวจสภาพโครงสร้างแขวนกระเช้าและน้ำหนักถ่วง : หัวข้อตรวจสภาพ 
  • โบลท์ น๊อตยึดโครงสร้างครบทุกตำแหน่ง ขันประกอบแน่นไม่หลุดหลวม
  • ความโก่งงอ บิดเบี้ยวเสียรูป
  • กรณีโครงสร้างมีล้อ ล้อต้องมีสภาพปกติและรับโหลดได้ไม่ต่ำกว่า ๖๐๐ กิโลกรัมต่อหนึ่งล้อ ดูค่าแสดงที่ก้านล้อหรือดูจากตารางรับโหลดของล้อ
  • ก้อนน้ำหนักถ่วง
ก้อนน้ำหนักถ่วงมีจำนวนถูกต้อง & คำนวณรับโหลดตามทฤษฎีของคานแล้ว มีค่าพิกัดเผื่อความปลอดภัย safety factor ไม่ต่ำกว่า ๓.๕ เท่า
น้ำหนักถ่วงทุกก้อนวางตรงตำแหน่งติดตั้งกับฐานโครงสร้าง
น้ำหนักถ่วงทุกก้อนถูกยึดรวมไว้ด้วยกันที่ตำแหน่งติดตั้งกับฐานโครงสร้าง 
 
 
 
  • อุปกรณ์ยึดสลิงบนคานโครงสร้าง (rope anchorage) สภาพปกติ โบลท์และน๊อตที่ยึดให้ติดกับคาน ไม่หลุดหลวม
  • รอกปลายแขน (guide rope) สภาพปกติ โบลท์และน๊อตไม่หลุดหลวม
  • สภาพสลิงยึดโครงสร้างเป็นปกติ อ้างอิงวิศวกรรมความปลอดภัยเกี่ยวกับสลิงเหล็กหรือกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ
  • ตรวจแนวเชื่อมด้วยสายตา กรณีโครงสร้างกอนโดลา ใช้งานครบเจ็ดปีหรือเกินเจ็ดปี ให้ตรวจและมีเอกสารผ่านการตรวจแนวเชื่อมโดยใช้น้ำยาแทรกซึม (Penetrant Test- PT)
  • วิธียึดสลิงด้วยคลิ๊ปอานม้า (single saddle clip) ยึดได้ถูกต้อง
ใช้ปลอกรับห่วงสลิง (thimble)
ปลอกรับห่วงสลิงตรงกับขนาดสลิง
การประกอบหัวคลิ๊ป ทิศทางหันหัวคลิ๊ปถูกต้องจำนวนคลิ๊ปถูกต้อง
ระยะคลิ๊ปถูกต้อง
ระยะพับห่วงสลิงถูกต้อง
แรงขันกวดคลิ๊ปอานม้าถูกต้อง
 
สอง ตรวจสภาพสลิงเคลื่อนที่หรือลวดวิ่ง (running rope) สลิงที่ใช้เป็นลวดเคลื่อนที่สำหรับแขวนกระเช้ากอนโดลา มีวิธีตรวจสภาพเช่นเดียวกับสลิงที่ใช้ยึดโครงสร้าง ส่วนที่ต่างกันก็คือค่าความปลอดภัยของลวดโยงยึดไม่ต่ำกว่า ๓.๕ เท่า แต่ลวดเคลื่อนที่หรือลวดวิ่งต้องไม่ต่ำกว่าหกเท่า
สาม ตรวจทดสอบกระเช้าคนยืนและวินซ์ฮอยท์ (hoist and suspension platform) ให้ตรวจสภาพกระเช้าตามมาตรฐานว่าด้วยกระเช้ากอนโดลา ดังที่กล่าวข้างต้นและส่วนอื่นให้ตรวจสภาพดังต่อไปนี้
  • ตรวจสอบโครงสร้างทั่วไป ต้องไม่มีการแปลงสภาพ ยกเว้นทำโดยวิศวกร
  • โบลท์ น๊อตยึดโครงสร้าง สลักต่อโครงสร้างหรือหมุดย้ำครบทุกตำแหน่ง ขันประกอบแน่นไม่หลุดหลวม
  • สลักเซฟตี้ต่อโครงสร้างครบทุกตำแหน่ง ขันประกอบแน่นไม่หลุดหลวม
  • ความโก่งงอ บิดเบี้ยวเสียรูป
  • ทดสอบการเคลื่อนที่และฟังเสียงดังที่ผิดปกติ สั่นเคลื่อนที่กระตุกไม่เรียบของวินซ์ฮอยท์
  • ทดสอบการทำงาน กลไกกระเช้าเอียงซ้ายขวา (mechanical safety lock)
  • ทดสอบการทำงานของเบรกวินซ์ฮอยท์ ต้องไม่ลื่นเคลื่อนที่ลงได้เอง
  • ทดสอบการทำงานเบรกใต้กระเช้า (lower limit switch or foot switch)
  • ตรวจสอบการรั่ว หยดหรือซึมของน้ำมันไฮดรอลิกส์
  • ตรวจสอบการรั่วหรือเปื้อนของสารหล่อลื่น
  • ตรวจสภาพอุปกรณ์บังคับกระเช้ากอนโดลาบนแผงควบคุมและระบบสายไฟ

แบบที่ ๒ : กระเช้ากอนโดลาแบบยึดเฟรมอยู่กับที่
 
กระเช้ากอนโดลาแบบยึดเฟรมอยู่กับที่ (fasten gondola) แตกต่างกับแบบน้ำหนักถ่วงเฉพาะการติดตั้งเฟรมแขวนกระเช้าเท่านั้น หลักการและวิธีการอื่นเหมือนกันทั้งหมด ทังนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดพื้นที่ส่วนบนของอาคารหรือส่วนบนของปล่องไฟ ที่ไม่มีพื้นที่ราบดาดฟ้ามากพอที่จะวางคานน้ำหนักถ่วง วิธียึดโครงแขวนกระเช้าอยู่กับที่แบบนี้จึงมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่มากกว่า การยึดเฟรมทำได้ทั้งแบบติดตั้งถาวรหรือติดตั้งเพื่อใช้งานเป็นครั้งคราวก็ได้
 
  • ยึดเฟรมอยู่กับที่แบบถาวร เรียกว่า fasten gondola
  • แคลมป์ยึดเฟรมอยู่กับที่เพื่อใช้งานโครงการ (เป็นครั้งคราว one off job) เรียกว่า parapet clamp gondola
ตัวอย่าง กระเช้ากอนโดลาแบบยึดเฟรมอยู่กับที่และแบบ parapet clamp gondola บริษัท wuxi hanjie international trading, china มาตรฐานผลิต ce, iso รับโหลดสูงสุด ๘๐๐ กิโลกรัม 
 
 
 
แบบที่ ๓ กระเช้ากอนโดลาแบบรางแนวตั้งบนล่าง Verticalrail Gondola 
 
เรียนรู้เชิงเปรียบเทียบกับกระเช้ากอนโดลาแบบที่สอง กระเช้ากอนโดลาแบบรางแนวตั้งนี้ มีพื้นฐานทำงานเหมือนกับแบบยึดอยู่กับที่ เพิ่มรางวิ่งคู่บนล่างและกลไกทรอยเลย์เพื่อขับเคลื่อนโครงแขวนกระเช้าและกระเช้า (suspension mechanism and platform) ให้เคลื่อนที่ไปตามแนวราง (trolley runway) ความแตกต่างชัดเจนก็คือเพิ่มการเคลื่อนที่ได้อีกสองทิศทาง ข้อดีคือใช้พื้นที่ดาดฟ้าของอาคารน้อยลง การกีดขวางน้อยลง รางเลื่อนสามารถออกแบบได้ทั้งรางตรงและรางโค้ง สรุปว่ากระเช้ากอนโดลาแบบนี้เคลื่อนที่ได้ ๔ ทิศทาง ขึ้นลง ซ้ายและขวา (ขอขอบคุณ ภาพจากบริษัท acrobat PTE singapore)
 
 
 
แบบที่ ๔ กระเช้ากอนโดลาแบบแขนตรง Telescope Jib Gondola
 
กระเช้ากอนโดลาแบบแขนตรง โดยปกติจะติดตั้งถาวรบนชั้นดาดฟ้าของอาคารสูง มีความแตกต่างไปจากกอนโดลาแบบที่หนึ่ง แบบที่สองและแบบที่สามค่อนข้างมาก ทั้งนี้ ด้วยมีกลไก ระบบต้นกำลังและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ซับซ้อนขึ้น โดยทั่วไปตัวกระเช้าจะเคลื่อนที่ได้แปดถึงสิบทิศทาง
การเคลื่อนที่ของกระเช้ากอนโดลาแบบแขนตรง gondola function
  • เคลื่อนที่ตามแนวดิ่งขึ้นลง โดยฟังก์ชั่นของฮอยท์
  • ตามแนวราบซ้ายขวาตามแนวราง โดยฟังก์ชั่นรถ
  • หน้าหลัง โดยฟังก์ชั่นของบูม (กรณีเป็นรุ่นที่บูมหรือจิบมีมากกว่าหนึ่งท่อน)
  • ตามเข็ม-ทวนเข็มนาฬิกา โดยฟังก์ชั่นของคานปลายบูม /และบางออฟชั่น
  • กระเช้าเคลื่อนที่ได้ตามเข็ม-ทวนเข็มนาฬิกา โดยฟังก์ชั่นของรถ
เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย จะนำเสนอเป็นลำดับขั้นและใช้ภาพประกอบคำอธิบายด้วย ซึ่งภาพดังกล่าว คัดลอกมาจากบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทเกี่ยวข้องกับกอนโดลา
 
 
 
ส่วนประกอบและฟังก์ชั่นของอุปกรณ์
 
อุปกรณ์กระเช้ากอนโดลาแบบแขนตรง ประกอบด้วยสามส่วนคือส่วนของตัวรถรวมแขนยื่น กว้าน (winch hoist) และกระเช้าคนยืน หากแต่กระเช้าคนยืนมีข้อกำหนดเหมือนกับทุกแบบ ณ ที่นี่จึงไม่กล่าวถึงอีก ส่วนชุดกว้านต่างกันแค่มีล้อเก็บสลิงเท่านั้น ไม่ปล่อยออกด้านนอกเหมือนแบบก็หน้านี้
 
หนึ่ง-ตัวรถ (truck) ตัวรถจะมีชุดล้อและต้นกำลัง ขับเคลื่อนให้เคลื่อนที่ไปบนรางหรือเคลื่อนที่บนพื้นราบได้ และยังมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ติดตั้งร่วมอยู่ด้วย
น้ำหนักถ่วง counter weights
ชุดล้อเลื่อน truck trolley
บูมจิ๊บ boom jib
บาร์แขวนกระเช้า spreader bar
  • น้ำหนักถ่วง แม้กระเช้ากอนโดลาแบบแขนตรงจะมีรูปร่างต่างไปจากกระเช้าไฟฟ้าแบบแบบน้ำหนักถ่วง แต่หลักการสมดุลก็ยังเหมือนเดิม น้ำหนักถ่วงด้าน inboard (ด้านหลังของล้อคู่หน้า) ต้องมากกว่าด้าน outboard ไม่น้อยกว่า ๓.๕ เท่าหรือตามมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ผลิต
  • ชุดล้อเลื่อน truck trolley จะประกอบด้วยล้อ ชุดเฟืองทดและต้นกำลัง หากเป็นล้อยางก็สามารถขับเคลื่อนตามแนวราบได้เหมือนฟังก์ชั่นรถ เลี้ยวซ้ายขวา เดินหน้าและถอยหลังได้ หากเป็นล้อชนิดวิ่งบนรางก็จะเคลื่อนที่ได้ซ้ายและขวา
 
 
 
  • บูมจิ๊บ บูมจิ๊บมีสองแบบคือแบบแขนท่อนเดียวและแบบแขนหลายท่อน แบบแขนท่อนเดียวเมื่อทำงานก็จะบังคับองศาเพื่อยื่นกระเช้าออกนอกผนังอาคาร หากแบบแขนหลายท่อนนอกจากบังคับองศาแขนขึ้นลงแล้ว ก็ยังบังคับให้แขนยืดหดตามแนวตรงได้ด้วย หมายความว่าบูมจิ๊บแบบแขนหลายท่อน สามารถเคลื่อนกระเช้าได้ ๔ ทิศทาง คือเข้าออก ขึ้นและลง
  • บาร์แขวนกระเช้า spreader bar บาร์แขวนกระเช้าเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างปลายแขนของฟลายจิ๊บกับกระเช้าคนยืน (กระเช้าแบบสองหูหิ้ว หากเป็นกระเช้าแบบหูหิ้วเดียวจะไม่ใช้ร่วมกับบาร์แขวน) ที่บาร์แขวนฯ นี้ได้ติดตั้งกลไกให้บิดเคลื่อนกระเช้าคนยืนตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาได้
 
สอง-วินซ์ฮอยท์ วินซ์ฮอยท์ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟส ๓๘๐ โวลท์ ทำงานร่วมกับชุดเฟืองทดและขับเคลื่อนกระบอกกลวงซึ่งม้วนสลิงเอาไว้ ให้หมุนทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา ปลายอีกด้านของสลิงจะร้อยผ่านบูมจิ๊บ ปลายแขนแขวนกระเช้า (cross bar or spreader bar) และส่วนปลายสุดก็ยึดติดไว้กับกระเช้า
 
 
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนู วิศวกรรมความปลอดภัยฯ กอนโดลา ตอนที่หนึ่ง : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 11 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3293 คน
55439 คน
937491 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong