Sangtakieng.com

contractor 's safety supervision and management
การกำกับดูแลและบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา
ตอนที่สาม การกำกับดูแลและบริหารจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222 
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ 
e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222 
 

ตอนที่สาม การกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา
การบริหารจัดการ กำกับดูแลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยเกี่ยวกับผู้รับเหมา ให้บริหารจัดการและกำกับดูแลที่ ๔ องค์ประกอบ 
 
  • กำกับดูแลและบริหารจัดการให้มีระบบปลอดภัย system safety
  • กำกับดูแลและบริหารจัดการให้คนปลอดภัย people safety
  • กำกับดูแลและบริหารจัดการให้เครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุ วัตถุดิบปลอดภัย plant safety และอีกองค์ประกอบคือ
  • กำกับดูแลและบริหารจัดการให้ พื้นที สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย area attribution or working environment safety  
 


1. ระบบปลอดภัย system safety
 

ระบบปลอดภัย หมายถึงเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานของบริษัทผู้ว่าจ้าง ต้องกำกับดูแลให้ผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้เข้ามาร่วมงาน ปฏิบัติตามด้วย ส่วนกฎหมายทุกองค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมายอยู่แล้ว บริษัทผู้ว่าจ้างแค่ประสานเน้นย้ำให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ถือว่าเพียงพอ

 
  • ผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของบริษัทผู้ว่าจ้าง
  • ปฏิบัติตามระเบียบ การขออนุญาตทำงานและล็อคเอาท์ระบบของบริษัทผู้ว่าจ้าง
  • กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานผ่านการฝึกอบรมตามกฎหมายและตามลักษณะงานที่ทำ
  • ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานต้องมีสุขภาพประจำปีและสุขภาพก่อนทำงานแต่ละวันเป็นปกติ (fit to work)
  • กลุ่มงานเสี่ยงอันตรายสูงอุตสาหกรรมบนบก แต่ละสถานประกอบกิจการอาจจะกำหนดแตกต่างกันไปบ้าง ขั้นต่ำหากเกี่ยวข้องกับงานเสี่ยงอันตรายสูงเจ็ดประเภท ผู้รับเหมาต้องมี certificate รับรองความรู้ความสามารถ  
 

งานความร้อนและประกายไฟ hot  work safety

ปฏิบัติการที่อับอากาศ  safe access in confined spaces

ทำงานบนที่สูง  working at heights

ปฏิบัติการงานนั่งร้าน safe access scaffolds

งานไฟฟ้าแรงสูง  high voltage

งานขุดเจาะพื้นในเขตโรงงาน  excavation

งานขนย้ายโดยใช้จักกลเคลื่อนที่  heavy handling


2. คนปลอดภัย people safety
 
คนปลอดภัยตามความหมายของการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย หมายถึงผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ความสามารถตรงกับลักษณะงานและมีสุขภาพเป็นปกติ ซึ่งโดยระบบปฏิบัติงานหรือระเบียบปฏิบัติของบริษัทผู้ว่าจ้างหรือสัญญาว่าจ้างจะกำหนดคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานไว้แล้ว การกำกับดูแลและบริหารจัดการ จึงให้ตรวจหลักฐานทั้งสองส่วนที่กำลังกล่าวถึงนี้ ให้สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ เท่านั้นเอง
 
ความรู้ความสามารถ 
 
  • ความรู้ความสามารถหลักของบุคคล (core competencies) หมายความว่าจบการศึกษาสาขาไหน ระดับใดและคุณลักษณะจำเพาะของบุคคลเป็นอย่างไร : ยืนยันจากเอกสารวุฒิการศึกษาและการพูดคุยสัมภาษณ์ นอกจากวุฒิการศึกษาแล้ว ความรู้ความสามารถหลักของบุคคลควรแสดงสอง certificate คือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร ความปลอดภัย สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ และหลักสูตรการขออนุญาตเข้าทำงานและการตัดแยกระบบ lockout tagout and permit to workความรู้ความสามารถตามลักษณะงาน (job competencies) : ยืนยันจากหลักฐานใบผ่านงานและการพูดคุยสัมภาษณ์  

สุขภาพประจำปีและสุขภาพก่อนปฏิบัติงาน
 
  • สุขภาพก่อนปฏิบัติงานแต่ละวัน (fit to work) ให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้แจ้งกับหัวหน้างานว่าสุขภาพพร้อมหรือไม่พร้อมปฏิบัติงาน
 

สุขภาพที่ไม่พร้อมปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น ป่วยและทานยาประเภทระงับหรือกระตุ้นระบบประสาท หลับไม่ถึงหกชั่วโมงต่อวัน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ฯลฯ เป็นต้น หากพบว่า ผู้รับเหมาคนหนึ่งคนใดใช้สารเสพติดผิดกฎหมาย ถือว่าขาดคุณสมบัติตั้งแต่ต้นและต้องยกเลิกสัญญาว่าจ้าง


 


3. เครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุ วัตถุดิบปลอดภัย plant safety
 
เพื่อเข้าใจง่ายเกี่ยวกับการกำกับดูแลและบริหารจัดการ เครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุหรือวัตถุดิบที่ผู้รับเหมาจะนำเข้ามาใช้งานในสถานที่ของผู้ว่าจ้าง ณ ที่นี้จะอธิบายแยกออกเป็นสามส่วนดังนี้
 
 3.1 วัสดุไวไฟหรือสารเชื้อเพลิง ต้องกำหนดให้ผู้รับเหมาจัดเก็บในพื้นที่ควบคุม (controlled area) ซึ่งพื้นที่ควบคุม ต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
 
  • จัดเก็บบนพื้นที่อากาศถ่ายเทไกลจากแหล่งความร้อนและประกายไฟไม่ต่ำกว่า ๑๑ เมตร และให้ประเมินความเสี่ยงร่วมด้วย หากจำเป็นให้เพิ่มระยะทางจัดเก็บออกไปอีกหรือจัดทำผนังทึบป้องกัน
  • พื้นจัดเก็บมั่นคงไม่ทรุดตัว หากเป็นลักษณะถังบรรจุ มาตรการจัดเก็บต้องไม่ล้ม พื้นไม่ทรุดตัวและแสดงเขตชัดเจน
  • กำกับดูแลมิให้สูบบุหรี่ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ ห้ามพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟในระยะ ๑๑ เมตรโดยรอบโดยไม่มีมาตรการควบคุมอุบัติเหตุ
  • ดูแลมิให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่มีการจัดเก็บวัตถุไวไฟและจัดทำป้าย อันตรายห้ามสูบบุหรี่ ห้ามทำให้เกิดประกายไฟ หรือห้ามพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟหรือป้ายซึ่งมีข้อความอื่นที่มีความหมายในทำนองเดียวกัน ตามสภาพหรือคุณสมบัติของวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดไว้ให้เห็นได้ชัดเจน ณ บริเวณนั้น
  • ต้องมีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่เหมาะสมกับชนิดของเชื้อเพลิงและต้องมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่าเครื่องละ ๔ กิโลกรัม โดยให้มีอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง  
 

การติดตั้งเครื่องดับเพลิง ต้องให้ส่วนบนสุดของตัวเครื่องสูงจากระดับพื้นหรือสถานที่ก่อสร้างไม่เกิน ๑.๔๐ เมตร อยู่ในที่ซึ่งสามารถมองเห็นและใช้ได้สะดวก และตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง

 
  • มีการควบคุมและบันทึกการนำออกไปใช้งาน สามารถตรวจสอบได้  

3.2 เคมีภัณฑ์ที่เป็นของแข็งหรือของเหลว ที่ไม่ติดไฟหรือไม่ระเบิด
 
  • เคมีภัณฑ์แต่ละชนิด ให้จัดเก็บที่แผนกเซฟตี้ของบริษัทผู้ว่าจ้างหนึ่งฉบับและเก็บสำเนาในพื้นที่จัดเก็บอีกหนึ่งฉบับ
  • กรณีมีสถานะเป็นของเหลว ให้จัดเก็บในพื้นที่ขอบกั้น (bounded area) ซึ่งมีปริมาตรมากว่าเคมีที่เก็บทั้งหมด ๑๒๕ เปอร์เซ็นต์
  • กรณีจัดเก็บเคมีภัณฑ์หลายชนิดรวมกันไว้ในพื้นที่เดียวกัน ให้แสดงผังจัดเก็บที่ทางเข้าและส่ง soft file ฉบับที่เป็นปัจจุบันไว้ที่แผนกเซฟตี้ของบริษัทผู้ว่าจ้าง
  • การจัดเก็บเคมีภัณฑ์หลายชนิดรวมกันในพื้นที่เดียวกัน ต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ก่อความรำคาญต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่นมีกลิ่น ฯลฯ เกิดอันตรายหรือหรือส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • การแบ่งจัดเก็บ ส่วนที่ถูกแบ่งออกไปต้องปิดฉลากแสดงชื่อและข้อมูลของเคมีภัณฑ์ไว้ที่บรรจุภัณฑ์นั้นด้วย
  • มีการควบคุมและบันทึกการนำออกไปใช้งาน สามารถตรวจสอบได้

3.3 เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกล, คำจำกัดความสำหรับงานกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา definition
  • เครื่องจักร หมายความว่าเครื่องมือที่มีน้ำหนักเกินความสามารถที่จะยกเคลื่อนย้ายได้ด้วยแรงคนเพียงคนเดียว ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนสำหรับกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงานหรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น  
 

ตัวอย่างเช่น โฟร์ค-ลิฟท์ เครนรางเลื่อนเหนือศีรษะ รถเครน เครื่องอัดอากาศ เครื่องปั่นไฟ เครื่องจักรโรงงาน เครื่องตัดแถบเหล็กแผ่น เครื่องปั้มขึ้นรูปโลหะ สายพานลำเลียง เครื่องกวนผสม เครื่องกลึง เครื่องตอกเสาเข็มงานก่อสร้าง ฯลฯ


  • เครื่องมือกล หมายความว่าเครื่องมือที่สามารถยกเคลื่อนย้ายได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วน กลไกการทำงานง่ายไม่ซับซ้อน ทั้งนี้โดยเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า พลังงานลมหรือแรงคนเป็นพลังงานกล
 

ตัวอย่างเช่น สว่านไฟฟ้า หินเจียร์มือ สว่านมือ รอกสาวมือ ฯลฯ

ปลั๊กพ่วงต่อสายไฟ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเสี่ยงอันตรายสูง ให้บริหารจัดการสำหรับใช้งานเช่นเดียวกับเครื่องมือกลด้วย ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ช่วยยกในงานเครน เชือกโรยตัว อุปกรณ์ส่วนควบเชือกโรยตัว ฮาร์เนสทำงานบนที่สูง รอกกู้ภัย เปลสนามกู้ภัย ฯลฯ

 
  • เครื่องมือหรือเครื่องมือช่าง หมายความว่าเครื่องมือที่สามารถยกเคลื่อนย้ายได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนหรือชิ้นส่วนเดียวก็ได้ ใช้งานโดยใช้แรงคน ไม่มีต้นกำลัง ตัวอย่างเช่น ค้อน ไขควง ประแจ ฯลฯ เป็นต้น
  • เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกลหรืออุปกรณ์ส่วนควบของเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกลที่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย ตัวอย่างเช่น เครนอยู่กับที่ เครนเคลื่อนที่ หม้อน้ำแรงดัน ถังบรรจุก๊าซเชื้อเพลิงสำหรับโฟร์ค-ลิฟท์ ฯลฯ  

 


 4. พื้นที่ สภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย area attribution or working environment safety
 
การเข้ามาปฏิบัติงานของผู้รับเหมาในสถานประกอบกิจการของผู้ว่าจ้าง ต้องกำกับดูแลให้ผู้รับเหมาเข้าใจการปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานและปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัยด้วย หากไม่ปฏิบัติอาจส่งผลโดยตรงให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ปฏิบัติงานและคนอื่นในสถานประกอบกิจการได้ด้วย

4.1 การปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานหรือที่กฎหมายเรียกว่าเขตอันตราย
 
อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานอาจใช้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือใช้หลายอย่างร่วมกัน ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ความปลอดภัยหรือขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น แถบกั้นเพื่อความปลอดภัยและธงริ้ว soft barricade, รั้วแข็ง hard barricade, สัญลักษณ์ความปลอดภัย safety sign และป้ายทะเบียนความปลอดภัย safety tag 

  • แถบกั้นความปลอดภัยและธงริ้ว หากเป็นประเภทแถบกั้นเตือน จะมีสีเหลืองสลับดำแถบเฉียงสลับสี ซึ่งพบว่าในเขตอุตสาหกรรมโลกตะวันตกจะมีเพิ่มอีกหนึ่งแบบคือตัวแถบเป็นสีเหลืองและมีตัวหนังสือ caution (แปลว่าระวัง) สีดำเป็นช่วงๆ ระยะห่างสม่ำเสมอ กรณีเป็นธงริ้วสามเหลี่ยม ปลายแหลมของธงจะชี้ลงและแผ่นธงจะถูกเย็บติดกับเส้นเชือกแบบสลับสีขาวกับสีดำ ตามความยาวที่ต้องการ

ธงริ้วกั้นเตือนเหลืองดำ warning fag

แถบกั้นเตือนเหลืองดำ warning tape

แถบกั้นอันตราย dander tape 

 

 


  • แผงป้องกันอันตราย รั้วแข็งและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ป้องกันควบคุมอันตรายที่กล่าวถึงนี้จะมีทั้งแบบทึบและแบบโปร่ง โดยทั่วไปสูง ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร อาจใช้ขนาดสูงกว่านี้ตามผลวิเคราะห์ความปลอดภัย หรืออาจจะสูงกว่านี้ตามระเบียบด้านความปลอดภัยเฉพาะเรื่อง ซึ่งต้องเป็นสีโทนสว่างถูกหลักสัญลักษณ์ความปลอดภัยเช่น เหลืองดำ ขาวแดง ฯลฯ เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ความปลอดภัย : สัญลักษณ์ความปลอดภัยหมายความรวมถึงการขีดสีตีเส้น ป้ายความปลอดภัย ไฟวับวาบ ฯลฯ ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์สี ข้อความ ภาพ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้
 

 

 

  • ป้ายทะเบียนความปลอดภัยหรือ safety tag จากการค้นคว้าไม่พบว่าเอกสารเล่มใดแบ่งแยกประเภทเรื่องป้ายทะเบียนไว้ชัดเจน จึงทำสำรวจ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้และเก็บข้อมูลช่วงปี ๒๕๓๕-๒๕๕๕ เมื่อนำข้อมูลมาสรุป พบว่าป้ายทะเบียนแบ่งแยกได้ ๔ ประเภท ดังนี้-ป้ายทะเบียนเตือน warning tag, ป้ายทะเบียนอันตราย danger tag, ป้ายทะเบียนบอกสถานภาพ inspection tag, information tag และป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล custom quick ship tag

การใช้งานป้ายทะเบียนเตือน warning tag-ลักษณะของป้ายทะเบียนเตือน พื้นสีเหลือง ขอบสีดำและตัวหนังสือหลักที่แสดงบนพื้นป้ายต้องเป็นสีดำ ใช้แขวนเตือนที่อุปกรณ์ เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักรเพื่อให้ปฏิบัติตามข้อความที่กำหนด หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ หากเกิดอุบัติเหตุ ระดับผลกระทบที่ตามมาต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น หากเกิดอุบัติเหตุกับคน ยอมรับได้แค่ระดับบาดเจ็บจากการทำงาน (work injury) หากสูงกว่านี้เช่น ต้องหยุดงานเกินหนึ่งวันหรือหยุดหนึ่งกะทำงาน ต้องบำบัดทางการแพทย์ สูญเสียอวัยวะหรือตาย เป็นระดับที่ยอมรับไม่ได้ (loss time injury, medical treatment injury, near miss fatality or fatality)

 

การใช้งานป้ายทะเบียนอันตราย danger tag-ลักษณะของป้ายทะเบียนอันตราย มีรหัสสีหลักเป็นสีขาวกับสีแดง ส่วนข้อความจะเป็นสีอื่นก็ได้ ใช้แขวนห้ามที่อุปกรณ์ เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักรเพื่อให้ปฏิบัติ ตามข้อความที่กำหนด หากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฯ อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุซึ่งระดับผลกระทบที่ตามมาจะสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้ ตัวอย่างเช่น บาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเกินหนึ่งวันหรือหยุดหนึ่งกะทำงาน ต้องบำบัดทางการแพทย์ สูญเสียอวัยวะ บุคคลเสียชีวิต หรือเสียชีวิตคราวละมากกว่าหนึ่งคน (loss time injury, medical treatment injury, near miss fatality or fatality)    

 

 


การใช้ป้ายทะเบียนบอกสถานภาพ inspection tag, information tag-ลักษณะของป้ายทะเบียนบอกสถานภาพ ควรหลีกเลี่ยงรหัสสีไม่ให้ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนเตือน หรือไม่ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนอันตราย ใช้แขวนเพื่อบอกสถานขณะนั้นของอุปกรณ์ เครื่องมือหรือที่สวิทซ์ควบคุมเครื่องจักร หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดผลกระทบกับงาน กระบวนการธุรกิจหรือชื่อเสียงขององค์กร เช่นประสิทธิภาพของงานต่ำลง งานล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด ลูกค้าขาดความเชื่อถือ ยอดสั่งซื้อลดลง ฯลฯ เป็นต้น (ป้ายทะเบียนกลุ่มนี้ ส่วนมากจะใช้ควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดกับทรัพย์สินหรือเกิดความเสียหายกับกระบวนการธุรกิจ มากกว่า หมายถึงไม่แนะนำให้ใช้กับการควบคุมอันตรายที่อาจเกิดกับคน) ตัวอย่างเช่น

ก๊าซออกซิเจนถังเต็ม oxygen-full cylinder

ก๊าซอะเซทีลีนถังเปล่า acetylene-empty cylinder

อนุญาตใช้งานนั่งร้าน scaffolding permit tag

กำลังเดินเครื่องใช้งาน ฯลฯ เป็นต้น equipment in service 


การใช้งานป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล custom quick ship tag-รหัสสีของป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคล ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจน แต่โดยปกติจะไม่ใช้รหัสสีซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนเตือน หรือไม่ซ้ำกับรหัสสีของป้ายทะเบียนอันตราย และที่แตกต่างชัดเจนคือต้องมีภาพถ่ายหน้าตรงบุคคลร่วมบนป้ายทะเบียนฯ เสมอ ใช้งานอนุญาตบุคคลเพื่อเข้าในเขต-หรือพื้นที่จำเพาะ 

ตัวอย่างเช่นอนุญาตบุคคลเข้าพื้นที่อันตรายสูง อนุญาตบุคคลใช้เครื่องจักรที่มีลักษณะพิเศษ อนุญาตบุคคลเพื่อเข้าในพื้นที่ความลับของบริษัทเช่น ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ หรือลักษณะอื่นใดที่หน่วยงานกำหนด ฯลฯ  ผู้ที่ได้รับป้ายทะเบียนอนุญาตบุคคลต้องผ่านการฝึกอบรมในเรื่องนั้นๆ ก่อนได้รับอนุญาต 


4.2 การปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปลอดภัย ก่อนเริ่มงาน 
 
ความคิดของผู้ปฏิบัติงานบางส่วนในประเทศไทยและประเทศโลกตะวันออก คิดว่าทำงานให้เสร็จก่อนและปรับสภาพการทำงานให้มีสภาพเรียบร้อย สภาพปกติภายหลัง ซึ่งกระบวนการคิดดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักการควบคุมอันตรายของศาสตร์วิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและไม่สอดคล้องกับหลักการของวิชาวิศวกรรมความปลอดภัยอย่างมาก การปรับสภาพสภาพแวดล้อมการทำงานมุ่งหวังเพื่อป้องกันและควบคุม ไม่ให้อุบัติเหตุเกิดกับผู้ที่จะเข้าไปทำงาน ฉะนั้นต้องทำก่อนเริ่มปฏิบัติงานเสมอ
 
  • พื้นที่ซึ่งจะเข้าไปทำงานสกปรก ลื่น ไม่เป็นระเบียบ ของวางระเกะระกะหรือมีของแข็งทรงป่องวางบนพื้น ปรับสภาพให้ปลอดภัยโดยจัดการกับอันตรายแฝง (hazards) เหล่านี้ ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
  • แสงสว่างไม่พอ ก็ให้ติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน เหมาะสมกับสภาพงานหมายความว่า ค่าส่องสว่างที่มองเห็นสภาพการทำงานได้ชัดเจน หากต้องการเป็นข้อมูลเชิงวิชาการ จะอ้างอิง ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ก็ได้
  • พื้นที่คับแคบ พื้นที่คับแคบในบางสภาพการทำงานสามารถปรับแก้ได้ ตัวอย่างเช่นหากประเมินความเสี่ยงแล้ว สามารถถอดรั้วแข็งออกเป็นการชั่วคราวได้ก็ให้ถอดออกก่อน และประกอบกลับหลังจากงานแล้วเสร็จ
  • บรรยากาศร้อนอบอ้าว มีฝุ่นควัน ให้พิจารณาปรับสภาพการทำงานโดยใช้พัดลมระบายอากาศ
  • พื้นทำงานต่างระดับ ผู้ปฏิบัติงานอาจตกลงไปด้านล่าง ก็ปรับสภาพโดยติดต้องรั้วแข็งกันตก เพิ่มการส่องสว่างเฉพาะจุดต่างระดับ ฯลฯ เป็นต้น


งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Telephone 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com


กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับไปยัง ตอนที่หนึ่ง การแบ่งประเภทผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังตอนที่สอง แนะนำความปลอดภัยผู้รับเหมาก่อนเริ่มงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังตอนที่สี่ เทคนิคตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 207 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2054 คน
23385 คน
905437 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong