|
|
| hot work safety-general engineering knowledge | ความปลอดภัยงานความร้อนประกายไฟ | ตอนที่ ๑ ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไปงานความร้อนประกายไฟ | | งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 | | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 |
ข้อมูลที่จะนำเสนอทั้งหมดมีสามตอน | - ตอนที่ ๑ ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป : นำเสนอหน้านี้ด้านล่าง
- ตอนที่ ๒ การป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุงานความร้อนประกายไฟ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
- ตอนที่ ๓ แผนฉุกเฉินและแผนช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
|
ขอบเขตของเอกสารและหัวข้อที่นำเสนอ | ขอบเขตของเอกสาร
เพื่อแนะนำวิธีป้องกันควบคุมอุบัติเหตุจากงานความร้อนและประกายไฟในพื้นที่ซึ่งไม่ได้ออกแบบให้ทำงานความร้อนประกายไฟ
(hot
work at a temporary hot work site ) และไม่รวมงานปฏิบัติการที่อับอากาศ
ทั้งนี้เนื่องจากงานปฏิบัติการที่อับอากาศมีลักษณะจำเพาะ
จึงแนะนำให้ศึกษาเรียนรู้พร้อมกับกลุ่มวิชานั้น จะสะดวกและง่ายกว่า
หัวข้อที่นำเสนอมีดังนี้
|
๑.
ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป | - ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซติดไฟได้
- ออกซิเจน
- การส่งถ่ายความร้อนและการกระเด็นของสะเก็ดไฟ
| ๒.
การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุงานความร้อนประกายไฟ
| - หลักการ
วิธีคิดเพื่อป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ
- วิธีป้องกันควบคุมอุบัติเหตุและมาตรการเฝ้าระวังไฟ
- กรณีศึกษาอุบัติเหตุ
| ๓. ฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ |
|
งานปฏิบัติการอุตสาหกรรมภาคโรงงานและงานปฏิบัติการอุตสาหกรรมอื่นใด
ที่มีสถานประกอบกิจการอยู่บนพื้นดิน หมายถึงไม่รวมงานปฏิบัติการที่อยู่นอกฝั่งทะเล
เมื่อประเมินความเสียงและศึกษาตัวอย่างจากอุตสาหกรรมโลกสากล
พบว่าแบ่งลักษณะงานที่เสี่ยงอันตรายสูงออกเป็น ๗ ประเภท
| บันทึกเพิ่มเติม
:
เนื่องจากเงื่อนไขนี้ไม่ได้ถูกนิยามว่าเป็นงานเสี่ยงอันตรายสูงโดยกฎหมายหรือมาตรฐานสากลใด
เป็นแค่แนวปฏิบัติที่ถือปฏิบัติมากกว่า ๓ ทศวรรษ
ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมมาตรฐานสูง
ฉะนั้นสถานประกอบกิจการจะกำหนดเพิ่มประเภทงานเสี่ยงอันตรายสูง มากกว่านี้ก็ได้ | - งานความร้อนและประกายไฟ hot work safety
- การทำงานในที่อับอากาศ safe
access in confined spaces
- การทำงานบนที่สูง working
at heights
- งานปฏิบัติการนั่งร้าน (ผู้ติดตั้งรื้อถอนนั่งร้าน,
ผู้ตรวจนั่งร้านและผู้ปฏิบัติงานนั่งร้าน) scaffolding erector, scaffolding inspector
and safe access scaffolds
- การทำงานกับไฟฟ้าแรงสูง high voltage
- งานขุดเจาะ excavation-และ
- งานขนถ่ายโดยใช้จักรกลผ่อนแรง heavy
handling
|
๑. ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป | งานความร้อนและประกายไฟ
หมายความว่ากิจกรรมที่เกิดความร้อนหรือประกายไฟ ในระดับที่ทำให้สารติดไฟ
สามารถติดไฟหรือระเบิดได้ hot
work is any work using open flames or sources of heat that could ignite
materials in the work area. ตัวอย่างงานที่ทำให้เกิดความร้อน ประกายไฟ | งานเชื่อมไฟฟ้า electric arc welding งานที่ใช้หัวเผา ให้ความร้อนชิ้นงาน burning งานใช้ความร้อนประสานโลหะ brazing งานบัดกรี soldering งานเชื่อมตัดโลหะด้วยก๊าซ oxy-acetylene
welding and cutting งานขัดผิวโลหะ grinding
ferrous metals
|
ฉะนั้นงานที่เป็นลักษณะดังนี้
ห้ามไม่ให้นำวัสดุไวไฟเข้าไปในพื้นที่ซึ่งออกแบบให้ทำงานความร้อนและประกายไฟ
กรณีเป็นงานซ่อม สร้างหรือแปลงสภาพซึ่งอยู่นอกพื้นที่จำเพาะดังที่กล่าวถึง
ให้ขออนุญาตทำงาน (permit to work)
|
|
จากพื้นฐานเรียนรู้มี
๓ องค์ประกอบที่ทำให้ไฟไหม้หรือเกิดการระเบิด คือเชื้อเพลิง
ออกซิเจนและความร้อนหรือประกายไฟ
เอกสารฉบับนี้จะกล่าวทบทวนถึงเชื้อเพลิงและมุ่งเน้นที่การป้องกัน
ควบคุมความร้อนและประกายไฟ เป็นเรื่องหลัก, วัสดุติดไฟได้
สถานะทางกายภาพของเชื้อเพลิง อาจเป็นของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซก็ได้
สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา
National
Fire Protection Association : NFPA แบ่งเชื้อเพลิงตามลักษณะการติดไฟ
ออกเป็น ๔ ประเภท
| class A : เป็นไฟจากเชื้อเพลิงของแข็งทั่วไป เช่นไม้ ถ่าน ฟืน กระดาษ ขยะ ฯลฯ class
B : ไฟไหม้เชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซติดไฟ class
C : ไฟไหม้อุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้า class
D : ไฟไหม้โลหะที่ไวปฏิกิริยากับน้ำ
|
๑.๑
ทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซติดไฟได้
| (a)
ก๊าซอะเซทีลีนและคุณสมบัติทางกายภาพ | - กลิ่น
smell
:
รุนแรง
strong
- ความหนาแน่นเมื่อเทียบกับอากาศ
density
relative to air : 0.91 เท่าของอากาศ ความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศ
เมื่อรั่วไหลออกนอกระบบจะลอยตัวขึ้น
- ค่าความร้อน
heating
value mj/m3 :
58
- ความสามารถในการติดไฟ
degree
of flammability : ไวไฟ-สูงมาก
very
high
- ช่วงติดไฟ
flammable
rang : UEL-LEL= 2.5-100
| บันทึกเพิ่มเติม
:
UEL
upper explosive limit ค่าความเข้มข้นสูงสุดที่ทำให้ก๊าซนั้นติดไฟหรือระเบิดได้,
LEL
lower explosive limit ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ทำให้ก๊าซนั้นติดไฟหรือระเบิดได้
| - ส่วนผสมทางเคมี
composition
: 100% C2H2 (หนึ่งร้อยเปอร์เซนต์อะเซทีลีน)
|
|
(b)
ก๊าซธรรมชาติ
natural
gas
| คือก๊าซชีวภาพชนิดหนึ่ง
ที่เกิดจากการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ นับหลายล้านปี
ซากเหล่านี้แปรสภาพเป็นก๊าซและน้ำมันเนื่องจากความร้อน
ความกดดันของผิวโลกและสะสมอยู่ในชั้นเปลือกโลก เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
สูตรทางเคมี CnH2n+2 โดยทั่วไปจะประกอบด้วยมีเทน (methane,
CH4)
ตั้งแต่
๗๐ เปอร์เซนต์ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแหล่งนั้นๆ
| สารประกอบ
hydrocarbon ในก๊าซธรรมชาติ
| Methane CH4 Ethane
C2H6 Propane
C3H8 Butane
C4H10 Pentane
C5H12 Hexane
C6H14 CH2/N2/H2O/H2S
เป็นต้น
|
|
คุณสมบัติทางกายภาพของก๊าซธรรมชาติ
| - กลิ่น
smell
:
โดยปกติจะไม่มีกลิ่น
แต่จะเติมกลิ่นเข้าไปในกระบวนการผลิต ทั้งนี้หากรั่วไหลออกนอกระบบบรรจุ
จะได้มีกลิ่นให้ทราบว่ารั่วและอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คนจะได้ต่อต้านการหายใจเข้าไป
- ความหนาแน่นเมื่อเทียบกับอากาศ
density
relative to air : 0.62 เท่าของอากาศ ความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศ
เมื่อรั่วไหลออกนอกระบบจะลอยตัวขึ้น
- ค่าความร้อน
heating
value mj/m3 :
38
- ความสามารถในการติดไฟ
degree
of flammability : ติดไฟง่าย
high
- ช่วงติดไฟ
flammable
rang : UEL-LEL= 5.3-14 เปลี่ยนแปลงได้ตามค่าส่วนผสมทางเคมีของแต่ละแหล่งที่ขุดเจาะก๊าซขึ้นมา
- ส่วนผสมทางเคมี
composition
:
ส่วนผสมทางเคมีซึ่งเป็นองค์ประกอบกำหนดคุณสมบัติของก๊าซ
เปลี่ยนแปลงได้ตามแหล่งที่ขุดเจาะก๊าซขึ้นมา โดยทั่วไป
:
| 90.6%
methane /5.6%
ethane /1.0%
hydrocarbon /1.7%
CO2 และ /1.1% N2
|
(c)
ก๊าซหุงต้มและคุณสมบัติทางกายภาพ
| - กลิ่น smell
:
โดยปกติจะไม่มีกลิ่น
แต่จะเติมกลิ่นเข้าไปในกระบวนการผลิต ทั้งนี้หากรั่วไหลออกนอกระบบบรรจุ
จะได้มีกลิ่นให้ทราบว่ารั่วและอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คนจะได้ต่อต้านการหายใจเข้าไป
- ความหนาแน่นเมื่อเทียบกับอากาศ density
relative to air : 1.73 เท่าของอากาศ ความหนาแน่นมากกว่าอากาศ
เมื่อรั่วไหลออกนอกระบบจะลอยลงต่ำ
- ค่าความร้อน heating
value mj/m3 :
39
- ความสามารถในการติดไฟ degree
of flammability : ติดไฟง่าย
high
- ช่วงติดไฟ flammable
rang : UEL-LEL= 2-9 เปลี่ยนแปลงได้ตามค่าส่วนผสมทางเคมีของแต่ละแหล่งที่ขุดเจาะก๊าซขึ้นมา
- ส่วนผสมทางเคมี composition
:
55.0-64.2
% C3H8 และ 32.5-45.0
% C4H10
| บันทึกเพิ่มเติม
:
เนื่องจากแต่ละหน่วยงาน
อาจมีก๊าซติดไฟได้แตกต่างกันออกไปตามกระบวนการทำงาน
ฉะนั้นก่อนทำงานกับก๊าซติดไฟได้ให้ศึกษาข้อมูลดังตัวอย่างข้างต้นนี้ก่อน
ข้อมูลที่กล่าวถึงนี้ให้ค้นคว้าจากเอกสารความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ก็ได้ (MSDS-material
safety data sheet)
|
|
๑.๒
ออกซิเจน oxygen
|
ออกซิเจนที่อุณหภูมิบรรยากาศจะมีสถานภาพเป็นก๊าซ
มีส่วนประกอบในอากาศมากเป็นอันดับสองรองจากไนโตรเจน
ซึ่งในบรรยากาศจะมีออกซิเจน
๒๐.๙
เปอร์เซ็นต์และไนโตรเจน ๗๘.๐๘
เปอร์เซนต์,
ความหนาแน่นเป็น
(density
relative to air) ๑.๑
เท่าของอากาศ
ไม่ติดไฟแต่เป็นหนึ่งในสามขององค์ประกอบที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้หรือระเบิดได้
ออกซิเจนจะช่วยให้การติดไฟหรือการระเบิดรุนแรงขึ้นเมื่อ
| - ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
- ทำให้ความหนาแน่นสูงขึ้น
เช่นออกซิเจนบรรจุถังและรั่วออกในพื้นที่จำกัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสูงเกินระดับ ๒๓.๕
เปอร์เซนต์โดยปริมาณ
|
|
คุณสมบัติทางกายภาพ | - สี กลิ่น รส :
ในสภาวะปกติจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและไม่มีรส
- ความหนาแน่นเมื่อเทียบกับอากาศ density
relative to air : ๑.๑
เท่า ความหนาแน่นใกล้เคียงกับอากาศ เมื่อรั่วไหลออกนอกระบบจะลอยปนอยู่กับอากาศ
- ค่าความร้อนและความสามารถในการติดไฟ degree
of flammability : ไม่ติดไฟ
- หากลดอุณหภูมิลง -๑๘๒.๕
องศาเซนเซียส จะเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว มีสีฟ้าอ่อน (cryogenic
appearance : pale blue color)
- จุดเยือกแข็ง -๒๑๘.๔
องศาเซนเซียส จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งสีฟ้าอ่อน
|
๑.๓
การส่งถ่ายความร้อน heat transfer
| ความร้อนหรือประกายไฟ
ถูกส่งถ่ายไปสัมผัสสารติดไฟ
ได้อย่างไร-จะมีมาตรการป้องกันควบคุมไม่ให้ความร้อนหรือประกายไฟไปสัมผัสกับสารเชื้อเพลิงได้อย่างไร,
วิธีส่งถ่ายความร้อนและการเคลื่อนที่ของประกายไฟ
| - การนำความร้อน
- การพาความร้อน
- การแผ่รังสีความร้อน
- การกระเด็นและการตกของสะเก็ดไฟ
|
(a)
การนำความร้อน
heat
conduction
| คือปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนถ่ายเทภายในวัตถุหนึ่งๆ
หรือระหว่างวัตถุสองชิ้นที่สัมผัสกัน
โดยมีทิศทางของการเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
โดยที่ตัวกลางไม่มีการเคลื่อนที่หรือกล่าวคือการนำความร้อนเป็นลักษณะการถ่ายเทความร้อนผ่านโดยตรงจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งโดยการสัมผัสกัน
วัสดุใดจะนำความร้อนดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์การนำความร้อน |
(b)
การพาความร้อน
heat
convection
| การพาความร้อน
คือการส่งถ่ายความร้อนผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือก๊าซ
โดยที่ของเหลวหรือก๊าซที่ได้รับความร้อนจะเคลื่อนที่พาความร้อนไปด้วย
กล่าวคือเมื่อสสารได้รับความร้อนก็จะขยายตัว
ความหนาแน่นของอนุภาคลดลงและลอยตัวสูงขึ้น พร้อมกับพาความร้อนไปด้วย ส่วนของไหลที่ยังไม่ได้รับความร้อน
ความหนาแน่นของอนุภาคซึ่งมากกว่า จะเคลื่อนมาแทนที่เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จนสารนั้นได้รับความร้อนทั่วกัน เรียกว่าการพาความร้อน
|
(c)
การแผ่รังสีความร้อน
radiation
| การแผ่รังสี
เป็นการถ่ายเทความร้อนออกรอบตัวทุกทิศทาง โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
วัตถุที่อยู่โดยรอบจะมีความสามารถดูดกลืนความร้อนจากการแผ่รังสีได้ไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับสีและผิวของวัตถุ
ตัวอย่างเช่นวัตถุสีดำหรือสีเข้มจะดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุสีอ่อน, วัตถุผิวขรุขระดูดกลืนความร้อนได้ดีกว่าวัตถุผิวเรียบ ฯลฯ
เป็นต้น
|
(d)
การกระเด็นและการตกของสะเก็ดไฟ
| การกระเด็นหมายถึงทิศทางเคลื่อนที่ของประกายไฟหรือสะเก็ดไฟไปทิศทางโดยรอบ
บนล่าง ซ้ายขวา หน้าหลัง ส่วนการตกจะมีทิศทางตามแนวดิ่งเท่านั้น, การเคลื่อนที่ของประกายไฟ
สะเก็ดไฟจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ ๓ องค์ประกอบคือ | - เครื่องมือที่ใช้
ตัวอย่างเช่นการใช้หินเจียร์ ใช้เครื่องเชื่อมตัดก๊าซ ใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ฯลฯ
การเคลื่อนที่ของประกายไฟ สะเก็ดไฟในลักษณะการกระเด็น การตก ก็แตกต่างกัน
- พื้นที่ทำงานที่สูงบนเพลทฟอร์ม
ทำงานบนพื้น ทำงานในพื้นที่คับแคบ
- ทำงานในอาคาร
ทำงานนอกอาคารมีลมพัดเคลื่อนประกายไฟ สะเก็ดไฟลอยไปได้ไกลกว่าลมเงียบ ฯลฯ เป็นต้น
| งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com |
|
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
11 คน |
สถิติเมื่อวาน |
254 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3293 คน 55439 คน 937491 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |