Sangtakieng.com

 ตอนที่เจ็ด (กำลังดำเนินการพัฒนา)

working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเครน 
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com phone-line 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com, phone-line 093 7719222

กระเช้ายกคนด้วยรถเครน Man Basket : รอ-กำลังดำเนินการพัฒนา

กระเช้ายกคนด้วยเครน หลักเกณฑ์และวิธีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ (หนึ่ง) ความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกระเช้า/และ (สอง) คือความรู้เกี่ยวกับรถเครนที่จะนำมายกกระเช้าฯ ลำดับนี้จะนำเสนอ & ให้ความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกระเช้าเสียก่อน

กระเช้ายกคน man basket : 
หลักการ fundamental philosophy
ตัวกระเช้า สามารถสร้างขึ้นจากสองเงื่อนไขคือสร้างตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลเช่น CE JIS DIN AS BS และสร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งานซึ่งหมายถึงการสร้างตามแบบที่วิศวกรกำหนด, ไม่ว่าจะสร้างตามเงื่อนไขใดจะมีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำดังนี้
  • ความสามารถรับโหลด (load capacity) วัสดุโครงสร้างและชิ้นส่วนประกอบทั้งหมด ทั้งแนวดิ่งและแนวนอนต้องมีพิกัดเผื่อความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 3.5 เท่า ตัวอย่างเช่น ประตูทางเข้าเพลทฟอร์มระบุว่า load capacity 300 Kgs แสดงว่าการคำนวณเพื่อออกแบบโครงสร้างและชิ้นส่วนประกอบทั้งหมด ต้องคิดจาก 300 Kgs x พิกัดเผื่อความปลอดภัย Safety Factor 3.5 เท่า
  • ต้องแผงป้องกันสิ่งของตกเหนือศีรษะ ซึ่งต้องกำหนดค่าตกกระแทกซึ่งโครงโลหะไม่เสียรูป
  • กำหนดความสูงรั้วกันตก ลักษณะจำเพาะของรั้วกันตก
  • กำหนดความกว้างประตูทางเข้า ลักษณะจำเพาะประตูทางเข้า
  • ความกว้างพื้นยืน ลักษณะจำเพาะพื้นยืนเช่นความหยาบ (ป้องกันการลื่น) และการระบายน้ำ
  • กำหนดลักษณะจำเพาะจุดยึดเกาะแลนยาร์ด จำนวนจุดยึดเกาะ ระดับติดตั้งจุดยึดเกาะและพิกัดความเผื่อการกระตุกโหลด กรณีเกิดอุบัติเหตุคนตกจากกระเช้า
  • คุณลักษณะอื่นใด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยตามหลักวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยหรือการทำประเมินความเสี่ยง
  • วิธีติดตั้ง วิธีตรวจสภาพก่อนใช้งาน การตรวจซ่อมรักษาสภาพและการตรวจทดสอบตามระยะเวลา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ผลิตกำหนด 
หลักเกณฑ์ กระเช้ายกคนที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน
  • ออกแบบและลงนามรับรองแบบโดยวิศวกรผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ซึ่งมีความรู้และเข้าใจมาตรฐานการออกแบบกระเช้า คุณวุฒิของวิศวกรที่ยอมรับให้ออกแบบกระเช้ายกคน มีสามสาขาคือ วศบ.เครื่องกล วศบ.โยธาและวิศวกรโครงสร้าง (structural engineer)
  • การสร้าง การประกอบอาจใช้วิธีเชื่อม, ยึดประกอบด้วยน๊อตโบลท์, ริเวท วิธีหนึ่งวิธีใดหรือหลายวิธีร่วมกันก็ได้ 
  • หลังสร้างฯ ต้องตรวจรับรองและลงนามรับรองโดยวิศวกรอีกครั้ง จึงจะอนุญาตให้นำกระเช้ามาใช้งานได้
  • การนำมาใช้งานต้องมีแบบกระเช้า ใบตรวจรับรองหลังการสร้างและ Template หรือคู่มือที่มากับกระเช้า (ถ้ามี)
  • ต้องตรวจทดสอบ มีเอกสารตรวจทดสอบตามระยะเวลา (Annual Inspection or Inspection Interval) โดยวิศวกร
  • หากประกอบด้วยวิธีเชื่อม เมื่อครบรอบเจ็ดปีให้ตรวจทดสอบแนวเชื่อมโดยวิธีไม่ทำลาย NDT (non-destructive testing) วิธีหนึ่งวิธีใด ตัวอย่างเช่น การทดสอบด้วยอัลตราโซนิก ultrasonic testing UT, ทดสอบด้วยสารแทรกซึม penetrant testing PT, ทดสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก magnetic particle testing MT, ทดสอบด้วยรังสี radiographic testing RT, ทดสอบด้วยกระแสไฟฟ้าไหลวน eddy current testing ET, ตรวจสอบคุณสมบัติของความเครียดวัตถุ strain testing ST
 
กำลังดำเนินการพัฒนา 

  1. ออกแบบได้มาตรฐานตามลักษณะเพลทฟอร์มถาวร ซึ่งต้องมีรั้วบน รั้วกลางและแผ่นกันของตก, รั้วบนสูง 90-110 เซนติเมตร, รั้วกลางสูง 45-55 เซนติเมตรและแผ่นทึบกันของตก สูงไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร
  2. พื้นกระเช้าไม่ลื่นและสามารถระบายน้ำออกจากพื้นได้
  3. ประตู ต้องเป็นลักษณะเปิดเข้า ซึ่งหมายความว่าจะผลักประตูเข้าหรือจะเป็นลักษณะยกประตูให้เปิดออกและลอดเข้าก็ได้
  4. มีห่วงเกี่ยวสายแลนยาร์ด (anchorage hook) ซึ่งออกแบบไว้โดยเฉพาะ ถูกติดตั้งแบบถาวรไว้กับกระเช้าและห่วงเกี่ยวสายแลนยาร์ดต้องรับแรงได้ไม่ต่ำกว่า 1500 นิวตัน x ค่าพิกัดเผื่อความปลอดภัย 3.5 เท่า หรือเท่ากับ 1500x3.5=5250 นิวตัน  
  5. แสดงค่ารับโหลดหน่วยเป็นกิโลกรัม ปิดหรือแสดงไว้ที่กระเช้า
  6. มีหลักฐานผ่านการตรวจสภาพโดยวิศวกร ประจำปีปฏิทินหรือประจำรอบปีก็ได้
  7. กระเช้าผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้
 
 

กระเช้ายกคนแบบยกโดยใช้รถเครน elevated work platform
 
ความเหมาะสมใช้งาน ใช้กับงานยกคนขึ้นทำงานที่สูงทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่น งานซ่อมบำรุง งานติดตั้งชิ้นงาน งานตรวจสอบอาคาร ฯลฯ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายมากน้อยสำหรับงานกระเช้าลักษณะนี้คือความสามารถของรถเครนที่ใช้ยก, เครนเล็กค่าใช้จ่ายจะถูก หากเครนมีขนาดใหญ่ขึ้น ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้น /ฉะนั้นนอกจากเข้าใจมาตรฐานของกระเช้าแล้ว ก็จำเป็นต้องรู้และเข้าใจข้อกำหนดของเครนที่ใช้ยกกระเช้าด้วย รถเครนที่พร้อมใช้งานต้องมีข้อกำหนดดังนี้
  • มีเอกสาร ปจ.2 ตามที่กฎหมายกำหนดและ ปจ.2 ต้องไม่หมดอายุ
  • กรณีใช้รถเครนที่มีอายุเกิน 7 ปี จุดเชื่อมบูมให้แสดงหลักฐานการตรวจสอบรอยแตกร้าวโดยใช้น้ำยาแทรกซึม (penetrant testing-PT), การใช้น้ำยาแทรกซึมเป็นหนึ่งในวิธีทดสอบโดยไม่ทำลาย (non destructive testing-NDT) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการการตรวจหาความไม่ต่อเนื่องที่เปิดสู่พื้นผิวของโลหะที่ไม่มีรูพรุนหรือวัตถุอื่นเช่น โลหะ พลาสติก แก้วและเซรามิค ฯลฯ เป็นต้น
  • ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถเครนจะมี ผู้ควบคุมการใช้รถเครน (mobile crane supervisor), ผู้บังคับเครนรถ (mobile crane operator) และผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับเครน ผู้ยึดเกาะวัสดุ (crane rigger) ซึ่งผู้เกี่ยวข้องที่กำลังกล่าวถึงนี้ ต้องผ่านการฝึกอบรมและมี certificate ตามที่กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนด

ภาพ กระเช้ายกคนและรถเครน

 

ติดต่องานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ  : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้





  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 9 คน
 สถิติเมื่อวาน 248 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
867 คน
15989 คน
957955 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong