Sangtakieng.com
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย Job Safety Annalysis
ส่วนที่ ๒ : ขั้นตอนการวิเคราะห์อันตรายในงาน
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง

ขั้นตอนที่ () ระบุขอบเขตของงานที่จะปฏิบัติ

ลำดับนี้ ให้กำหนดขอบเขตของงานว่าต้องเริ่มต้นจากกิจกรรมไหนและจบลงด้วยกิจกรรมใดหรือจะเขียนกำหนดเป็นเชิงพรรณนาก็ได้แต่ต้องเข้าใจได้ว่าต้องปฏิบัติการอยู่ในกรอบใด

ขั้นตอนที่ () นำขอบเขตของงานที่จะปฏิบัติ มาแบ่งเป็นขั้นตอนหลักและนำขั้นตอนหลักมาแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยๆ (work break-down)

 โดยหลักการแล้ว ผู้ที่ทำวิเคราะห์ความปลอดภัยฯ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงาน กระบวนการทำงานหรือขั้นตอนปฏิบัติงานก่อนหลัง และต้องรู้ด้วยว่าเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ทำงานอย่างไร ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้ จะทำให้การระบุอันตรายมีความชัดเจน-แม่นยำมากขึ้น และการระบุอันตรายที่ชัดเจนนี่เอง จะเชื่อมโยงให้การการควบคุมอันตรายถูกต้องไปด้วย ซึ่งหมายความว่าเราจะสามารถประเมินความเสี่ยงพร้อมเสนอแนะมาตรการควบคุมฯ ป้องกันอันตรายได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องมากกว่านั่นเอง

กรณีที่ผู้วิเคราะห์ความปลอดภัยไม่มั่นใจในเรื่องที่กล่าวถึงนี้ ให้กำหนดผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นที่ปรึกษา เช่นหัวหน้างาน วิศวกรโรงงาน หัวหน้าแผนก ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์โดยตรงกับงานนั้น (senior employee) ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และต้องไม่ลืมว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก หากหวังพึ่งมากเกินไปจะไม่ประสบผลสำเร็จ ข้อดีด้านหนึ่งสำหรับการมีที่ปรึกษาหลายคนคือช่วยให้เราวิเคราะห์อันตรายได้รอบคอบ การรับรู้ ยอมรับและเชื่อมั่นในผลของการวิเคราะห์ก็มากขึ้นไปด้วย

การทำขั้นตอนปฏิบัติงานเริ่มต้นจากไหน-นั่งเทียนเป็นพฤติกรรมที่อยู่คนละฟากฝั่งกับการจัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน พฤติกรรมนั่งเทียนจึงเป็นปฏิปักษ์ที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง เซฟตี้น้ำลายและพยัคฆ์ร้ายห้องแอร์ก็เป็นอุปสรรค์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ฉะนั้นการออกพื้นที่ทำสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ปฏิบัติงาน จึงเป็นเรื่องที่ศาสตร์วิชาระบุให้ทำและต้องทำเป็นอันดับต้น เป็นอันดับต้นก่อนจัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน

 หลักเกณฑ์ วิธีการสำหรับการจัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน

ข้อ (๑)-ระบุขั้นตอนหลัก : ให้พิจารณาถึงกลุ่มงานที่ต้องทำและเรียงกลุ่มงานตามลำดับก่อนหลัง ตัวอย่างเช่นจะซ่อมปั้มส่งน้ำดิบในสถานประกอบการ เราจะแบ่งกลุ่มงานอย่างไร คำแนะนำคือควรแบ่งงานออกเป็น ๔ กลุ่ม

  • การเตรียมการและการตัดแยกระบบ (preparation, system isolating and lockout) : แนวคิดของลำดับนี้คือ การซ่อมบำรุงปั้มน้ำต้องเตรียมสิ่งใดบ้างเช่นประแจ เศษผ้า อุปกรณ์ช่วยยก อะไหล่ของปั้ม ใบขออนุญาตซ่อมบำรุง จำนวนช่าง ฯลฯ และต้องรวมถึงการตัดแยกระบบและล็อค-เอาท์ด้วย
  • ถอดรื้อชิ้นส่วนเดิมที่ต้องการซ่อมออก (disassembly or taken-out)
  • ประกอบอะไหล่ใหม่เข้าแทนที (assembly)
  • ปลดคืนระบบและทดสอบการทำงานของปั้มน้ำ (de-isolate and functional test)

ข้อ (๒)-นำขั้นตอนหลักมาแตกขั้นตอนย่อย (work break-down) : โดยนำขั้นตอนหลักมาพิจารณาแตกเป็นหัวข้องานย่อยๆ ซึ่งแต่ละขั้นตอนย่อยนี้ ต้องมีการบอกว่าจะให้ทำอย่างไร คำศัพท์ที่ใช้จะเป็นกริยาแบบตรงๆ เช่นถอด ประกอบ ดัน ตรวจสอบพื้นผิวด้วยสายตา ฯลฯ เป็นต้น

คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำขั้นตอนปฏิบัติงาน :

  •  ไม่ควรที่จะแบ่งแยกขั้นตอนการทำงานนั้นๆ แบบละเอียดแยกย่อยหรือหยาบจนเกินไป เพราะจะทำให้จับประเด็นได้ยาก ไม่เหมาะสมในการนำไปใช้งานจริง โดยทั่วไปแล้วไม่ควรจะเกิน ๑๐ ขั้นตอน ถ้ามากกว่านั้นก็อาจต้องรวมขั้นตอนเข้าด้วยกันบ้าง หรือแบ่งเป็นงานย่อยออกมา ๒ ถึง ๓ ส่วน แล้วแยกวิเคราะห์
  • ข้อสำคัญคือต้องจัดเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานให้ถูกต้องและครบตามขอบเขตของงาน มิฉะนั้น อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดและอันตรายบางส่วนถูกมองข้ามหรือชี้บ่งไม่พบก็เป็นได้
  • การเขียนขั้นตอนงาน ให้ใช้ข้อความแสดงกริยากระทำและมีคำกริยาแสดงการกระทำร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น ดึง ดัน ขันประแจ ยก ฯลฯ ควรใช้ข้อความที่สั้น ไม่ฟุ่มเฟือย ได้ใจความ เข้าใจง่ายแต่คงไว้ซึ่งรายละเอียดที่สำคัญ

ข้อ ()-ชี้บ่งและระบุอันตราย (hazard identified) ที่แฝงอยู่ในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ทุกข้อและกำหนดมาตรการควบคุมอันตราย หรือปรับปรุงแก้ไขในแต่ละขั้นตอนการทำงาน

ในขั้นตอนที่สามนี้ อาจจะเรียนรู้หรือทำความเข้าใจยากลำบาก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน จึงขอนำเสนอออกเป็น ๓ หัวข้อย่อยดังนี้

  1. เรียนรู้ปรับฐานความเข้าใจก่อนการชี้บ่งและระบุอันตราย
  2. เทคนิคชี้บ่งฯ และระบุอันตราย
  3. มาตรการควบคุมอันตราย hierarchy of control and abbi (เป็นศาสตร์ที่แนะนำให้ใช้)

.  เรียนรู้ปรับฐานความเข้าใจก่อนการชี้บ่งและระบุอันตราย

ตามหลักการของวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial hygiene) อันตรายในภาวะแวดล้อมการทำงาน หรืออันตรายที่แฝงอยู่ในงานปฏิบัติการ มีห้ากลุ่ม แต่เนื่องจากอันตรายกลุ่มจิตวิทยาสังคม เมื่อทำชี้บ่งและระบุอันตรายแล้วเสร็จ อาจเกิดความยุ่งยากในมาตรการควบคุมอันตราย ฉะนั้นเพื่อให้ปรับใช้ได้โดยง่ายและเชื่อมโยงเข้ากับเรื่อง JSA job safety analysis ได้ลงตัวมากขึ้น ณ ที่นี้จึงละไว้ มิได้กล่าวถึงในแง่ทฤษฏีทั้งหมด ทว่าจะกล่าวถึงในลักษณะประยุกต์ใช้หรือเป็นทฤษฏีเชิงปฏิบัติการเป็นด้านหลัก โดยจะกล่าวถึง ๔ กลุ่มอันตรายเท่านั้น

  • physical hazards อันตรายทางด้านกายภาพ : ตัวอย่างเข่นไฟฟ้าดูด สั่นสะเทือน บาดตัด หนีบ ฝุ่นควัน ร้อนหนาว กระแทกชน ทุบตี ตกใส่ ฯลฯ เป็นต้น
  • chemical hazards and hazardous substance อันตรายทางด้านเคมีและวัตถุอันตราย : เคมีและวัตถุอันตรายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ เข้าสู่ร่างกายได้ ๓ ทางคือปนเปื้อนในอาหาร น้ำและกลืนกินเข้าไป, ซึมผ่านผิวหนังและหายใจเข้าไป
  • biological hazards อันตรายทางด้านชีวภาพ : ตัวอย่างเช่นเชื้อโรค แบคทีเรีย ฯลฯ
  • ergonomics hazards อันตรายทางด้านการยศาสตร์ : ภาคงานปฏิบัติการอุตสาหกรรม มักมองในแง่ผลกระทบกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโครงร่าง

ทำไมต้องทบทวน เรียนรู้เพื่อปรับฐานความเข้าใจก่อนทำชี้บ่งและระบุอันตราย ประเด็นพิจารณาคือหากไม่มีความรู้ขั้นพื้นฐานว่าอันตรายในงานปฏิบัติการมีกี่กลุ่ม แต่ละกลุ่มหมายถึงอันตรายลักษณะใดบ้าง เมื่อเรานำแต่ละขั้นตอนปฏิบัติงานมาชี้บ่งและระบุอันตราย ก็จะเกิดความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หากจะกล่าวโดยตรงคือไม่สามารถขี้บ่งและระบุอันตรายได้ถูกเรื่องนั่นเอง

(เขียนต่อคราวหน้าครับผม)

กลับไปยังเมนู JSA ส่วนที่ ๑ ความทั่วไป : คลิ๊กตรงนี้
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 41 คน
 สถิติเมื่อวาน 145 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6298 คน
21420 คน
963386 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong