Sangtakieng.com
   
 
   งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
   facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
   e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222 
 
   บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา 
   อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติงาน 
   e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222 

สารบัญที่จะนำเสนอ
 
 ส่วนที่หนึ่ง ความเข้าใจทั่วไป : นำเสนอหน้านี้ ด้านล่าง
 คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องงานที่อับอากาศ (รอปรับปรุง) : คลิ๊กตรงนี้
 วิธีการ หลักเกณฑ์ชี้บ่งที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
 บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
 การขออนุญาตทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
 การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
 การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
 แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้
 การสื่อสาร เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร : รอการลงข้อมูล
 การจัดการที่อับอากาศ : รอการลงข้อมูล
 การฝึกอบรมและโครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม : รอการลงข้อมูล

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ
 
 ใบขออนุญาตทำงาน-PTW Form or ATWP Form : คลิ๊กตรงนี้
 แบบฟอร์มคุ่มือคำแนะนำ-Work Instruction Form : คลิ๊กตรงนี้
 ใบรายการตัดแยกระบบ-Equipment Lockout List : คลิ๊กตรงนี้
 ใบขออนุญาตทำงานที่อับอากาศ-Confined Space Permit : คลิ๊กตรงนี้
 ใบบันทึกปฏิบัติการที่อับอากาศ-Confined Space Entry Log : คลิ๊กตรงนี้

ส่วนที่หนึ่ง ความเข้าใจทั่วไป
หากศึกษาวิศวกรรมความปลอดภัยทางด้าน Confined Spaces จากหลายภาคส่วน ทั้งระดับสากลเช่นมาตรฐานออสเตรเลีย มาตรฐานอังกฤษและมาตรฐานจากพื้นที่อื่นของโลก ฯลฯ และนำมาพิจารณาร่วมกับข้อกำหนดของกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อมูลที่เกิดจากการทำงานจริงภาคสนาม 15-20 ปี ก็จะพบความน่าสนใจหลายประเด็นที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน

ประเด็นต้องเรียนรู้-คำจำกัดความและความหมายตามกฎหมายไทย
ที่อับอากาศ Confined Space หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้ สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นการประจำและมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย เช่นอุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

  • แปลเป็นภาคภาษาไทย : Confined Spaces ไม่ควรแปลว่าที่อับอากาศ หากแปลดังเช่นปัจจุบัน คนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อน โดยให้น้ำหนักไปที่ความผิดปกติของบรรยากาศ หมายความว่า ที่ใดบรรยายกาศถ่ายเท-เป็นปกติ-ตามธรรมชาติและมีปริมาณสัดส่วนของก๊าซในบรรยากาศใกล้เคียงกับบรรยากาศตามภาวะปกติ หรืออยู่ในค่าควบคุมตามที่กฎหมายหรือตามที่วิศวกรรมความปลอดภัยที่อับอากาศกำหนด, ที่นั่นคนทำงาน ก็จะเข้าใจว่าไม่ใช่ที่อับอากาศ ฉะนั้นการบัญญัติศัพท์ในภาคภาษาไทย ให้ได้ความหมายที่ถูกต้องตามนิยามของ Confined Spaces จึงเป็นเรื่องจำเป็นหรือแนะนำให้เรียกทับศัพท์ เสียก็ได้
  • อธิบายทางเข้าออกจำกัด : ทางเข้าออกจำกัดนอกจากจะเข้าออกคราวละหลายคนไม่ได้แล้ว ต้องพิจารณารวมถึง ความไม่สะดวกหรือความยากลำบากในการเข้าออกด้วย การพิจารณาจึงต้องคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพด้วย
  • สภาพอันตรายหมายความว่าอย่างไร : นอกจากแปลความตรงตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การตีความและขยายความตามหลักวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม Industrial Hygiene หมายถึงอันตรายสี่กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการทำงานคือ
อันตราย ทางด้ายกายภาพ Physical Hazards
อันตราย ทางด้านเคมีและวัตถุอันตราย Chemical and Hazardous Substance
อันตราย ทางด้านไบโอโลจิคอล Biological Hazards
อันตราย ทางด้านเออร์กอนโอมิกส์ Ergonomics Hazards    

  • บรรยากาศอันตราย : ตามกฎหมาย-หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ ๑๙.๕ หรือมากกว่าร้อยละ ๒๓.๕ โดยปริมาตร
  2. มีก๊าซ ไอหรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower explosive limit)
  3. มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (minimum explosible concentration)
  4. มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนด ตามมาตรฐานตามกฎกระทรวง ว่าด้วยกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนำมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
สำหรับบรรยากาศอันตรายสำหรับการทำงานใน Confined Spaces จะตรวจวัดก๊าซในบรรยากาศสี่ค่า (H2S  CO  O2  LEL) และบวกกับข้อมูลที่เป็นลักษณะจำเพาะของ Confined Spaces นั้น ตัวอย่างเช่น ต้องการถ่ายออกกรดซัลฟูริกจากถังและเข้าไปทำงานตรวจซ่อม นอกจากจะตรวจวัดและบันทึก 4 ค่าแล้ว ก็ต้องศึกษา MSDS ของซัลฟูริกและกำจัดอันตรายก่อนจะอนุญาตให้เข้าไปทำงาน เป็นต้น ฯลฯ
 
 
 
  • ที่หรือพื้นที่ซึ่งกฎหมายจัดให้เป็น Confined Spaces เช่นอุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน : จะยกบางตัวอย่างมาแสดงวิธีพิจารณา ทั้งนี้จะใช้ข้อมูลภาคสนามร่วมด้วยแต่ต้องอยู่บนหลักการทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและต้องไม่ผิดกฎหมาย
เกณฑ์ที่ใช้ประเมินและตัดสินใจบนพื้นฐานของกฎหมาย ศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยที่อับอากาศและประสบการณ์จากข้อมูลภาคสนามประมาณ 10-15 ปี (ดังกล่าวไว้แล้วในเบื้องแรก) โดยพื้นฐานทางกายภาพต้องเป็นที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด เข้ายาก ออกยาก เข้าออกคราวละหลายคนไม่ได้หรือเข้าออกไม่สะดวก, หากมีเงื่อนไขเพียงเท่านี้ แนะนำให้ลงทะเบียนเป็นพื้นที่ควบคุม (Control Spaces) บางองค์กรกำหนดให้เรียกว่า Confined Spaces Level-1 การอนุญาตทำงานจะพิจารณาเพิ่มจากงานทั่วๆ ไปเฉพาะการจัดการเพื่อควบคุมอุบัติเหตุจากการเข้าออก และการจัดการช่วยชีวิต-ช่วยเหลือเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเท่านั้น แต่หากมีอันตรายอื่นร่วมด้วยดังระบุด้านล่างนี้ ให้ถือว่าเป็น Confined Spaces และการทำงาน ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ Confined Spaces โดยเคร่งครัด 
  • มีสภาพอันตรายด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าทางด้านกายภาพ เคมีฯ ไบโอโลจิคอลหรือเออร์กอนโอมิกส์
  • มีสภาพบรรยากาศอันตราย 
ตัวอย่างและแนวคิดการสำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นที่ควบคุม ในที่นี้หมายความว่าหากพบอันตรายแฝงอยู่มากกว่านี้ให้ชี้บ่งเป็นที่อับกาศ
  • อุโมงค์ลอดสายไฟใต้โรงงาน มาทางเข้าออกมากกว่าหนึ่งทาง กว้างเพียงพอสำหรับให้คนเข้าไปทำงานเพื่อติดตั้ง ตรวจและซ่อมบำรุงได้ สามารถเดินได้ตัวตรงไม่ต้องคุดคู้ ด้านข้างลำตัวไม่คับแคบเบียดเสียด ตรวจวัดบรรยากาศเป็นปกติ ระบายอากาศตามธรรมชาติได้ อุณหภูมิภายในใกล้เคียงอุณหภูมิบรรยากาศ  ไม่มีตู้ควบคุมไฟฟ้าหรือไม่มีจุดต่อสายไฟฟ้าภายในนั้น ไม่มีน้ำท่วมขัง : พิจารณาเป็นพื้นที่ควบคุม Control Spaces
  •  บ่อปากเปิด Sump Pump ขึ้นลงตามแนวแนวดิ่งลึกเกินหนึ่งเมตร ปั๊มสูบน้ำไฟฟ้าติดตั้งไว้ปากบ่อ มีเฉพาะท่อดูดวางตามแนวดิ่งลึกลงไปถึงส่วนล่างสุดของบ่อ ทางลงไม่มีบันได้หรือมีเพียงบันไดลิง : พิจารณาเป็นพื้นที่ควบคุม Control Spaces 
      
 
ขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 4 ค่าบรรยากาศที่ต้องตรวจวัด
จริงแล้วข้อมูลจำเพาะขอก๊าซในบรรยากาศแต่ละชนิดสามารถสืบค้นศึกษาได้จากเอกสารทางด้านวิชาการหรือข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (MSDS-Material Safety Data Sheet) ก็ได้แต่ในที่นี้ จะนำเสนอในประเด็นว่า เป็นอันตรายกับคนทำงานในที่อับอากาศได้อย่างไร 
 
หนึ่ง-Hydrogen Sulfide หรือก๊าซไข่เน่า สูตรทางเคมี H2S
มีกลิ่นรุนแรง ไม่มีสี ติดไฟได้ เกิดจากกระบวนการ สลายตัวของสารอินทรีย์ การหมักหรือเกี่ยวกับกำมะถัน ส่วนทางด้านฤทธิ์วิทยา ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนัง การเกิดพิษต้องโดยการสูดดมเข้าโดยตรง การเกิดพิษต้องโดยการสูดดมเข้าโดยตรง ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร หากความเข้มข้นสูงถึงระดับมากกว่า 200 ppm ประสาทรับกลิ่นจะไม่ทำงานและเมื่อความเข้มข้นสูงเพิ่มมากขึ้นไปอีกก็จะยับยั้งการหายใจ โดยจะไปจับกับ cytochrome ขัดขวางการหายใจ เกิดภาวะ lactic acidosis และกดการทำงานของระบบประสาท
 
      
 
สอง-Carbon Monoxide สูตรทางเคมี CO 
คาร์บอนมอนออกไซด์ สูตรทางเคมีคือ CO เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เป็นอันตรายต่อระบบลำเลียงเลือด โมเลกุลประกอบไปด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอมเชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนท์ อาจจัดได้ว่าเป็นสารประกอบแอนไฮไดรด์อย่างหนึ่งของกรดฟอร์มิก ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน เช่นเครื่องยนต์สันดาปภายใน หากนำไปเผาไหม้จะเกิดเปลวเพลิงสีน้ำเงินและให้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แม้จะมีความเป็นพิษแต่ก็มีประโยชน์ในโลกปัจจุบันเช่นกัน เพราะเป็นสารตั้งต้นในการผลิต-ผลิตภัณฑ์หลายชนิด, Carbon Monoxide เมื่อหายใจเข้าไป จะรวมตัวกับ Hemoglobin ของเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า เกิด Carboxyhemoglobin-CoHb เลือดนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อได้ลดลง-CoHb เกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของคาร์บอนมอนออกไซด์
 
   
  • หายใจเข้าไป
  • คาร์บอนมอนออกไซด์แย่งจับฮีโมโกบินในเม็ดเลือดแดง
  • ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงส่วนที่เหลือไม่ปล่อยออกซิเจนให้กับเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ร่างกายขาดออกซิเจน เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ
  • เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หมดสติ ชัก โคม่าและเสียชีวิต

         
 
สาม-Oxygen ออกซิเจนมีสูตรทางเคมีคือ O2
ก๊าซออกซิเจนสัญลักษณ์ O2 มีปริมาณ เป็นอันดับสองในส่วนประกอบของบรรยากาศโลก อากาศที่หายใจมีก๊าซไนโตรเจนประมาณ 78% ออกซิเจนประมาณ 21% ออกซิเจนนอกจากจะอยู่ในอากาศแล้วยังพบอยู่รวมกับธาตุอื่นๆ อีกเช่น น้ำ H2O ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ในสภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายน้ำได้ ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้ติดไฟ หมายความว่า หากไม่มีออกซิเจน ไฟก็ไม่สามารถติดได้, สามสถานะของออกซิเจน 
  • ที่สภาวะปกติออกซิเจนจะอยู่ในสถานะก๊าซ
  • ของเหลวที่อุณหภูมิประมาณ-182.5 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซกลายเป็นของเหลวสีฟ้าอ่อน
  • ของแข็ง ที่อุณหภูมิ -218.4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ออกซิเจนจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน 
ร่างกายใช้ก๊าซออกซิเจนในกระบวนต่างๆ รวมถึงใช้ในกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ เช่นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงาน กระบวนการรักษาเซลล์ การสังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินที่ใช้ในร่างกาย ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายจากการหายใจ ที่ปอดจะเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซและจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง จากนั้นหัวใจจะส่งต่อเม็ดเลือดแดงบวกออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ออกซิเจนจะช่วยในกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์อวัยวะ รักษาให้เซลล์มีชีวิตอยู่ได้เช่นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์ไต เซลล์สมอง นอกจากนี้ออกซิเจนก็ยังเป็นตัวสำคัญในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย หากขาดออกซิเจนหรือได้รับไม่เพียงพอ เซลล์จะตายและส่งผลให้อวัยวะตายตามไปด้วย 
 
 
 
สี่-LEL lower explosive limited
lower explosive limited หมายถึงค่าความเข้มข้นต่ำสุดของก๊าซหรือฝุ่นติดไฟที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้, ก๊าซที่นำมาใช้ในภาคงานอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็นสี่กลุ่มคือ ก๊าซติดไฟได้ ก๊าซพิษ ออกซิเจนและก๊าซเฉื่อย สำหรับ-แอล-อี-แอล ให้พิจารณาผนวกรวมก๊าซพิษบางชนิดเช่น CO Carbon Monoxide, H2S hydrogen sulfide เข้าไปด้วย ทั้งนี้เนื่องก๊าซพิษหลายชนิดสามารถติดไฟและระเบิดได้ด้วย เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย จะนำข้อมูลของก๊าซอะซีทีลีนมาเป็นโมเดลเพื่ออธิบาย ทั้งนี้จะทำให้เข้าใจวิธีคิดและเรียนรู้ภาวะการติดไฟและการระเบิดได้ของก๊าซประเภทอื่นได้ด้วย
 
 
 
อธิบายแผนภาพดังนี้ : อะเซทีลีนเป็นก๊าซติดไฟได้ ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถติดไฟหรือระเบิดได้อยู่ที่ 2.5 เปอร์เซนต์ โดยปริมาตร (lower explosive limit) หมายความว่าหากความเข้มข้นต่ำกว่านี้ก็ไม่ติดไฟไม่ได้ ระเบิดไม่ได้ และความเข้มข้นสูงสุดที่ยังติดไฟได้อยู่คือ 100 เปอร์เซนต์ หากจะอธิบายอย่างง่ายกระชับคือ ช่วงติดไฟ (flammable range) ของก๊าซอะเซทีลีนคือ 2.5-100 เปอร์เซนต์ นั่นเอง
ก๊าซติดไฟแต่ละชนิดมีข้อมูลจำเพาะที่แตกต่างกัน สำหรับที่อับอากาศ หากเครื่องมือวัด (gas detector) ตรวจพบและแสดงค่าที่หน้าจอเกินสิบเปอร์เซนต์ ต้องมีมาตรการระบายอากาศ ควบคุมไม่ให้เกินค่านี้

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติผู้เกี่ยวข้องงานที่อับอากาศ (รอปรับปรุง) : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูวิธีการ หลักเกณฑ์ชี้บ่งที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3286 คน
55432 คน
937484 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong