Sangtakieng.com

contractor 's safety supervision and management
การกำกับดูแลและบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา
ตอนที่สี่ เทคนิคตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail.contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ 
e-mail. contact number : sangtakieng@gmail.com  093 7719222 


ตอนที่สี่ เทคนิคตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา
Contractor's Follow up Safety Audits
ความสัมพันธ์เชิงระบบเกี่ยวกับการกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา (System Approaching for Contractor’s Supervision and Management)   
 


ทำไมต้องตรวจติดตามความปลอดภัย ได้สิ่งใดจากกิจกรรมนี้, output คือผลขั้นปลายที่เกิดขึ้น ซึ่งผลขั้นปลายจะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงเงื่อนไขเริ่มต้น ซึ่งตกลงไว้กับผู้รับเหมา หรือในเชิงระบบเรียกว่า input และอีกประเด็นคือหลักจากผู้รับเหมาเข้ามาทำงานแล้ว การกำกับดูแลถูกต้อง ทำให้บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ 
เหตุผลที่ต้องตรวจติดตามความปลอดภัยและสิ่งที่ได้จากกิจกกรมดังกล่าว สรุปได้ดังต่อไปนี้เป็นขั้นต่ำ   
 
  • เพื่อให้ทราบถึง สถานะจริงด้านความปลอดภัยของหน่วยงาน การออกไปสังเกตและเก็บข้อมูลจริงจากการทำงานภาคสนาม จึงไม่ต้องคาดการณ์และหลีกเลี่ยงคำว่า คิดว่า น่าจะ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลจริงที่พบ เรื่องใดแก้ได้เลย ก็ให้ดำเนินการแก้ไขทันที (immediately action) ข้อมูลใดที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ก็ให้นำบันทึกมาคิดวิเคราะห์ วางแผนเพื่อดำเนินการแก้ไข ส่วนข้อมูลใดที่ยังสรุปไม่ได้ว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับหลักการทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ก็จะได้นำมาเรียนรู้และหาข้อสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไร เป็นลำดับถัดไป    

การนำข้อมูลจริง ไม่ได้เดาสุ่มมาควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ จึงเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ ตรงเป้าหมายและประสบผลสำเร็จได้จริง

 
  • เพื่อค้นหาสภาพที่ไม่ปลอดภัยและการกระทำของคนที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังอุบัติการณ์ให้ต่ำกว่าระดับ near miss ภาพประกอบจากเว็ปไซด์ kpa.io     

   


ทำไมจึงต้องควบคุม ตรวจติดตามความปลอดภัยและเฝ้าระวังให้อุบัติเหตุต่ำกว่าระดับเฉียดหรือระดับเกือบเกิดอุบัติเหตุ Near Miss
 
คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำจำกัดความ
 
  • unsafe behaviors, unsafe condition การกระทำของคนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน การกระทำที่ไม่ปลอดภัย, สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
  • near miss เหตุการณ์เสียวเกือบเกิดอุบัติเหตุ
  • work injuries & medical treatment injury บาดเจ็บจากการทำงาน, บาดเจ็บถึงขั้นบำบัดทางการแพทย์
  • lost time injury บาดเจ็บต้องหยุดงานหนึ่งวันหรือหนึ่งกะทำงาน
  • near miss fatality & fatality สูญเสียอวัยวะ ทุพลภาพหรือตาย    

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ  
 
จากการศึกษาระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ พบว่าการกระทำที่ไม่ปลอดภัยที่ต่ำกว่ามาตรฐานของคนและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หากไม่ถูกตรวจพบและควบคุมเสียก่อน ก็อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในระดับที่รุนแรงขึ้น    
 
  • การกระทำของคนที่ต่ำกว่ามาตรฐานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ทุก ๓๐,๐๐๐ ครั้งจะส่งผลให้มีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้นถึงระดับเกือบเกิดอุบัติเหตุหรือ near miss ถึง ๓,๐๐๐ ครั้ง
  • ความรุนแรงอุบัติเหตุ ระดับเกือบเกิดอุบัติเหตุ : ต่อระดับบาดเจ็บจากการทำงานหรือบาดเจ็บถึงขั้นบำบัดทางการแพทย์ : ต่อระดับหยุดการทำงาน : ต่อระดับสูญเสียอวัยวะ ทุพลภาพหรือตาย สัดส่วน =,๐๐๐ : ๓๐๐ : ๓๐

    


ประเภทของการตรวจติดตามความปลอดภัย
 
  • ตรวจติดตามเอกสารระบบปฏิบัติงาน system audits
  • ตรวจติดตามการนำระบบมาใช้ และความสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบ compliance audits
  • ตรวจติดตามระเบียบปฏิบัติ กลุ่มงานเสี่ยงอันตรายสูง critical procedure audits
  • ตรวจติดตามพฤติกรรมการทำงานของคน safe act observations (SAO) หรือ behavioral audits
  • ตรวจติดตามความปลอดภัยเฉพาะเรื่อง focused audits
  • ตรวจติดตามสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน house keeping audits     

System Audits ตรวจติดตามเอกสารระบบปฏิบัติงาน
เอกสารระบบปฏิบัติงานจะแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ หนึ่ง-เอกสารระบบปฏิบัติงานจากภายนอก ตัวอย่างเช่นกฎหมายประเทศ มาตรฐานสากล ระเบียบปฏิบัติจากบริษัทแม่ ฯลฯ และ สอง-เอกสารระบบปฏิบัติงานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการภายในบริษัท   
 
  • เอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานจากภายนอก (external supporting documents) เอกสารกลุ่มนี้ ส่วนหนึ่งจะนำมาใช้โดยตรงเช่น กฎหมายประเทศ หมายความว่าให้พิจารณาว่ากระบวนการทำงานของบริษัท ต้องนำกฎหมายฉบับใดมาใช้บ้าง ซึ่งเมื่อพิจารณาเทียบเคียงแล้วว่าต้องใช้กฎหมายฉบับใดบ้าง บริษัทต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายฉบับนั้นๆ ตัวอย่างเช่น    
 

มีเครนเหนือศีรษะ (ปั้นจั่น) ใช้งานในบริษัท บริษัทก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง กำหนดการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำ พุทธศักราช ๒๕๕๒ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  

อีกส่วนหนึ่งของเอกสารสนับสนุนกายนอก จะนำเข้ามาใช้เพื่ออ้างอิงข้อมูลและนำข้อมูลนั้นมาสนับสนุนการปฏิบัติงานของบริษัท เช่นเอกสารของบริษัทแม่ เอกสารมาตรฐานสากลเช่น JIS ญี่ปุ่น, DIN เยอรมัน, EC มาตรฐานยุโรป ฯลฯ เป็นต้น  

 
  • เอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานภายในบริษัท (internal supporting documents) เนื่องจากกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน บริษัทจะจัดทำขึ้นให้ตรงกับกระบวนการทำงาน และใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานภายในบริษัท ตัวอย่างเช่น ระเบียบปฏิบัติ-การตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ, ระเบียบปฏิบัติ-งานปฏิบัติการที่อับอากาศ, ระเบียบปฏิบัติ-การทำงานบนที่สูงและที่ต่างระดับ ฯลฯ     

การตรวจติดตามความปลอดภัย system safety ปกติจะไม่ใช้ตรวจฯ ผู้รับเหมา เนื่องจากผู้รับเหมาไม่ได้เป็นผู้ศึกษากระบวนการทำงานว่าต้องจัดทำระเบียบปฏิบัติใดบ้าง แต่ให้ตรวจว่า ผู้รับเหมานำระบบหรือเอกสารสนับสนุนปฏิบัติงานมาใช้หรือไม่ หากไม่นำมาใช้ก็ต้องตรวจสอบต่อ ว่าเป็นที่เหตุใด เป็นที่ input, processing หรือว่าข้อจำกัดใด จากนั้นให้ดำเนินการแก้ไข, อย่างไรก็ตาม การตรวจติดตามความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบ มักจะทำควบคู่กับการตรวจติดตามฯ ความสอดคล้องการใช้ระบบ  compliance audits ทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง  

 

Compliance Audits ตรวจติดตามการนำระบบมาใช้ และความสอดคล้องตามข้อกำหนดของระบบ
ดังที่กล่าวข้างต้น ระบบหมายถึงเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีสองส่วนคือเอกสารสนับสนุนภายนอกและเอกสารสนับสนุนภายใน หลักการตรวจคือตรวจการทำงานจริงภาคสนามเปรียบเทียบความสอดคล้องกับข้อกำหนดของเอกสาร   
 
      
 
การตรวจติดตามความปลอดภัยลักษณะนี้ เริ่มจากการพิจารณาว่า บริษัทต้องนำเอกสารสนับสนุนปฏิบัติงานฉบับใดมาใช้บ้าง ซึ่งปกติแต่ละบริษัทจะต้องใช้หลายฉบับ จากนั้นก็จัดลำดับว่าต้องตรวจติดตามฯ ความสอดคล้องเรื่องใดบ้าง หลังตรวจติดตามฯ ให้นำเฉพาะเรื่องที่พบว่าไม่สอดคล้องมาทวนสอบ ทวนสอบว่าเป็นเพราะส่วนใดของเชิงระบบ เป็นที่ input ไม่ดีหรือ processing ไม่ดี จากนั้นให้ดำเนินการแก้ไขและกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ    

 

Critical Procedure Audits ตรวจติดตามระเบียบปฏิบัติ งานเสี่ยงอันตรายสูง   
 
ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องแรก ว่าโดยพื้นฐานงานปฏิบัติการอุตสาหกรรมบนพื้นดิน จะกำหนดงานเสี่ยงอันตายสูงไว้เจ็ดประเภทคือ งานความร้อนและประกายไฟ ปฏิบัติการที่อับอากาศ ทำงานบนที่สูง ปฏิบัติการงานนั่งร้าน งานไฟฟ้าแรงสูง งานขุดเจาะพื้นในเขตโรงงาน และงานขนย้ายโดยใช้จักกลเคลื่อนที่ สำหรับกลุ่มงานอื่นๆ บริษัทสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ ตามความจำเป็นของกระบวนการธุรกิจ
สำหรับการตรวจติดตามความปลอดภัยลักษณะนี้ ในทางปฏิบัติก็คล้ายกับการตรวจควบซ้อนในสองเรื่อง หมายถึงตรวจระบบเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานบวกรวมกับตรวจความสอดคล้องไว้ด้วยกัน เพียงแต่เป้าหมายจะเป็นเฉพาะงานเสี่ยงอันตรายสูงเท่านั้น งานเสี่ยงอันตรายสูงอาจมีคำนิยามจากหลายองค์กรวิชาการ, ณ ที่นี้ งานเสี่ยงอันตรายสูงให้พิจารณาจากสององค์ประกอบร่วมคือ () โอกาสเกิดอุบัติเหตุและ () ผลกระทบที่อาจตามมา likelihood + consequence (reference AS 4360)  
 
  • บริษัท จัดทำหรือจัดให้มีระเบียบปฏิบัติ-กลุ่มงานเสี่ยงอันตรายสูงหรือไม่
  • หากมี ได้นำมาปฏิบัติตามข้อกำหนดได้หรือเปล่า   
 
      
 
บันทึกเพิ่มเติม : ความแตกต่างระหว่างงานทั่วๆ ไป กับงานเสี่ยงอันตรายสูงคือระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุ หากประเมินลงไปในรายละเอียด จะพบว่ากลุ่มงานเสี่ยงอันตรายสูงหากเกิดเหตุมักจะส่งผลกระทบระดับสูญเสียอวัยวะ ทุพลภาพหรือตาย ฉะนั้น การตรวจติดตามด้านความปลอดภัยต้องได้คุณภาพและมีความถี่เหมาะสม   

Safe Act Observations-SAO หรือ Behavioral Audits ตรวจติดตามพฤติกรรมการทำงานของคน
 
พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของคน เป็นสัดส่วนที่ทำให้เกิดอุบัติได้มากที่สุด ทฤษฎีการสูญเสียของ แฟรงค์อีเบิร์ดและเจอร์เมน (loss causation model : Frank E.Bird and Germain) มองว่าพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยของคนเป็นสาเหตุตรงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แต่จะมีสาเหตุนำ มาจากความหย่อนยานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย เกิดมาก่อน ฉะนั้นหากตรวจติดตามและพบความผิดปกติ ให้มองย้อนไปถึงต้นทาง เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยด้วย   
พฤติกรรมของคนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ตัวอย่างเช่น  
  • ไม่ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคล หรือใช้แต่ผิดวิธี
  • แต่งตัวรุ่มร่าม
  • ยืนทำงานในพื้นที่ซึ่งอาจพลัดตกหรืออาจโดนบาด ตัด หนีบ ทิ่มแทง บีบอัดจากเครื่องจักรโรงงาน
  • ซ่อม สร้าง กู้สภาพหรือแปลงสภาพเครื่องจักร โดยไม่ขออนุญาตทำงานหรือไม่ปิดกั้น ควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • ไม่ปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำ ฯลฯ
  • ไม่ตรวจสภาพขั้นต้นก่อนใช้งานเครื่องมือ
  • ใช้เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกลที่บกพร่องสภาพไม่พร้อมใช้งาน
  • ใช้สารเคมีโดยไม่มีเอกสารความปลอดภัย (MSDS or SDS) ฯลฯ

Focused Audits ตรวจติดตามความปลอดภัยเฉพาะเรื่อง
 
การตรวจติดตามความปลอดภัยเฉพาะเรื่อง มีเจตนารมณ์ใช้ตรวจติดตามฯ เพื่อตอบสนองในสองเงื่อนไข   
  • เพื่อติดตามความปลอดภัยสำหรับเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกล อุปกรณ์ วัตถุดิบหรือกระบวนการทำงานที่เพิ่งเริ่มต้น, การตรวจติดตามแบบเฉพาะเรื่อง จะเป็นการเฟ้นหาข้อมูล ที่ต้องนำมาปรับใช้หรือพัฒนากระทั่ง มั่นใจว่ามาตรการป้องกันอุบัติเหตุสามารถควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น

ตรวจติดตามการใช้รถกระเช้า ซึ่งเพิ่งนำเข้ามาใช้งานในบริษัทเป็นสัปดาห์แรก

ตรวจติดตามการทำงานพื้นที่เครื่องจักรหลังจากติดตั้งระบบ interlock guard

  • ตรวจติดตามเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องมือกล อุปกรณ์ วัตถุดิบหรือกระบวนการทำงานที่เกิดอุบัติเหตุซ้ำๆ หรือต้องการพัฒนาด้านความปลอดภัยเน้นเฉพาะเรื่อง ตัวอย่างเช่น 

ตรวจติดตามการใช้งานโฟร์ค-ลิฟท์

ตรวจติดตามการใช้เครื่องเชื่อมตัดก๊าซ oxy-acetylene

ตรวจติดตามการใช้การทำงานที่เกี่ยวกับงานความร้อนและประกายไฟ ฯลฯ


House Keeping Audits ตรวจติดตามสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน
 
การตรวจติดตามความปลอดภัยลักษณะนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อให้พื้นที่และสภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย ซึ่งมักตรวจติดตามในเรื่องดังต่อไปนี้   
 
  • ความสะอาด ความเป็นระเบียบพื้นที่
  • จัดเก็บของถูกที่ ตรงตามป้ายที่ระบุหรือตามผังที่กำหนดไว้
  • จัดเก็บเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ปลอดภัย เช่นไม่เก็บวัสดุไวไฟไว้ในพื้นที่งานเชื่อมไฟฟ้าหรือเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งอาจเกิดความร้อนหรือประกายไฟ
  • จัดเก็บของง่ายและสะดวกเมื่อต้องการนำออกมาใช้
  • ของที่ขนย้ายด้วยแรงคน จัดเก็บได้ตามหลักการเออร์กอนโอมิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

การจัดการ เพื่อตรวจติดตามความปลอดภัยผู้รับเหมา
 
เนื่องจากผู้รับเหมามีขอบเขตและเงื่อนไขการทำงานที่ต่างกัน การตรวจติดตามความปลอดภัยแม้จะมีหลักการเหมือนกัน แต่วิธีการก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งแนะนำดังนี้   
 
  • ผู้รับเหมาลักษณะที่หนึ่ง (first tier contractor) เป็นผู้รับเหมาที่มีลักษณะการทำงานคล้ายพนักงาน การตรวจติดตามความปลอดภัยก็ให้ทำรวมๆ พร้อมกับพนักงานของบริษัท ไม่ต้องแยกการตรวจติดตาม
  • ผู้รับเหมาลักษณะที่สอง (second tier contractor) ซึ่งปกติจะสั่งงานผ่านหัวหน้างานของผู้รับเหมา ในกรณีหัวหน้างานของผู้รับเหมามาทำงานในพื้นที่ของบริษัทผู้ว่าจ้างมีหลายคน ก็ให้หมุนวนเพื่อร่วมตรวจติดตามร่วมกับคนของบริษัทผู้ว่าจ้าง
  • ผู้รับเหมาลักษณะที่สาม (third tier contractor) ผู้รับเหมาลักษณะนี้ทำงานแยกพื้นที่ออกจากบริษัทผู้ว่าจ้าง การประสานงานก็เป็นลักษณะตัวแทนบริษัทกับตัวแทนบริษัท (company to company) ฉะนั้นการตรวจติดตามความปลอดภัยจะให้บริษัทผู้รับเหมาทำกันเอง บริษัทผู้ว่าจ้างขอรับทราบแผนตรวจติดตามฯ และบันทึกผลการตรวจติดตาม ก็ถือว่าเพียงพอ   
 

จะอย่างไรก็ตาม หากบริษัทผู้ว่าจ้างจะให้ตัวแทนของบริษัทไปร่วมตรวจติดตามความปลอดภัยเป็นครั้งคราว ก็สามารถทำได้

 
      
 
จะเห็นได้ว่า การตรวจติดตามความปลอดภัย เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำกับดูแลและบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับผู้รับเหมา เนื่องจากทำให้ทราบว่าการทำงานของผู้รับเหมาตรงกับเงื่อนไขที่ตกลงไว้ก่อนว่าจ้างหรือไม่ และต้องไม่ลืมว่าข้อบกพร่องจากการตรวจติดตาม ต้องนำไปแก้ไขให้ครบทั้ง ๔ องค์ประกอบดังที่กล่าวแล้วข้างต้น คือพิจารณาแก้ไขที่ระบบ-คน- เครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุ วัตถุดิบและพื้นที่ทำงาน ไม่เช่นนั้นข้อบกพร่องเก่าๆ ก็จะวนกลับมาซ้ำเดิมจนยากควบคุมอุบัติเหตุ ฉะนั้นการใช้เครื่องมือที่กำลังกล่าวถึงนี้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นและต้องทำ  
 
งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Telephone 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com  

 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับไปยัง ตอนที่หนึ่ง การแบ่งประเภทผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่สอง แนะนำความปลอดภัยผู้รับเหมาก่อนเริ่มงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ไปยังตอนที่สาม การกำกับดูแลและบริหารจัดการผู้รับเหมา : คลิ๊กตรงนี้ 
 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 14 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3296 คน
55442 คน
937494 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong