Sangtakieng.com
             

รำลึกวิถีคนกล้า รำลึกสืบ นาคะเสถียร
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
face book : รณรงค์ แสงตะเกียง 
ภาพและงานกราฟฟิค : ฤทธิชัย ปะติปะ

เมนูอื่นๆ ที่ท่านเข้าไปอ่านได้
 
(๑) รำลึกวิถีคนกล้า รำลึกสืบ นาคะเสถียร : นำเสนอท่านในหน้านี้ ด้านล่าง
(๒) ตำนานดงพญาไฟ ตำนานแร้งคอย : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๓) ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๔) เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๕) รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๖) ชาวบ้านบางระจัน ตำนานนักรบกล้าแห่งสยามประเทศ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๗) ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๘) บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๙) สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู่จากแดนใต้ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๐) เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๑) ปฏิบัติการ US Navy Seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๒) ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๓) พันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา วีระบุรุษบันนังสตา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๔) ชุมชนบ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๕) ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๖) วัดพระบรมธาตู ประวัติศาตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
(๑๗) นครธม ศิลปะเขมรแบบบายน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

 
สืบ นาคะเสถียร ชื่อเดิม "สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๒ ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และนางบุญเยี่ยม มีพี่น้องสามคนโดยสืบเป็นพี่ชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีกสองคนคือกอบกิจ นาคะเสถียร และกัลยา รักษาสิริกุล ในวัยเด็กได้ช่วยงานในนาของมารดาด้วยความอดทน บุคลิกประจำตัวคือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด สืบได้ช่วยทำงานในนาของมารดา เมื่อว่างจากภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อนโดยมีหนังสติ๊กคู่ใจ
 

การศึกษา
 
เข้าเรียนชั้นประถมตอนต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดปราจีนบุรี ครั้งเรียนจบชั้นประถม ๔ ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา จบในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พศ. ๒๕๑๑ และจบการศึกษาในปี พศ. ๒๕๑๔ และต่อมาได้ทำงานที่สวนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ
พศ. ๒๕๑๗ สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ สำเร็จการศึกษาในปี พศ. ๒๕๑๘ ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ต่อมาในปี พศ. ๒๕๒๒ สืบได้รับทุนการศึกษาจากบริติชเคาน์ซิล เรียนต่อในระดับปริญญาโทอีกครั้งสาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษและจบการศึกษาในปี พศ. ๒๕๒๔

 
          
 

งานวิจัยสัตว์ป่า
 
กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินใจเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบเริ่มที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมพู่ จังหวัดชลบุรี เป็นจุดที่ทำให้สืบได้เรียนรู้ว่าได้มีผู้มีอิทธิพลบุกรุกทำลายป่าจำนวนมาก โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ต่อมาในปี พศ. ๒๕๒๒ ได้เรียนต่ออีกที่อังกฤษ ถึงปี ๒๕๒๔ ได้กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น และสองปีต่อมาคือปี ๒๕๒๖ สืบได้ขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว
 

ช่วงระยะนี้ สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบทำได้ดี มีความสุขและเขารักงานด้านนี้เป็นชีวิตจิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพันกับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง ช่วงแรกเป็นงานวิจัยนก โดยศึกษาจำนวน นกชนิดต่างๆ พฤติกรรมรวมถึงการทำรังของนก
สืบได้เริ่มใช้เครื่องมือในการบันทึกงานวิจัย ซึ่งรวมถึงกล้องวีดีโอ กล้องถ่ายภาพและการ-สเก็ตซ์ภาพ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ได้กลายเป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา ภาพถ่ายสไลด์สัตว์ป่าหายากนับพันรูป ม้วนเทปวิดีโอภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าและปัญหาการทำลายป่าในเมืองไทยหลายสิบม้วน โดยผลงานทั้งหมดสืบเป็นคนถ่ายและตัดต่อเอง
 

 
         
 
ภาพซ้าย-ลุงกาหลงอดีดพรานป่าห้วยขาแข็ง (ห้วยขาแข้ง) ผู้ที่วางปืน เลิกการล่าสัตว์ป่าเด็ดขาดและเปลี่ยนตนเองเข้ามาร่วมอนุรักษ์ รักษาธรรมชาติ รักษาผืนป่าตะวันตกห้วยขาแข้ง ทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นผู้หนึ่งที่สืบให้ความเคารพมาก
ภาพกลางและภาพขวา-สืบและผู้ร่วมปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือและอพยพสัตว์ป่าตามโครงการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน (รัชชประภา) จังหวัดสุราษฏร์ธานี
 

ผลงานด้านวิชาการ
 
สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมาย ตั้งแต่การสำรวจติดตามชนิดและพฤติกรรมการทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรมของเลียงผา การสำรวจศึกษาสภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร และได้เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผลงานพอสรุปบางส่วนได้ดังนี้
 
  • การทำรังวางไข่ของนกบางชนิด ที่อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พศ. ๒๕๒๔
  • รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พศ.๒๕๒๖
  • รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และการจัดการป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน สุราษฎร์ธานี ๒๕๒๗
  • ศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ ๒๕๒๘
  • นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง ๒๕๒๙
  • รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ ๒๕๒๙
  • เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัยและพฤติกรรมบางประการ ๒๕๒๙
  • สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ
  • นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดตาก กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ โดยสืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์และศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ
  • การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ๒๕๓๐
  • การอพยพสัตว์ป่าในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า ๒๕๓๒
  • วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนแก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน (Assessment on Report and Impact Assessment Plan on Forestry and Wildlife of Upper Quae Yai Project)
  • รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฏร์ธานี
  • Nomination of the Thung Yai-Huay Kha Khaeng Wildlife Sanctuary to be a UNESCO World Heritage Site, May 1990 Submitted by the Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department Prepared Seub Nakasathien and Belinda Stewart-Cox

 
โครงการอพยพสัตว์ป่าที่เชี่ยวหลาน
 
๒๕๒๙ สืบ นาคะเสถียร ได้รับตำแหน่งหัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่า โดยมีงบประมาณเริ่มต้นเพียง ๘ แสนบาท ในการรับผิดชอบพื้นที่แสนกว่าไร่ โดยไม่มีการอนุมัติอุปกรณ์ช่วยชีวิตสัตว์ป่าแม้แต่เรือ แม้กระนั้นสืบได้ทำงานทั้งวันทั้งคืน ศึกษาข้อมูลจากทุกแหล่งทั้งหนังสือในเมืองไทย และหนังสือจากต่างประเทศ ตลอดจนขอความรู้จากนายพรานเก่าที่มีความชำนาญในการจับสัตว์ป่า
 

ที่ป่าเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม ถึงแม้ว่าโครงการอพยพสัตว์ป่าสามารถช่วยสัตว์ได้กว่า ๑๓๖๔ ตัว สืบรู้สึกเสียใจกับสัตว์อีกจำนวนมากที่เสียชีวิตไป เขาเริ่มเข้าใจปัญหาและตระหนักว่างานวิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถช่วยเหลือป่าและสัตว์ป่าจากการถูกทำลายได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาระดับชาติ โดยจะเห็นได้กรณีรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจนในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร กาญจนบุรี เขาได้เข้าคัดค้านอย่างเต็มที่
สืบได้เขียนรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน บอกทุกคนให้รู้ว่าการช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง และยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ ในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนได้ถูกระงับไป
ในระหว่างที่เขียนรายงานเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้รับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าคลองแสง สุราษฏร์ธานี เพิ่มอีกตำแหน่งและต่อมาในปี พศ. ๒๕๓๐ ได้ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
 

 
        
 

ตำนานห้วยขาแข้ง
 
สืบกลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ในปี พศ. ๒๕๓๑ และได้พยายามเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและป่าห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ จากองค์การสหประชาชาติ โดยเล็งเห็นว่าฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญ ที่จะคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร โดยปลายปี พศ. ๒๕๓๒ สืบได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่อังกฤษ พร้อมกับได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในปี พศ. ๒๕๓๓ เขาได้จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปรายในโอกาสต่าง ๆ หลายแห่ง โดยเน้นเรื่อง "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาที่เกี่ยวข้อง" และ "การอพยพสัตว์ป่าตกค้างในเขื่อนเชี่ยวหลาน"
ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่า นายทุนและกลุ่มผู้มีอิทธิพลต่างก็จ้องบุกรุกเข้ามาหาผลประโยชน์ สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ ได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า "มารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน" ถึงแม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถปกป้องป่าได้ เนื่องจากการดูแลผืนป่าขนาดมากกว่าหนึ่งล้านไร่ ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด รวมถึงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และมากกว่านั้นปัญหาความยากจนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่หวังผลประโยชน์ ได้ว่าจ้างชาวบ้านในเขตป่าสงวนเข้ามาตัดไม้ และลักลอบล่าสัตว์ในเขตป่าอนุรักษ์

ในทรรศนะของสืบ หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการสร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา โดยให้ชาวบ้านอพยพออกนอกแนวกันชน และพัฒนาแนวกันชนให้เป็นป่าชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความสนใจและความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด
 

เสียสละด้วยชีวิต
 
สืบเขียนจดหมายสั่งเสียลูกน้องคนสนิท ๖ ฉบับ เพื่อชำระสะสางภาระรับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง รวมถึงมอบหมายเครื่องใช้และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำเพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ได้ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ เช้ามืดวันที่ ๑ กันยายน พศ. ๒๕๓๓ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้งพร้อมกับการจบชีวิตของเขาคนนี้ สืบ นาคะเสถียร และเป็นจุดเริ่มต้นของ "ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร วิถีคนกล้าผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติเท่าชีวิต"

 
สองอาทิตย์ต่อมา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขตและเจ้าหน้าที่ป่าไม้อีกนับร้อยคน ได้เปิดประชุมเพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุกป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยสืบ นาคะเสถียร ได้พยายามจัดตั้งการประชุมหลายสิบครั้งแต่ไม่มีการตอบรับจากเจ้าหน้านี้สักครั้งจนกระทั่งเสียชีวิต ทำให้มีข้อกล่าวว่าหากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
การจากไปของสืบ ส่งผลสะเทือนและความเจ็บปวดบาดลึกในความรู้สึกของผู้คน ยามมีชีวิต-สืบฯ มิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเพียงการพิทักษ์ป่าและสัตว์ป่าเท่านั้น หากแต่เป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ ต่อสู้เพื่อปกป้องรักษาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมโดยไม่คำนึงภัยอันตราย การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ฯ ทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านเลย...โดยปราศจากความทรงจำ
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่าค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชาวบ้านบางระจัน ตำนานนักรบกล้าแห่งสยามประเทศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู้จากแดนใต้ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ปฏิบัติการ US Navy Seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู พันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา วีระบุรุษบันนังสตา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ชุมชนบ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วัดพระบรมธาตู ประวัติศาสตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู นครธม ศิลปเขมรแบบบายน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3286 คน
55432 คน
937484 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong