|
|
ตอนที่หนึ่ง หน้า ๑ |
scaffolding erector, scaffolding inspector and safe access scaffolds
| ผู้ติดตั้งนั่งร้าน ผู้ตรวจนั่งร้าน ผู้ใช้นั่งร้านและการกำกับดูแลงานนั่งร้านในสถานประกอบกิจการ | | ตอนที่หนึ่งหน้า ๑ มาตรฐานนั่งร้าน แบบนั่งร้านและความปลอดภัยงานนั่งร้าน | | งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com 093 7719222 |
หัวข้อนำเสนอผู้ติดตั้งนั่งร้าน ผู้ตรวจนั่งร้าน ผู้ใช้นั่งร้านและการกำกับดูแลการใช้นั่งร้านแบ่งออกเป็นสี่ตอน
| | - ตอนที่หนึ่ง (หน้า ๑) มาตรฐานนั่งร้าน แบบนั่งร้านฯ : นำเสนอหน้านี้
- ตอนที่หนึ่ง (หน้า ๒) มาตรฐานนั่งร้าน แบบนั่งร้านฯ : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่สอง (หน้า ๑) วิธีติดตั้ง
รื้อถอนนั่งร้าน : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่สอง (หน้า ๒) วิธีติดตั้ง รื้อถอนนั่งร้าน : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่สาม เทคนิคตรวจนั่งร้าน : อยู่ระหว่างการดำเนินงานพัฒนา
- ตอนที่สี่ การกำกับดูแลงานนั่งร้านในสถานประกอบกิจการ : อยู่ระหว่างการพัฒนางานพัฒนา
- ใบตรวจนั่งร้าน โครงสำเร็จรูป : คลิ๊กตรงนี้
|
วิศวกรรมความปลอดภัยงานนั่งร้าน
มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกันสามส่วน คือผู้ติดตั้งรื้อถอนนั่งร้าน
ผู้ตรวจนั่งร้านและผู้ใช้นั่งร้าน ซึ่งเรามักเรียกแต่เพียงสั้นๆ ว่าสามผู้
จะอย่างไรก็ตาม
การเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรจะแบ่งแยกเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วนคือ
องค์ความรู้ร่วมที่เป็นระดับพื้นฐาน
ซึ่งหมายความว่าทุกผู้ที่กล่าวถึงข้างต้นต้องเรียนรู้
และส่วนที่สองคือองค์ความรู้ที่เป็นลักษณะจำเพาะของแต่ละคน
โครงสร้างขององค์ความรู้เกี่ยวกับนั่งร้านแบ่งเนื้อหาออกเป็นสองส่วน
| | - องค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานร่วม
ทั้งผู้ติดตั้งรื้อถอน ผู้ตรวจและผู้ใช้นั่งร้าน
- องค์ความรู้ที่เป็นลักษณะจำเพาะตามลักษณะงาน
|
1 มาตรฐานนั่งร้านท่อประกอบ
Tubular
Scaffolds | | | มาตรฐานนั่งร้านมีหลายฉบับ
แต่ที่โลกอุตสาหกรรมใช้กันมากที่สุดคือมาตรฐานอังกฤษ (British
Standard BS
EN
12811,
BS
EN 74, BS
2482
2009)
ซึ่งเอกสารฉบับนี้จะกล่าวถึง
มาตรฐานนั่งร้านจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือมาตรฐานอุปกรณ์และมาตรฐานการติดตั้ง (equipment
standard and erecting standard)
| | - มาตรฐานมาตรฐานติดตั้ง BS
5973
(1993)
ยกเลิก ใช้ BS EN
12811
แทนเมื่อปี 2004
- มาตรฐานท่อ แคลมป์ BS
1139 (1993) ยกเลิก ใช้ BS EN
74 แทนเมื่อปี
2006
- มาตรฐานแผ่นปูพื้น BS
2482 (1981) ยกเลิก ใช้
BS
2482
(2009) แทนเมื่อปี 2009
|
การปรับปรุงมาตรฐานนั่งร้าน
เริ่มจากแก้ไขมาตรฐานการติดตั้งเป็น BS EN
12811
เมื่อปี
คริสต์ศักราช ๒๐๐๔ ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว
ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยหรืออาจจะหมายความรวมถึงภาคพื้นรอบๆ ประเทศไทยด้วย
แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงใดๆ เลย-ยังคงใช้มาตรฐานการติดตั้ง
BS
5973 เวอร์ชั่น
1993
ดังเดิม
และเริ่มปรับการใช้งานมากขึ้นหลังจากมาตรฐานท่อ
มาตรฐานแคลมป์และมาตรฐานแผ่นปูพื้นแล้วเสร็จ
และมีการผลิตอุปกรณ์ตามมาตรฐานใหม่ออกมาใช้งาน
| | บนความเป็นจริง
แม้มาตรฐานนั่งร้านฉบับปรับปรุงแก้ไขจะออกมาแล้วเสร็จตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช ๒๐๐๙
แล้วก็ตาม
แต่ปรากฏว่าอุปกรณ์ของหลายหน่วยงานยังมีสภาพปกติและการติดตั้งแบบเดิมยังมีค่าคำนวณตามหลักวิศวกรรมการรับแรงรับรองดังเดิม
ฉะนั้นแนวทางการใช้นั่งร้านในปัจจุบัน จึงยังยอมรับใช้ดังนี้ | | - ใช้อุปกรณ์นั่งร้านมาตรฐานเดิม
ติดตั้งตามมาตรฐานเดิม BS 5973
- ใช้อุปกรณ์นั่งร้านมาตรฐานเดิม
ติดตั้งตามมาตรฐานใหม่ BS EN 12811
- ใช้อุปกรณ์นั่งร้านมาตรฐานใหม่
ติดตั้งตามมาตรฐานใหม่ BS EN 12811
|
2 แบบนั่งร้าน ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับนั่งร้าน | | นั่งร้าน
หมายถึงที่ทำงานซึ่งจัดไว้สูงจากพื้นดินหรือจากพื้นของอาคารหรือส่วนของงานก่อสร้าง
สำหรับเป็นที่รองรับผู้ทำงานหรือวัสดุในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว
/ด้วยสภาพงานที่นำนั่งร้านไปใช้มีความแตกต่างกัน
นั่งร้านจึงมีหลายแบบดังนี้ | | - นั่งร้านแบบเสาเรียงเดี่ยว single
pole scaffolds
- นั่งร้านแบบยกพื้นอิสระ
independent scaffolds
| a) นั่งร้านแบบหอสูง tower
scaffolds
| b) นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ mobile
scaffolds
| | - นั่งร้านแบบ ไม้ไผ่ bamboo
scaffolds
- นั่งร้านแบบ โครงสำเร็จรูป prefabricate
scaffolds
- นั่งร้านแบบ ยกพื้นกว้าง platform
scaffolds
- นั่งร้านแบบ ยกพื้นค้ำยัน cantilever
scaffolds
- นั่งร้านแบบ แขวนห้อย overhung
scaffolds
- นั่งร้านแบบ
เท้าแขน
bracket
scaffolds
- นั่งร้านแบบ
ลิ่มล็อค
ringlock
|
แบบที่หนึ่ง
นั่งร้านแบบเสาเรียงเดี่ยว single pole scaffolds
| | เป็นนั่งร้านท่อประกอบ
ลักษณะติดตั้งเสาเพียงแถวเดียว
จึงเรียกนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวหรือบางครั้งเรียกว่านั่งร้านเสาฝาก
นั่งร้านแบบนี้จะติดตั้งแนวขนานกับโครงสร้างของโรงเรือน โดยคานของนั่งร้าน (scaffolding
runner) อีกด้านจะแคลมป์ติดตั้งไว้กับโครงสร้างของโรงเรือนและรับโหลดแทนเสา
| |
|
การยึดคานกับโรงสร้างโรงเรือนเสาฝาก
ต้องใช้บีมแคลมป์ beam clamp
ส่วนการยึดท่อที่ตำแหน่งอื่นๆ ก็ใช้มาตรฐานเดียวกันกับนั่งร้านท่อประกอบแบบอื่นๆ :
ภาพประกอบ | |
| | แบบที่สอง นั่งร้านแบบยกพื้นอิสระ independent
scaffolds
| | นั่งร้านแบบยกพื้นอิสระเป็นแบบของนั่งร้านท่อประกอบ
(tubular
scaffolds) ที่ใช้งานกันมากที่สุดในภาคงานปฏิบัติการอุตสาหกรรม
ลักษณะติดตั้งและการใช้งานมีทั้งติดตั้งอยู่กับที่บนพื้นและมีล้อเคลื่อนที่ได้
จึงแบ่งนั่งร้านออกเป็น ๒ แบบคือ | | - นั่งร้านแบบหอสูง tower
scaffolds
- นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ mobile
scaffolds
|
นั่งร้านแบบหอสูง (tower
scaffolds)
| | นั่งร้านแบบหอสูง
เป็นนั่งร้านท่อประกอบที่ติดตั้งจากพื้นด้านล่าง
หมายความว่าส่วนโคนเสานั่งร้าน นับตั้งแต่แผ่นรองฐาน
แผ่นรองตีนเสาและท่อเสาจะถูกติดตั้งจากพื้นราบระดับดินหรือพื้นของอาคาร
กรณีสูงเกินสัดส่วนของความกว้างฐาน หมายถึงฐานส่วนที่แคบสุด
ต้องมีการค้ำยันหรือยึดตรึงกับโครงสร้างอื่นที่แข็งแรง ป้องกันการล้ม, ข้อกำหนดและคุณลักษณะนั่งร้านแบบหอสูง
| | | - ติดตั้งจากพื้นดินหรือพื้นอาคาร ความสูงต่อชั้น ไม่เกิน ๒.๑ เมตร
เช่นเดียวกันกับนั่งร้านท่อประกอบแบบอื่นๆ
- ติดตั้งภายในอาคาร สูงได้ไม่เกิน ๔
เท่าหรือทุกสองชั้นหรือ ๔ เมตร ต้องยึดตรึงกันล้มกับโครงสร้างที่แข็งแรง
ส่วนด้านนอกอาคารไม่เกิน ๓.๕
เท่าของฐานส่วนที่แคบสุด โดยไม่ต้องยึดโยง (standing)
- หากสูงกว่าสัดส่วนที่กำหนดต้องยึดโยง
สมอบกหรือขยายฐาน
- หากไม่ติดตั้งผ้าใบ
ไม่ต้องนำแรงปะทะลม wind load
มาคำนวณ
|

| | ต้องไม่ลืมว่านั่งร้านความกว้างฐานคงเดิม
เมื่อเราติดตั้งสูงขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างก็จะสูงตามไปด้วย
เมื่อนำเงื่อนไขดังกล่าวมีเทียบเคียงกับทฤษฎีการล้มของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า
วัตถุจะล้มก็ต่อเมื่อจุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรง หมายความว่าหากจุดศูนย์ถ่วงสูงขึ้นแต่ฐานนั่งร้านเท่าเดิม
เมื่อมีแรงมากระทำวัตถุก็จะล้ม มาตรฐานอังกฤษ อนุกรม BS
EN
12811
ว่าด้วยการติดตั้งนั่งร้านจึงกำหนดให้มีการยึดตรึงกันล้มตามข้อกำหนดที่กล่าวถึงในข้างต้น | |
นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้ mobile
scaffolds
| | | นั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้
โดยปกติเป็นนั่งร้านท่อประกอบที่ติดตั้งเบย์เดียวสี่เสา
ที่โคนล่างสุดของเสาจะติดตั้งล้อสำหรับเข็ญเคลื่อนที่ เหมาะกับการใช้งานบนพื้นราบ
บดอัด พื้นไม่ทรุดตัวและความสูงพื้นต้องเป็นระดับเดียวกัน ข้อกำหนดการติดตั้ง
| | - ใช้บนพื้นราบ บดอัดไม่ทรุดตัว
- ใช้งาน
very light duty load เช่นเดียวกับนั่งร้านแขวนห้อยและนั่งร้านยกพื้นค้ำยัน
ฐานกว้าง ๑.๒
ถึง ๒.๗
เมตร
- ความสูงนั่งร้าน
อนุญาตในอาคารไม่เกิน ๓.๕
เท่าและนอกอาคารไม่เกิน ๓ เท่าของฐานส่วนที่แคบสุด
- หากความสูงไม่พอกับระดับงาน
อนุญาตให้ขยายฐานได้อีก ๒๐ เซนติเมตร ซึ่งการขยายฐาน ๒๐ เซนติเมตร
ก็จะสามารถเพิ่มความสูงได้ = ๒๐ x
๓=
๖๐ เซนติเมตร
หากเพิ่มมากกว่านี้
ล้อนั่งร้านจะรับโหลดมากเกินไปและอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุล้อนั่งร้านหัก
นั่งร้านล้ม (อ้างอิงค่าคำนวณรับแรงจากวิศวกรโยธา)
- นั่งร้านเคลื่อนที่ได้
จะติดตั้งจากนั่งร้านท่อประกอบเท่านั้น (tubular
scaffolds) กรณีนำนั่งร้านแบบโครงสำเร็จรูป
(prefabricate
scaffolds) มาแปลงสภาพโดยใช้ท่อและแคลมป์โลหะร่วมด้วย
ต้องให้วิศวกรเป็นผู้กำหนด และแบบที่วิศวกรกำหนดให้เก็บไว้กับตัวนั่งร้าน
พร้อมตรวจสอบได้
|

| | แบบที่สาม นั่งร้านไม้ไผ่ bamboo scaffolds
| | นั่งร้านไม้ไผ่ประกอบเข้าเป็นลักษณะโครงสร้างโดยวิธีใช้เชือกขันชะเนาะ
ในหลายประเทศที่มีมาตรฐานการทำงาน เกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
ได้ยกเลิกที่จะกล่าวถึงในคู่มือหรือในตำราอีก นั่งร้านไม้ไผ่หรือนั่งร้านไม้
ไม่อนุญาตในภาคงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีหลายตัวแปร ที่ยากแก่การตรวจสอบและยากต่อการควบคุมคุณภาพ
ตัวอย่างที่ทำให้ความแข็งแรงของนั่งร้านลดลง | | - อายุไม้
- ขนาดความโตเส้นผ่าศูนย์กลางของลำไม้
- ทิศทางเสี้ยนไม้
- รอยสัตว์กัดแทะ ฯลฯ เป็นต้น
|
แบบที่สี่ นั่งร้านแบบโครงสำเร็จรูป prefabricate scaffolds
| | | นั่งร้านแบบโครงสำเร็จ
แรกเดิมถูกคิดและออกแบบโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่น ภาษาตลาดจึงเรียกว่านั่งร้านญี่ปุ่น
จุดเด่นก็คือติดตั้งได้ง่าย รวดเร็วและรับโหลดได้ตามค่าทางวิศวกรรมที่กำหนด
หากอ้างอิงตามมาตรฐานและข้อมูลจำเพาะ
ซึ่งหมายถึงไม่ได้แปลงสภาพโดยนำอุปกรณ์ท่อและแคลมป์โลหะมายึดทาบ
พบว่ามีข้อจำกัดหลายประเด็นและเป็นเหตุที่หลายบริษัทหรือหน่วยงานที่บริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเข้มข้น
ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ในสถานประกอบกิจการ /ข้อจำกัดของนั่งร้านโครงสำเร็จรูป
สรุปได้ดังนี้
| | - ติดตั้งบนที่คับแคบกว่าความกว้างของโครงนั่งร้านไม่ได้
- ไม่มีแผ่นกันของตก
- ติดตั้งสูงได้ไม่เกินสามชั้น (ที่ติดตั้งได้สูงเพราะมีการแปลงสภาพโดยนำแคลมป์และท่อโลหะมายึดทาบ
การแปลงสภาพดังกล่าวต้องกำหนดโดยวิศวกร)
- ติดตั้งได้แบบเดียวคือแบบหอสูง
จะติดตั้งแบบอื่นไม่ได้
| | ฉะนั้น
การนำนั่งร้านแบบโครงสำเร็จรูปเข้ามาใช้งานในสถานประกอบกิจการ
ต้องขออนุญาตจากตัวแทนผู้บริหารเสียก่อน การพิจารณาอาจอนุมัติให้ใช้งาน
ไม่อนุมัติหรืออนุมัติโดยกำหนดเงื่อนไขที่เป็นลักษณะจำเพาะเอาไว้ก็ได้ |

| | | แบบที่ห้า นั่งร้านแบบยกพื้นกว้าง platform scaffolds | | การเลือกใช้นั่งร้านแบบนี้
เหตุผลหลักมาจากพื้นที่เป็นทางสัญจร
และทางสัญจรดังกล่าวไม่สามารถปิดกั้นหรือสร้างอ้อมทางเบี่ยงเพื่อลดผลกระทบได้
พิจารณาภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นได้ว่าการติดตั้งจะลดผลกระทบโดยให้คน
จักรกลเคลื่อนที่หรือยานยนต์สามารถลอดผ่านได้ สิ่งที่แตกต่างชัดเจนของนั่งร้านท่อประกอบที่ติดตั้งเป็นนั่งร้านยกพื้นกว้างคือคานนั่งร้าน
(scaffolding
runner) คานนั่งร้านจะต้องยาวมากพอ
จึงต้องสร้างเป็นลักษณะโครงสร้างรับแรง pre-fabricate
ป้องกันการโก่งตัว | |
| | | แบบที่หก นั่งร้านแบบยกพื้นค้ำยัน cantilever scaffolds | | - ใช้เฉพาะ very
light duty load เช่นเดียวกับนั่งร้านแบบเคลื่อนที่ได้และนั่งร้านแบบแขวนห้อย
- หาก platform
ยื่นออกนอกอาคารหรือนอกโครงสร้างเกิน ๑.๒
เมตร ต้องติดตั้งท่อดึงจากด้านบนด้วย
- กรณีระยะเสาค้ำยัน (วัดตามแนวดิ่ง)
สูงเกิน
๒.๗
เมตร ให้ยึดสามจุด
- พื้นทำงานของนั่งร้านแบบนี้จะอยู่ด้านนอกผนังอาคารหรืออยู่ด้านนอกโครงสร้าง
เสาจะมีองศาเอียงค้ำยันไว้กับผนังหรือโครงสร้าง
โหลดจึงถูกส่งถ่ายไปตามแนวเอียงของเสา ไม่ได้ส่งถ่ายโดยตรงตามแนวดิ่งลงพื้น
- ข้อดีการใช้งานคือ
ที่ระดับทำงานสูงจากพื้นล่างสามารถติดตั้งแบบเกาะนั่งร้านไว้กับโครงสร้างได้เลย
ไม่ต้องติดตั้งนั่งร้านขึ้นมาจากพื้นล่าง ใช้อุปกรณ์นั่งร้านเท่าที่จำเป็น
ลดเวลาสูญเปล่าจากการติดตั้งรื้อถอนนั่งร้าน ลดค่าใช้จ่ายค่าแรงงาน ฯลฯ
| |
| |
แบบที่เจ็ด นั่งร้านแบบแขวนห้อย overhung scaffolds
| | | นั่งร้านแบบแขวนห้อยใช้เฉพาะ very
light duty load,
การส่งถ่ายโหลดจะตรงกันข้ามกับนั่งร้านแบบยกพื้นค้ำยัน
หมายความว่านั่งร้านแบบยกพื้นค้ำยันจะส่งถ่ายโหลดจากพื้นนั่งร้านลงไปยังโครงสร้างที่ยึดตรึงเอาไว้
แต่นั่งร้านแบบแขวนห้อย โหลดทั้งหมดจะเกิดกับโครงสร้างด้านบนที่แขวนยึดนั่งร้านไว้
ข้อดีการติดตั้งก็เหมือนนั่งร้านแบบยกพื้นค้ำยันคือไม่ต้องติดตั้งจากระดับพื้น | | นั่งร้านไม่ว่าเป็นแบบยกพื้นค้ำยันหรือแบบแขวนห้อย
ซึ่งเสาไม่ได้ติดตั้งจากพื้นด้านล่างต้องถูกกำหนดแบบโดยวิศวกร
นอกจากนี้สภาพการทำงานทางทะเลซึ่งไม่มีพื้นด้านล่าง เช่นแท่นขุดเจาะ
ก็เหมาะที่จะใช้นั่งร้านแบบนี้ นั่งร้านแบบแขวนห้อย
ต้องติดตั้งแคลมป์กันรูด checked clamp ด้านบนของโครงสร้างที่แขวนนั่งร้านและด้านล่างของพื้นนั่งร้าน | |

| | | แบบที่แปด นั่งร้านแบบเท้าแขน bracket scaffolds
| | นั่งร้านแบบนี้
โดยปกติจะใช้งานลักษณะจำเพาะกับถังลูกโลกหรือถังอื่นใด
ที่มีลักษณะผิวงานโป่งหรือกลมคล้ายลูกโลก
ติดตั้งโดยวิธีเชื่อมเสาค้ำยันกับพื้นผิวของถัง สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ
ต้องได้รับอนุญาตจากวิศวกรผู้ออกแบบเสียก่อน ทั้งนี้หากถังทำด้วยเหล็กคาร์บอนต่ำ (carbon
composition 0.03-0.07 percent) หลังเชื่อมซึ่งเป็นกระบวนการทางความร้อน
เมื่อปล่อยให้เหล็กเย็นตัวในอุณหภูมิบรรยากาศ เกรนของเหล็กจะโต
เป็นเหตุให้ผนังของถังรับแรงดันได้น้อยลงนั่นเอง |
แบบที่เก้า นั่งร้านแบบลิ่มล็อค ring lock
| | | โครงสร้างหลักของนั่งร้าน
ติดตั้งเข้าด้วยกันด้วยวิธีตอกลิ่มยึด จุดเด่นคือประกอบง่ายใช้อุปกรณ์ล็อคน้อยแบบ
แต่ข้อด้อยที่ยากลำบากคือต้องใช้อุปกรณ์จำนวนมาก
เนื่องจากปรับระยะกว้างยาวไม่ได้เหมือนนั่งร้านท่อประกอบ
จากข้อจำกัดดังกล่าวสำหรับประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียน
จึงได้รับความนิยมน้อยกว่านั่งร้านโครงสำเร็จรูปและนั่งร้านแบบท่อประกอบ
| | 
|
3 โครงสร้างนั่งร้านท่อประกอบและโครงสร้างนั่งร้านโครงสำเร็จรูป
| | | เพื่อให้การเรียนรู้เรื่องนั่งร้านเข้าใจง่าย
จำเป็นต้องนำเสนอเป็นลำดับขั้น และเลือกโมเดลเรียนรู้ให้ถูกต้อง
ลำดับนี้จะเลือกแนะนำโครงสร้างหลักของนั่งร้านเป็นลำดับแรกโดยเลือก ๒
โมเดลของโครงสร้างนั่งร้านมานำเสนอคือ
หนึ่งโครงสร้างนั่งร้านแบบท่อประกอบและโครงสร้างนั่งร้านแบบโครงสำเร็จรูป
| |
| นั่งร้านถูกติดตั้งเป็นโครงสร้างชั่วคราวเพื่อทำงานบนที่สูง
หากกล่าวถึงโครงสร้างก็ต้องนึกถึงมิติกว้าง ยาว
สูงและการส่งถ่ายแรงหรือโหลดทั้งตามแนวดิ่งและตามแนวนอน
| | - scaffolding
width : ความกว้างนั่งร้าน
- bay
length, scaffolding length : ความยาวระหว่างช่วงเสา,
ความยาวรวมทั้งหมดของนั่งร้าน
- lift
height or ledger spacing : ความสูงนั่งร้านหนึ่งชั้น
- foot
tie or kicker : คิกเกอร์คือท่อนอนชุดล่างสุดมีหน้าที่ยึดกำหนดฐานกว้าง
ยาวนั่งร้านมีสองด้านคือ คิกเกอร์ตามความกว้างและคิกเกอร์ตามแนวยาว
|
อุปกรณ์โครงสร้าง
เป็นส่วนประกอบหลักที่ต้องรู้จักก่อน
| | sole
board แผ่นรองฐาน
เป็นอุปกรณ์ติดตั้งไว้ด้านล่างสุดของนั่งร้าน
มีหน้าที่กระจายโหลดทั้งหมดที่เกิดขึ้นลงสู่พื้นด้านล่าง
แผ่นรองฐานนั่งร้านจะรองคราวละหนึ่งเสา
หมายถึงหนึ่งเสาหนึ่งชิ้นหรือรองควบคราวละสองเสาก็ได้
หากเป็นแผ่นพื้นโลหะให้วางหงาย มีเงื่อนไขการติดตั้งดังนี้
| | -
พื้นดินแข็งทั่วไป
เมื่อรองหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งเสา ความยาวต้องไม่น้อยกว่า ๔๖๐
เซนติเมตรและกรณีวางรองแบบควบเสา ส่วนปลายต้องเลยห่างจากต้นเสาไม่น้อยกว่า ๓๐
เซนติเมตร
- พื้นดินอ่อนที่ไม่ใช่ดินเลน
รองหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งเสาให้ใช้ความยาวสองเท่าของ ๔๖๐ เซนติเมตร วางรองแบบควบเสา
ส่วนปลายต้องเลยห่างจากต้นเสาไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
กรณีเป็นพื้นดินเลนให้ออกแบบการติดตั้งโดยวิศวกรโยธา
- พื้นดินแข็งมีการออกแบบค่ารับแรงต่อหน่วยพื้นที่เช่น
พื้นรับแรงภายในตัวอาคารโรงงาน ผิวจราจรที่ให้รถบรรทุกหนักวิงผ่านได้ ไม่ต้องใช้ sole
board
|
base
plate แผ่นรองตีนเสา
มีขนาดมาตรฐาน ๑๕ คูณ ๑๕ เซนติเมตร ความหนา ๕
มิลลิเมตรและมีเดือยเชื่อมติดอยู่กับแผ่นขึ้นรูป
ซึ่งเดือยจะมีขนาดเล็กกว่ารูในท่อนั่งร้านประมาณ ๒ มิลลิเมตรและยาว ๒๐-๓๐
เซนติเมตร (อาจไม่ต้องจำเนื่องจากเป็นขนาดมาตรฐาน)
BS
EN
12811
กำหนดให้ติดตั้งทุกต้นเสา
หน้าทีของเบสเพลทคือกระจายโหลดแต่ละเสานั่งร้านลงสู่แผ่นรองฐาน
| | | 
|
post ท่อเสานั่งร้าน
ถูกติดตั้งตามแนวดิ่งวางอยู่บนแผ่นรองตีนเสา (base
plate) เป็นท่อขนาดมาตรฐาน
BS
EN 74 หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางนอก
๔๘.๓
มิลลิเมตร ความหนาผนังท่อมีสองขนาด type
one ความหนา
๓.๒
มิลลิเมตรและ type two ความหนาผนังท่อ
๔.๐
มิลลิเมตร หน้าที่คือรับโหลดตามหลักการของโครงสร้าง ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงตามแนวดิ่ง
หรือโหลดที่เกิดตามแนวนอนจากแผ่นพื้น จากตง
จากคานและถูกถ่ายจากแนวนอนสูงไปยังแนวดิ่งด้วยท่อค้ำยัน (scaffold
bracing pipe)
ledgers
or runner คานจะถูกติดตั้งตามแนวนอน
หน้าที่รับโหลดแนวนอน อยู่ด้านนอกของเสา ชิดเสาใต้ตง (transoms) transoms
ตงจะเห็นได้ว่าจากข้อกำหนดของมาตรฐานการติดตั้ง
ห่างได้สูงสุด ๑.๒
เมตร ตงจึงต้องมีสองประเภทคือ ตงหลักกับตงเสริม (main
transoms, intermediate transoms) ตงให้ติดตั้งดังนี้
| | | - ตงหลัก (main
transoms) ติดตั้งบนคานชิดเสา
- ตงเสริม (intermediate
transoms) ติดตั้งบนคานระหว่างช่วงเสา
ระยะห่างจากตงหลักไม่เกิน ๑.๒
เมตร หากตงหลักห่างเกิน ๑.๒
เมตร ก็ไม่ต้องมีตงเสริม
|
โครงสร้างนั่งร้านโครงสำเร็จรูป
(Pre-Fabricate
Scaffolds)
| | 
|
เทคนิคการศึกษาเรียนรู้นั่งร้าน
ทั้งนั่งร้านท่อประกอบและนั่งร้านโครงสำเร็จรูป
มีจุดเริ่มต้นที่เหมือนกันคือเริ่มจากศึกษาเรียนรู้โครงสร้างหลัก
หากแต่หลังจากนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป
| | - นั่งร้านร้านท่อประกอบ (Tubular
Scaffolds) เริ่มจากศึกษาเรียนรู้โครงสร้างหลัก
หลังจากนั้นจะเรียนรู้จากล่างขึ้นบนและซ้ายไปขวา
- นั่งร้านร้านโครงสำเร็จรูป (Pre-Fabricate
Scaffolds) เริ่มจากศึกษาเรียนรู้โครงสร้างหลัก
๙ ชิ้นและลำดับถัดไปคืออุปกรณ์ติดตั้งด้านล่างและอุปกรณ์ติดตั้งด้านบน
|
(อ่านต่อ ตอนที่หนึ่ง หน้า ๒ โดยเลือกเมนูและคลิ๊กเพื่ออ่านต่อ ด้านล่าง) | |
งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู มาตรฐานนั่งร้าน แบบนั่งร้านฯ ตอนที่หนึ่ง หน้า ๒ : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู วิธีติดตั้ง รื้อถอนนั่งร้าน ตอนที่สอง หน้า ๑ : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู วิธีติดตั้ง รื้อถอนนั่งร้าน ตอนที่สอง หน้า ๒ : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู เทคนิคตรวจนั่งร้าน ตอนที่สาม : อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง | ไปยังเมนู การกำกับดูแลงานนั่งร้านในสถานประกอบกิจการ : อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุง | | |
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
125 คน |
สถิติเมื่อวาน |
232 คน |
สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด |
6212 คน 37517 คน 711061 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |