|
|
forklift operations safety | การใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างปลอดภัย | | งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 |
หัวข้อที่จะนำเสนอ | | - ตอนที่หนึ่ง ความรู้ทั่วไปและหลักการยกขนย้ายของโฟร์ค-ลิฟท์ : นำเสนอหน้านี้ด้านล่าง
- ตอนที่สอง วิธีตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่สาม วิธีลดภาวะเสี่ยง วิธีควบคุมอันตรายงานโฟร์ค-ลิฟท์ : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่สี่ แผนขนย้ายงานปฏิบัติการโฟร์ค-ลิฟท์ Handling Plan : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่ห้า การตรวจติดตามความปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่หก วิธีฝึกภาคสนาม ซ้อนวางชิ้นงานซิกแซกสลับฟันปลา : คลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่เจ็ด การทบทวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบ : คลิ๊กตรงนี้
|
คู่มือคำแนะนำและแบบฟอร์มเกี่ยวกับ Forklift Operations | | - คู่มือคำแนะนำและใบตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน : คลิ๊กตรงนี้
- ใบบันทึกการฝึกโฟร์คขลิฟท์ภาคสนาม : คลิ็กตรงนี้
|
|
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง |
กฏกระทรวง-กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พศ. ๒๕๕๒ (อ่านหมวด ๑ ส่วนที ๔ รถยก) : คลิ๊กตรงนี้ | |
|
ความรู้ทั่วไปและหลักการยกของโฟร์ค-ลิฟท์ |
ความรู้ทั่วไป |
|
โฟร์ค-ลิฟท์หรือรถยกที่มีใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมีหลายแบบ หลายยี่ห้อ, การออกแบบที่หลากหลายและแตกต่างนั้น มีเจตนารมณ์หลักเพื่อตอบสนองการขนย้ายฯ ที่คล่องตัวและปลอดภัยมากที่สุดกับชิ้นงานหรือสินค้าที่รูปร่างแตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักจะพูดกันสั้นๆ ว่าเพื่อความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งบางครั้งคำว่าเหมาะสมกลายเป็นคำพูดเพียงง่าย หากแต่ความหมายที่แท้จริงอาจเข้าใจอย่างคลุมเครือ, แสงตะเกียง.ดอทคอมเพียงหวังว่าเมนูนี้จะช่วยไขความกระจ่างที่กล่าวถึงนี้ ซึ่งยังหมายรวมถึงเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโฟร์ค-ลิฟท์ด้วย |
โฟร์ค-ลิฟท์ที่ใช้กันมาก มีสามแบบและที่ใช้กันมากที่สุดคือโฟร์ค-ลิฟท์แบบน้ำหนักถ่วง : |
- โฟร์ค-ลิฟท์แบบขนย้ายผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานทรงยาว (Side loader)
- โฟร์ค-ลิฟท์แบบน้ำหนักถ่วง (Counter weight forklift)
- โฟร์ค-ลิฟท์แบบเดินตาม (Walk behind forklift)
|
|
| |
|
1.หลักการยกของโฟร์ค-ลิฟท์แบบน้ำหนักถ่วง (Lifting Principle) |
โฟร์ค-ลิฟท์มีพื้นฐานมาจากคานกระดกทั่วไป สินค้าที่จะยกต้องไม่หนักกว่าน้ำหนักถ่วงด้านหลัง หากน้ำหนักเกิน รถจะกระดกคะมำหน้า |
ทบทวนความเข้าใจขั้นพื้นฐานก่อนเข้าเรื่อง : |
|
- จุดศูนย์ถ่วง (CG-Center Gravity)-คือจุดรวมน้ำหนักของวัตถุ ทำให้วัตถุอยู่ในสภาพสมดุล
- ทฤษฏีการล้มของวัตถุ-วัตถุจะล้มก็ต่อเมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ ให้จุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรง
- ทฤษฏีของคาน, งานที่เกิดเนื่องจากระบบคาน =แรงxระยะทาง หน่วยเป็นนิวตันเมตร
|
|
|
| |
โฟร์คลิฟท์มีหลักการทำงานมาจากทฤษฏีของคาน, การออกแบบเชิงวิศวกรรม จุดหมุนจะอยู่ประมาณแกนล้อหน้า ฉะนั้นความสามารถในการยกของรถฯ จะมีค่าเท่ากับระยะทางจากแกนล้อหน้าคูณด้วยจุดศูนย์ถ่วงนำหนักของโฟร์ค-ลิฟท์ท่อนหลัง และต้องไม่ลืมว่าน้ำหนักหลักของโฟร์ค-ลิฟท์ท่อนหลังอยู่ที่น้ำหนักถ่วงด้านท้าย ฉะนั้นผู้ชำนาญการณ์มักอธิบายว่า ความสามารถของโฟร์ค-ลิฟท์มีค่า=เท่ากับระยะทางจากแกนล้อหน้าคูณด้วยจุดส่วนถ่วงของน้ำหนักถ่วงด้านหลัง อย่างไรก็ตามบริษัทผู้ผลิตจะแสดงความสามารถไว้แล้วบนตัวรถฯ |
|
Load Center (LC)-คือระยะไกลสุดจากโคนงาไปทางด้านปลายงา ซึ่งโฟร์ค-ลิฟท์สามารถยกของได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่นโฟร์ค-ลิฟท์ขนาด 3 ตัน ยกชิ้นงานรูปทรงเหลียมที่มีมิติกว้าง ยาวและสูงน้ำหนัก 3 ตัน หากจุดศูนย์ถ่วงของชิ้นงานที่กล่าวถึงนี้ตกห่างจากโคนงานไม่เกินระยะ Load Center-LC, โฟร์คลิฟท์จะสามารถยกได้ แต่หากจุดศูนย์ถ่วงฯ ตกเลยระยะนี้ออกไปโฟร์ค-ลิฟท์ก็จะคะมำหน้าเป็นไปตามทฤษฏีของคาน |
- LC ของโฟร์ค-ลิฟท์ขนาด 2-15 ตันลงมามักจะอยู่ที่ระยะ 500 มิลลิเมตรจากโคนงา (ภาษาจำเพาะทางเทคนิคเรียกว่า 500 mm.Load Center)
- LC ของโฟร์ค-ลิฟท์ขนาด 15-31 ตัน อยู่ที่ 500-750 มิลลิเมตรหรือมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น ยี่ห้อและการออกแบบของบริษัทผู้ผลิต
|
|
การคว่ำของโฟร์คลิฟท์ (Topple Principle)-การออกแบบเชิงวิศวกรรมของตัวรถ, โฟร์ค-ลิฟท์จะเลี้ยวด้วยล้อคู่หลัง ฐานรับแรงเป็นรูปสามเหลียมและมีจุดศูนย์ถ่วงรถตัวเปล่าอยู่ประมาณกลางๆ ของตัวรถ (ดูภาพด้านล่างประกอบ), เมื่อบรรทุกโหลดจุดศูนย์ถ่วงจะเปลี่ยนขยับไปด้านหน้ารถ เมื่อมีแรงจากภายนอกมากระทำให้จุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรง โฟร์ค-ลิฟท์จะคว่ำ |
|
|
|
|
ดูภาพและอ่านคำอธิบายเพิ่มเติม-รถตัวเปล่าจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ CG Truck ซึ่งจะสังเกตได้ว่าจุดศูนย์ถ่วงของรถฯ จะอยู่ใกล้ขอบฐานรับแรงด้านข้าง ฉะนั้นโฟร์ค-ลิฟท์ตัวเปล่าหากมีแรงมากระทำด้านข้าง เช่นเลี้ยวที่ความเร็วสูง, รถจะคว่ำข้างพลิกตะแคงได้ง่าย แต่จะคะมำหน้าได้ยาก ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก CG Truck อยู่ห่างจากฐานด้านหน้า จุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรงด้านหน้าได้ยาก |
|
เมื่อรถบรรทุกโหลด จุดศูนย์ถ่วงรวม (Combined CG) จะขยับไปด้านหน้าเข้าใกล้ฐานรับแรงด้านหน้ามากขึ้น แต่จะมีระยะไกลจากฐานรับแรงด้านข้าง หากมีแรงมากระทำตัวอย่างเช่นบรรทุกโหลดและเบรคกระทันหัน รถฯ จะคะมำหน้า, ในแง่ทางเทคนิคควบคุมหรือเทคนิคการใช้โฟร์ค-ลิฟท์ ขนย้ายของจึงกำหนดว่า |
- ขับโฟร์ค-ลิฟท์ตัวเปล่าอย่าเลี้ยวด้วยความเร็วสูง รถจะเกิดอุบัติเหตุพลิกตะแคงด้านข้างได้ง่าย
- ขับโฟร์ค-ลิฟท์บรรทุกโหลดอย่าเบรคกระทันหัน รถจะเกิดอุบัติเหตุคะมำหน้า
| |
งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู วิธีตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู วิธีลดภาวะเสี่ยงและวิธีควบคุมอันตรายในงานโฟร์ค-ลิฟท์ : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู แผนขนย้ายงานปฏิบัติการโฟร์ค-ลิฟท์ Handling Plan : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู การตรวจติดตามความปลอดภัย Safety Audits : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู วิธีฝึกภาคสนาม ซ้อนวางชิ้นงานแบบซิกแซกสลับฟันปลา : คลิ๊กตรงนี้ |
ไปยังเมนู การทบทวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบ : คลิ๊กตรงนี้ |
| |
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
4 คน |
สถิติเมื่อวาน |
254 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3286 คน 55432 คน 937484 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |