Sangtakieng.com

๑.๑ ตอนที่หนึ่ง

working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูงและความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง 
e-mail : sangtakieng@gmail.com phone 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222
 

หัวข้อที่นำเสนอ
 

ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : นำเสนอหน้านี้

ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและความปลอดภัยการใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเครน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้   

ที่สูงและความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง ตอนที่ ๑.๑
 
งานเสี่ยงอันตรายสูงสำหรับอุตสาหกรรมบนบก แต่ละสถานประกอบกิจการอาจแบ่งแตกต่างกันออกไป เมื่อนำหลักคิดทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง หมายความว่ากระบวนการทำงานที่ต่างกัน อันตรายก็ต่างกันไปด้วย จากการเก็บข้อมูลภาคสนามและนำมาพิจารณาผสมรวมกับศาสตร์ทางด้านวิชาการ พบว่ามีงานเสี่ยงอันตรายหลายประเภท หากคัดแค่เพียงเจ็ดประเภทแรกจะได้ดังนี้ 
 
  • การการทำงานที่อับอากาศ safe working in confined spaces
  • ทำงานความร้อนและประกายไฟ hot work safety
  • ทำงานบนที่สูง working at heights
  • งานนั่งร้าน ติดตั้งรื้อถอน ตรวจและใช้นั่งร้าน working & access scaffolds
  • การทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง high voltage safety
  • งานขุดเจาะพื้นในเขตเครื่องจักรโรงงาน floor excavation
  • งานขนถ่ายวัสดุโดยใช้จักรกลเคลื่อนที่ heavy handling safety
 
จะเห็นได้ว่า การทำงานบนที่สูงเป็นหนึ่งในเจ็ดของงานเสี่ยงอันตรายสูง ฉะนั้นมาตรการเชิงป้องกันขั้นพื้นฐานคือต้องขออนุญาตทำงาน (work permit, permit to work) และขั้นตอนทำงานของเอกสารขออนุญาตทำงานต้องทำประเมินความเสี่ยงหรือวิเคราะห์ความปลอดภัย (risk assessment & job safety analysis) ร่วมด้วยเสมอ นอกจากมาตรการป้องกัน หากมีผู้ประสบเหตุก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพไว้รองรับด้วย 
 
 

ที่สูง การทำงานบนที่สูงและหกศาสตร์วิชาเพื่อทำงานบนที่สูง
 
ที่สูงคือที่ปฎิบัติงานซึ่งสูงเท่ากับหรือมากกว่า ๒ เมตร จากพื้นด้านล่าง พื้นด้านล่างหมายความว่าพื้นดิน พื้นอาคารหรือส่วนล่างสุดของหลุมซึ่งอาจพลัดตกลงไปได้ หากสถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการโดยถูกกฎหมายและมีระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กำหนดเป็นอย่างอื่น ก็ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดนั้น 
การทำงานบนที่สูงมีหกศาสตร์วิชา (hierarchy of working at heights) โดยให้พิจารณาเลือกวิธีทำงานจากลำดับความปลอดภัย ก่อนหลังดังนี้

 
 
การทำงานบนพื้น แบ่งการประยุกต์ใช้ออกเป็นสองลักษณะ ลักษณะแรกคือพิจารณาใช้เครื่องมือช่วยให้ทำงานบนที่สูงโดยคนสามารถยืนทำงานบนพื้นล่าง เช่นงานทาสีผนังอาคาร เลือกใช้ด้ามลูกกลิ้งยาวเพื่อให้ยืนทาสีจากพื้นได้ ใช้ไม้ง่ามยาวหยิบของน้ำหนักเบาที่แขวนบนผนังขึ้นลง หรือลักษณะของการบังคับเครื่องมือกลบังคับระยะไกล & หุ่นยนต์ ฯลฯ เป็นต้น 
 
อีกลักษณะคือให้พิจารณาขั้นตอนการทำงานทั้งหมดของกิจกรรม ว่ามีขั้นตอนย่อยใดบ้างที่สามารถทำบนพื้นได้ หากทำได้ก็ให้ทำขั้นตอนย่อยๆ นั้นเพื่อลดเวลาการทำงานบนที่สูงให้สั้นลง อันตรายจากสภาพแวดล้อมการทำงานบนที่สูงก็จะลดลงไปด้วย ตัวอย่างเช่นงานตกแต่งชิ้นงานก่อนประกอบ ชิ้นส่วนขนาดเล็กที่สามารถประกอบให้แล้วเสร็จกับชิ้นงานหลักก่อนที่จะใช้จักรกลยกเคลื่อนย้ายขึ้นไปประกอบติดตั้งบนที่สูง ฯลฯ หากเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานบนพื้น เนื่องจากเมื่อพิจารณาแล้ว ไม่มีขั้นตอนใดเลยที่ทำได้ ก็ให้เลือกศาสตร์วิชาการทำงานบนที่สูงลำดับที่สองคือทำงานบนเพลทฟอร์มถาวร permanence platform เป็นอันดับเลือกถัดไป 

 
 
เพลทฟอร์มถาวรเป็นงานออกแบบทางด้านวิศวกรรม ซึ่งมีค่าพิกัดเผื่อความปลอดภัยของโครงสร้าง ผ่านการทำประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ใช้วิชาการทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและวิศวกรรมความปลอดภัยร่วมด้วย วิธีสังเกตของผู้ปฏิบัติงานภาคสนามจะเห็นการติดตั้งที่แข็งแรงเช่นจับยึดด้วยแคลมป์โลหะ ใช้สลักยึด ใช้โบลท์น๊อตหรืองานเชื่อม อาจใช้วิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายวิธีร่วมกันก็ได้ เบื้องต้นที่สังเกตง่ายคือต้องมีแผงรั้วกันตก guard rail ซึ่งการออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้ค่ารับแรงด้านข้างไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ กิโลกรัม (๑๕๐๐ นิวตัน) คูณค่าพิกัดเผื่อความปลอดภัยเซฟตี้เฟกเตอร์ ๓.๕ เท่า แผงรั้วกันของตกมีสองแบบคือแบบทึบเรามักเรียกทับศัพท์ว่าแบริเออร์ barriers และอีกลักษณะจะเป็นรั้วโปร่ง มีท่อโลหะกันตกสองชั้นและมีแผงทึบกันของตกที่พื้นยืนด้วย
 
  • รั้วบน handrail ความสูง ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร
  • รั้วกลาง midrail ความสูง ๔๕-๕๕ เซนติเมตร
  • แผงทึบกันของตก toe board ความสูงขั้นต่ำ ๗ เซนติเมตร  
 
 
 
ด้วยการออกแบบและสร้างเพลทฟอร์มถาวร permanence platform มีต้นทุนสูงพอสมควร จึงมักจะสร้างเฉพาะพื้นที่ซึ่งต้องทำงานซ้ำๆ เท่านั้น งานที่ทำเป็นครั้งคราวมักไม่มี ฉะนั้นการทำงานบนที่สูงซึ่งไม่มีเพลทฟอร์มถาวรนั้น ให้เลือกวิธีทำงานโดยใช้ศาสตร์ที่สามเป็นลำดับถัดไป 
 

 
ศาสตร์การทำงานบนที่สูงในลำดับนี้ มีสองเครื่องมือหลักคือกระเช้าและนั่งร้าน ทั้งสองเครื่องมือนี้ล้วนมีรายละเอียดที่เป็นข้อมูลจำเพาะทางด้านวิศวกรรมและข้อมูลทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยเป็นจำนวนมาก ลำดับนี้จะกล่าวถึงระดับความรู้ทั่วไปก่อน  
 
3.1 กระเช้า รถกระเช้า EWP, MEWP  

ความสูงของตัวคนมีข้อจำกัด ที่ทำงานซึ่งอยู่สูงกว่าระดับเท้ายืนมากกว่า ๒ เมตร ต้องมีเครื่องมือเข้ามาช่วย กระเช้าก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่เลือกใช้ได้ตามลักษณะงาน หากย้อนพิจารณา จะเห็นได้ว่าเป้าหมายคือคนต้องยืนบนกระเช้าซึ่งสามารถยกสูงขึ้นไปให้คนทำงานได้ ต้องมีแผงรั้วป้องกันไม่ให้คนตกลงไปด้านล่าง จากการศึกษาจะแบ่งกระเช้าออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่มีกลไกยกตัวเองเช่นรถกระเช้า กระเช้ากอนโดลา ลิฟท์ขนส่งชั่วคราวและอีกกลุ่มมีเพียงตัวกระเช้าเท่านั้น ต้องใช้เครื่องจักรต้นกำลังอื่นเช่นรถเครนหรือเรือเครน ยกกระเช้าขึ้นไป ลำดับนี้จะอธิบายรถกระเช้า 
 
รถกระเช้า mobile elevated work platform
 
รถกระเช้าที่ตัวรถขับเคลื่อนตามแนวราบและขับเคลื่อนตัวกระเช้าเคลื่อนที่ขึ้นลงด้วยต้นกำลังไฮดรอลิกส์นั้น มีทั้งหมด ๖ แบบ คือรถกระเช้าแบบเสากระโดง รถกระเช้าแบบเสากระโดงแขนยื่น รถกระเช้าแบบขากรรไกร รถกระเช้าแบบแขนตรง รถกระเช้าแบบแขนหักศอกและรถกระเช้าแบบกึ่งแขนตรงกึ่งแขนหักศอก ส่วนรถกระเช้าแบบเสากระโดง การเคลื่อนที่ตามแนวราบ จะมีทั้งแบบเข็นด้วยแรงคนและขับเคลื่อนด้วยต้นกำลังไฮดรอลิกส์ การเลือกใช้จึงต้องพิจารณาให้เหมาะกับสภาพงานและงบประมาณที่ต้องการจ่าย (mast lift, jib mast lift, scissor lift, telescopic boomlift, articulate boomlift and semi-telescopic and articulate boomlift) เนื่องจากข้อจำกัดของต้นกำลังระบบไฮดรอลิกส์ที่ส่งผลโดยตรงคือเคลื่อนที่ช้า ก็จะเป็นอุปสรรค์สำหรับความเร็วการเคลื่อนที่ของฟังก์ชั้นล้อ ซึ่งไม่เหมาะกับภาระงานเร่งด่วนหรือไซด์งานซึ่งมีพื้นที่กว้าง ฉะนั้นจึงได้พัฒนาและมีรถกระเช้าขึ้นมาอีกประเภท โดยนำแขนของกระเช้าแขนตรงหรือแขนหักศอกมาติดตั้งร่วมกับรถบรรทุก ทำให้การเคลื่อนที่บนพื้นราบมีความคล่องตัว รวดเร็ว เราเรียกรถกระเช้าแบบนี้ว่ารถกระเช้าแบบกระเช้าติดรถบรรทุก bucket truck ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ารถกระเช้ามีทั้งหมดเจ็ดแบบคือ  
 
  • รถกระเช้า แบบเสากระโดง personal lift
  • รถกระเช้า แบบเสากระโดงแขนยื่น
  • รถกระเช้า แบบขากรรไกร scissor lift
  • รถกระเช้า แบบแขนตรง telescopic boomlift
  • รถกระเช้า แบบแขนหักศอก articulate boomlift
  • รถกระเช้ากึ่งแขนตรง กึ่งแขนหักศอก
  • รถกระเช้าแบบกระเช้าติดรถบรรทุก bucket truck  
 
 

กระเช้ายกคน man basket
 
กระเช้ายกคนจะมีเฉพาะกระเช้าคนยืนเท่านั้น หมายความว่าต้องใช้รถเครนหรือเรือเครนยกกระเช้าขึ้นไปเพื่อให้คนทำงานบนที่สูง ความปลอดภัยของการใช้กระเช้ายกคนจึงต้องมองถึงความพร้อมของเครน อุปกรณ์ช่วยยกที่นำมายึดเกาะและความรู้ความสามารถของพนักงานบังคับเครนด้วย 
 
  • รถเครน เรือเครน ต้องมีเอกสาร ปจ.๒ ตามกฎหมาย
  • รถเครน เรือเครน ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันและมีบันทึกให้ตรวจสอบได้ ทั้งนี้ผู้ที่ลงนามตรวจเครนประจำวันต้องมี certificate แสดงผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้บังคับเครน
  • ผู้บังคับเครนต้องมี certificate และมีหลักฐานการอบรมทบทวนไม่เกินสองปี
 
ตัวกระเช้ายกคนจะมีข้อกำหนดเหมือนกับกระเช้าอื่นๆ เช่นของรถกระเช้า กระเช้ากอนโดลาและกระเช้าของลิฟท์ขนส่ง จึงจะกล่าวสรุปด้านท้ายอีกครั้งหนึ่ง การผลิตอาจทำได้จากสองเงื่อนไขคือ 
 
  1. สร้างและตรวจทดสอบตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล
  2. สร้างขึ้นเองตามความเหมาะสมใช้งาน กรณีนี้ต้องรับรองแบบโดยวิศวกร สร้างกระเช้าตามแบบและตรวจทดสอบโดยวิศวกร สำหรับการตรวจทดสอบแนวเชื่อมจะใช้น้ำยาแทรกซึมหรือวิธีทางวิศวกรรมอื่นใด ซึ่งประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่าวิธีนี้ก็ได้
 
 


กระเช้ากอนโดลา gondola elevated work platform 
 
กระเช้ากอนโดลาเหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อทำงานบนผนังอาคารสูง ปล่องไฟ ปล่องปล่อยทิ้งก๊าซเสียหรือผนังสูงอื่นๆ เงื่อนไขที่สามารถใช้ได้คือโครงสร้างที่อยู่สูงกว่าระดับการใช้กระเช้า ต้องสามารถติดตั้งต้นกำลังขับเคลื่อนหรือสามารถแขวนกระเช้าได้  
ต้นกำลังขับเคลื่อนสามารถออกแบบได้หลายรูปแบบ หากแต่ที่พบและที่ใช้งานมากที่สุดคือใช้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานร่วมกับชุดเฟืองทด ในภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรมจึงมักเรียกว่ากระเช้าไฟฟ้ากอนโดลา โดยระบุว่าต้นกำลังคือไฟฟ้า จริงแล้วจะใช้ต้นกำลังเครื่องยนต์สันดาปภายในร่วมกับชุดเฟืองทดก็ได้ และด้วยตัวกระเช้า สลิง อุปกรณ์แขวนกระเช้ามีหลักการและมีวิธีการเดียวกัน การแบ่งประเภทหรือชนิดจึงใช้ระบบต้นกำลังและกลไกร่วมของระบบต้นกำลังมาจำแนกและกำหนดเป็นชื่อเรียกของเครื่องจักรนี้ 
 
  • แบบน้ำหนักถ่วงหรือรูฟบีม counter weight or roof beam gondola
  • แบบยึดเฟรมอยู่กับที่ fasten gondola and parapet clamp gondola
  • แบบรางแนวตั้งบนล่าง vertical rail gondola
  • แบบแขนตรง telescope jib gondola
 
 
 


ลิฟท์ขนส่งของ ขนส่งคนชั่วคราว elevator 
 
ลิฟท์ขนส่งของหรือลิฟท์ขนส่งคนชั่วคราว หลักการเคลื่อนที่คล้ายกับกระเช้ากอนโดลา หากแต่จะมีข้อจำกัดคือไม่มีโครงสร้างสำหรับติดตั้งต้นกำลัง จึงต้องสร้างโครงสร้างชั่วคราวขึ้นและติดตั้งตัวกระเช้าให้เคลื่อนที่ขึ้นลงอยู่ภายในโครงสร้าง เราเรียกโครงสร้างว่าปล่องลิฟท์ 
ตัวกระเช้าจะมีมาตรฐานหรือข้อกำหนดเหมือนกับกระเช้าแบบอื่นๆ ส่วนต้นกำลังขับเคลื่อนตามแนวดิ่งขึ้นลง ต้องประกอบด้วยชุดเฟืองทดร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน อย่างใดอย่างหนึ่ง 
 
ทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย ทั้งกระเช้ากอนโดลาที่ติดตั้งใช้งานสำหรับงานโครงการและลิฟท์ขนส่งแบบชั่วคราวต้องมีวิศวกร ตรวจทดสอบและรับรองหลังติดตั้ง ตรวจทดสอบ รับรองรอบปีและตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้ ส่วนกฎหมายประเทศไทย ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ และปฏิบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่เกี่ยวข้อง และต้องไม่ลืมว่ากฎหมายและมาตรฐานต่างๆ ที่ใช้อ้างอิงจะมีการพัฒนาเป็นระยะๆ ฉะนั้นข้อกำหนด มาตรฐานหรือกฎหมายใดๆ ก็ตาม จำเป็นต้องศึกษาติดตามและให้อ้างอิงฉบับล่าสุดเท่านั้น 
 

กระเช้า มาตรฐานตัวกระเช้า work platform standard

ไม่ว่าจะเป็นกระเช้าลักษณะใด ทั้งที่มีกลไกยกตัวเองหรือไม่มีกลไกยกตัวเอง กระเช้าคนยืน work platform ก็จะมีข้อกำหนดของมาตรฐานเหมือนกัน ซึ่งอาจอ้างอิงมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับก็ได้  
 
ประเทศไทยและประเทศในภาคพื้นโดยรอบ มักอ้างอิงมาตรฐานยุโรป CE และถือได้ว่าประเทศแถบนี้ใช้อ้างอิงกันมากที่สุด มาตรฐานตัวกระเช้าอาจมีมากข้อกำหนดก็ได้ แต่ขั้นต่ำต้องมีแปดข้อดังต่อไปนี้  
 
  1. ถูกออกแบบเป็นเพลทฟอร์มถาวร กรณีใช้กับงานปฏิบัติการไฟฟ้าเช่นรถกระเช้าแบบบัคเกตทรัค bucket truck จะใช้รั้วกันตกแบบทึบก็ได้ กรณีเป็นเพลทฟอร์มรั้วโปร่งทั่วๆ ไป รั้วบนต้องสูง ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร รั้วกลาง ๔๕-๕๕ เซนติเมตรและแผงทึบกันของตก ต้องสูงไม่น้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร
  2. แสดงค่ารับน้ำหนักที่ประตูทางเข้ากระเช้า จะมีหน่วยรับน้ำหนักอื่นด้วยก็ได้แต่ที่บังคับคือต้องแสดงหน่วยรับน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
  3. พื้นกระเช้าไม่ลื่น พื้นกระเช้าจะใช้เหล็กพื้นลายนูนกันลื่นหรือที่เรียกว่าเหล็กตีนเป็ด checked plate หรือเป็นตะแกรงตาถี่ก็ได้ แต่เหล็กผิวเรียบปิดผิวบนด้วยแผ่นวัสดุกันลื่น ไม่แนะนำให้ใช้ ทั้งนี้เมื่อแผ่นวัสดุกันลื่นหลุดร่อนเหลือเพียงผิวเหล็กเปลือยก็จะเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน
  4. พื้นกระเช้าต้องระบายน้ำออกได้ กรณีเป็นพื้นตะแกรงจะไม่มีข้อจำกัดนี้ หากเป็นเหล็กพื้นลายนูนกันลื่น การสร้างพื้นกระเช้าก็จะเจาะทะลุ ๖-๘ รูเพื่อระบายน้ำ และไม่ว่าจะเป็นพื้นแบบใด การติดตั้งแผ่นทึบกันของตกที่ส่วนขอบโดยรอบๆ ก็สามารถมีช่องว่างจากพื้นได้ประมาณสามถึงห้ามิลลิเมตร ซึ่งช่องว่างส่วนนี้ ก็สามารถระบายน้ำจากพื้นกระเช้าได้เช่นกัน
  5. ประตูรั้วต้องเปิดเข้า มาตรฐานออกแบบยอมรับสองลักษณะคือผลักเข้ากับยกลอด ทั้งนี้จะมีข้อยกเว้นสำหรับรถกระเช้าที่ต้องใช้งานจำเพาะ เช่นกระเช้าของรถกระเช้าที่ทำงานกับสายส่งกระแสไฟฟ้า power line การออกแบบจะทำประเมินความเสี่ยงร่วมด้วย จึงไม่มีประตูโดยให้ขึ้นลงจากขอบด้านบน กระเช้าที่กล่าวถึงนี้จะถูกสร้าง access way เป็นการเฉพาะ
  6. มีจุดยึดเกาะแลนยาร์ด จุดยึดเกาะแลนยาร์ดเป็นอุปกรณ์ส่วนควบติดมากับกระเช้า ค่าความสามารถรับแรงกระตุกได้ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ กิโลกรัมและมีพิกัดเผื่อความปลอดภัย ๓.๕ เท่า กรณีชำรุดเสียหาย ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดและติดตั้งใหม่โดยใช้ข้อกำหนดเดิม จุดยึดเกาะแลนยาร์ดจะติดตั้งที่ความสูงเท่ากับระยะรั้วกลาง ค่ายอมรับสูงต่ำจากนี้ได้ ๑๕ เซนติเมตร
  7. ผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้ หมายถึงผู้ใช้ที่มี certificate ตามกฎหมาย ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรมาตรฐานซึ่งโครงสร้างหลักสูตร ต้องฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสภาพก่อนใช้งานเครื่องจักร
  8. ผ่านการตรวจรับรองประจำปีโดยวิศวกร ลำดับนี้ต้องมีบันทึกเพื่อให้สอบกลับได้ ระดับวิศวกรที่ตรวจรับรองต้องตรงสอดคล้องกับข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิศวกรรมควบคุม กรณีของรถกระเช้า กระเช้ากอนโดลาหรือลิฟท์ขนส่งชั่วคราวให้ทำคราวเดียวกับการตรวจทดสอบประจำปีของเครื่องจักรนั้นได้เลย


ติดต่องานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 
(อ่านต่อ ๑.๒ คลิ๊กตรงนี้ หรือคลิ๊กตามลิงค์ด้านล่าง) 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและความปลอดภัยการใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเครน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3286 คน
55432 คน
937484 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong