Sangtakieng.com

 

 
hot work safety-hazard prevention
ความปลอดภัยงานความร้อนประกายไฟ
ตอนที่ ๒ การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุงานความร้อนประกายไฟ
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 
 

การป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุงานความร้อนประกายไฟ
 
๑. หลักการ วิธีคิดเพื่อป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ principles, idea to prevent accidents
 
สามองค์ประกอบที่ทำให้เกิดไฟไหม้คือเชื้อเพลิง ออกซิเจนและเชื้อเพลิง, หลักการและวิธีคิดเพื่อป้องกันควบคุมอุบัติเหตุก็คือไม่ให้สามองค์ประกอบที่กล่าวถึงนี้มาพบกัน ซึ่งโดยปกติจะไม่มุ่งเน้นไปควบคุมที่ออกซิเจน งานปฏิบัติการความร้อนประกายไฟจึงมีหลักคิดเพื่อป้องกันควบคุมอุบัติเหตุดังนี้  
 
  • แยกเชื้อเพลิงออกจากพื้นที่
  • ควบคุมเชื้อเพลิงไม่ให้เคลื่อนที่ไปสัมผัสความร้อนประกายไฟ
  • ควบคุมความร้อนประกายไฟไม่ให้เคลื่อนที่ไปสัมผัสกับเชื้อเพลิง
  • ลดอุณหภูมิงานความร้อนประกายไฟให้เหลืออุณหภูมิบรรยากาศหรือลดให้เหลือในระดับที่เชื้อเพลิงที่อยู่ในบริเวณทำงานติดไฟหรือระเบิดไม่ได้

กระบวนการทำงานหรือวิธีการทำงานที่ต่างกัน อันตรายที่อาจเกิดก็แตกต่างกัน ฉะนั้นมาตรการ ป้องกันควบคุมอุบัติเหตุก็ต่างกัน การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุอาจใช้เพียงวิธีการเดียวหรือหลายวิธีร่วมกันก็ได้


๒. การอนุญาตทำงาน permit to work
 
(a) หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ทำหน้าที่เฝ้าระวังไฟและช่างเทคนิคประจำพื้นที่ (job leader, fire watch man and authorized isolator) ร่วมทำสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อเตรียมจัดทำเอกสารขออนุญาตทำงาน ซึ่งต้องศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ
 
  • ลำดับการทำงานก่อนหลังโดยแบ่งเป็นขั้นตอนหลักและขั้นตอนย่อยๆ
  • อันตรายที่อาจเกิด การส่งถ่ายความร้อนในแต่ละขั้นตอนย่อยๆ ว่าส่งถ่ายได้โดยวิธีใดเช่น การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสี การกระเด็นหรือการตกของสะเก็ดไฟ ฯลฯ
  • อุปกรณ์ที่ต้องตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
  • ประเภทของเชื้อเพลิง ที่อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน A-B-C-D
  • วัสดุเชื้อเพลิงใดขนย้ายได้ วัสดุเชื้อเพลิงใดขนย้ายไม่ได้
  • มาตรการปิดคลุมวัสดุเชื้อเพลิงที่ขนย้ายไม่ได้และมาตรการปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน 

หลังจากนี้จะนำข้อมูลไปกำหนดมาตรการป้องกันควบคุมอันตรายและจัดทำเอกสารขออนุญาตทำงาน 


(b) หัวหน้ากลุ่มงาน ร่วมเตรียมเอกสารขออนุญาตทำงานกับผู้เฝ้าระวังไฟ, ยื่นขออนุญาตทำงานจากเจ้าของหน่วยงานหรือเจ้าของพื้นที่ (plant owner or area owner) หากงานต้องตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ ให้ร่วมกับช่างเทคนิคประจำพื้นที่ (authorized isolator) เพื่อดำเนินการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ

(c) เอกสารคู่มือคำแนะนำ (work instruction) ซึ่งเป็นเอกสารสำหรับแนบเพื่อขออนุญาตทำงาน ต้องจัดทำโดยใช้ข้อมูลจริงของหน่วยงานและข้อมูลที่ได้จากการทำสำรวจ แต่ขั้นต่ำต้องระบุให้ปฏิบัติในสิ่งดังต่อไปนี้ด้วย
 
  • วัสดุติดไฟได้ หากสามารถขนย้ายออกได้ ให้ขนย้ายออกนอกพื้นที่-ที่จะทำงาน  any unnecessary inflammable materials must be removed from the hot work site.
  • วัสดุติดไฟได้ ที่ขนย้ายออกไม่ได้ให้ปิดกั้น ปิดคลุมเพื่อป้องกันสัมผัสกับความร้อนและประกายไฟ  any inflammable materials that cannot be removed must be tightly protected with a fire-proof cover.
 

 


  • บ่อ ช่อง หลุม โพรง ให้ปิดกั้น ปิดคลุมเพื่อป้องกันไม่ให้สะเก็ดไฟหรือประกายไฟตกหรืออาจกระเด็นเข้าไป any openings in the structures must be protected with covers and any gaps must be sealed if a flame, splashes or sparks can spread into the structures through them.
  • อุปกรณ์จับควันไฟ ให้ปิดเป็นการชั่วคราว หลังงานแล้วเสร็จให้คืนระบบกลับระบบตามปกติ  any fire alarms and extinguishing systems based on smoke detection in the area where the smoke from hot work may spread shall be switched off to prevent false alarms, and they shall be switched back on as soon as possible.
  • กรณีมีสปริงเกอร์ดับเพลิง ไม่ต้องปิดระบบแต่ให้ปิดคลุมชุดหัวสเปรย์เป็นการชั่วคราว หลังงานแล้วเสร็จให้คืนสภาพดังเดิม sprinkler systems shall not be switched off, but if necessary the sprinkler nozzles shall be covered with a temporary cover, which is removed immediately after completion of work.
  • ถังดับเพลิงและวัสดุป้องกันไฟต้องพร้อมที่สถานที่ทำงาน ส่วนถังดับเพลิงมือถือต้องมีอย่างน้อย ๒ ถัง fire extinguishing and and shielding materials must be available at the site. The equipment shall nevertheless always include at least two portable extinguishers with standard fire rating.

(d) หัวหน้ากลุ่มงาน ประชุมกลุ่มย่อยกับผู้ปฏิบัติงานและผู้เฝ้าระวังไฟ (worker and fire watch men) และเริ่มปฏิบัติงาน
 

    


บันทึกเพิ่มเติม เงื่อนไขเคร่งครัดเกี่ยวกับการอนุญาตให้ทำงานความร้อนประกายไฟ
 
  • เจ้าของหน่วยงานหรือเจ้าของพื้นที่ ต้องกำกับดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานความร้อนประกายไฟ ปฏิบัติงานตามระเบียบปฏิบัติที่หน่วยงานกำหนด the person in charge of hot work safety, who maintains the hot work plan and sees to it that the orders of these safety guidelines can be implemented in practice.
  • การอนุญาตทำงาน ต้องลงนามอนุญาตโดยเจ้าของหน่วยงานหรือผู้ที่เจ้าของหน่วยงานมอบหมาย persons with the permission to grant hot work permits.
  • ผู้ปฏิบัติงานต้องได้เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น persons with the permission to perform hot work.
  • วัสดุป้องกันความร้อน ประกายไฟ สะเก็ดไฟและถังดับเพลิงแบบมือถือต้องพร้อม ก่อนเริ่มทำงาน the availability of shielding materials and none extinguishing equipment necessary in hot work.
  • ต้องมีผู้เฝ้าระวังไฟตลอดระยะเวลาปฏิบัติงานและหลังจากงานแล้วเสร็จ the organization of the hot work fire watch.
  • ให้ปฏิบัติตามระบบขออนุญาตทำงานและต้องพิจารณาให้ครอบคลุมเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ การเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงาน สิ่งที่ติดไฟได้หรือวัสดุที่อาจทำให้เกิดการระเบิด elements influencing the hot work safety arising from the policyholder’s production, premises, environment and other similar factors that need to be considered besides the issues presented in these safety guidelines.
  • รายละเอียดในเอกสารขออนุญาตทำงาน ต้องชี้บ่งอันตราย ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการควบคุมอันตรายก่อนอนุญาตทำงาน before granting the hot work permit, hazards caused by hot work must be identified and assessed at the hot work site.
  • ต้องระบุชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตทำงาน ผู้เฝ้าระวังไฟและทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยและเข้าใจขั้นตอนการทำงาน อันตรายที่อาจเกิดในแต่ละขั้นตอนการทำงานและมาตรการป้องกันควบคุมอันตรายก่อนเริ่มงาน in the hot work permit, the person granting the permit shall determine the safety precautions deemed necessary on the basis of the abovementioned assessment of hazards. Hot work may not be started until the worker and the hot work fire watchman have ensured that the security precautions determined in the hot work permit have been implemented. The hot work permit should specify the person granting the hot work permit, the persons performing the hot work and the hot work fire watch men.  

๓. การเฝ้าระวังไฟ fire watch
 
  • ผู้เฝ้าระวังไฟต้องเฝ้าระวังตลอดระยะเวลาที่งานความร้อนประกายไฟดำเนินการอยู่
  • หลังงานแล้วเสร็จให้เฝ้าระวังไฟต่อเนื่องอีก ๓๐ นาที และให้แจ้งหัวหน้ากลุ่มงานเพื่อทราบก่อนเลิกงาน

๔. คุณสมบัติผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง
 
  • ผู้อนุญาตและหัวหน้ากลุ่มงาน ต้องมี certificate ผ่านการฝึกอบรมและอบรมทบทวน (refresher training) ไม่เกิน ๒ ปี
  • ผู้ปฏิบัติงาน ต้องมี certificate ผ่านการฝึกอบรมและอบรมทบทวนเกี่ยวกับงานความร้อนประกายไฟไม่เกิน ๒ ปี สุขภาพประจำปีและสุขภาพก่อนเริ่มงานเป็นปกติ
  • ผู้เฝ้าระวังไฟ ต้องมี certificate ผ่านการฝึกอบรมและอบรมทบทวนเกี่ยวกับผู้เฝ้าระวังไฟไม่เกิน ๒ ปี สุขภาพประจำปีและสุขภาพก่อนเริ่มงานเป็นปกติ

. เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์
 
เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ให้แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มคือ เครื่องมือช่าง เครื่องมือกล & สายไฟต่อพ่วงและเครื่องจักร หากจำนำมาใช้ในงานปฏิบัติการต้องมีข้อกำหนดดังนี้
 
  • เครื่องมือช่าง (hang tools) หมายถึงเครื่องมือขั้นพื้นฐาน กลไกการทำงานไม่ซับซ้อนเช่น ตะไบ ค้อน ไขควง ประแจ คัทเตอร์ คีม ฯลฯ ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้
  • เครื่องมือกลและสายไฟฟ้าต่อพ่วง (power tools & portable electrical) หมายถึงเครื่องมือที่มีกลไกผ่อนแรงหรือมีต้นกำลังขับเคลื่อน ตัวอย่างเช่น สว่านมือ สว่านที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือลม หินเจียร์ รอกสาวมือ รอกไฟฟ้า สายไฟฟ้าต่อพ่วงต่างๆ ฯลฯ ต้องตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้และมีบันทึกการตรวจสภาพตามระยะเวลาโดยผู้ที่บริษัทมอบหมาย
  • เครื่องจักรหรือเครื่องมือกลที่เทียบเท่าเครื่องจักร (machines) ต้องตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้, มีบันทึกการตรวจซ่อมตามระยะเวลา (preventive maintenance) และมีการตรวจสภาพตามระยะเวลาโดยวิศวกร  

เครื่องมือ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใดที่มีข้อกำหนดตามกฎหมายเป็นการเฉพาะ ให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายนั้น  


กรณีตัวอย่างเครื่องเชื่อมตัดก๊าซ oxy-acetylene gas cutting and welding
 
เครื่องเชื่อมตัดก๊าซ oxy-acetylene ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน สำหรับกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงานด้วยก๊าซเชื้อเพลิงและก๊าซออกซิเจนซึ่งทำงานสัมพันธ์กันเป็นเชิงระบบ  
จึงถือได้ว่าเครื่องเชื่อมตัดก๊าซเป็นเครื่องมือกลที่เทียบเท่าเครื่องจักร ฉะนั้นการตรวจรักษาสภาพต้องทำเทียบเท่าเครื่องจักรคือ 
 
  • บังคับ (mandatory)-ต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้
  • บังคับ (mandatory)- ผ่านการตรวจซ่อมรักษาสภาพตามระยะเวลา
  • ทางเลือก จะทำหรือไม่ทำก็ได้ (optional)-ตรวจทดสอบหรือตรวจสภาพประจำปีโดยวิศวกร  
 
 

    


  • รหัสสีถัง : ถังบรรจุอะเซทีลีนต้องเป็นสีน้ำตาลและถังบรรจุออกซิเจนเป็นที่ดำ (acetylene bottle=brown, oxygen bottle=black)
  • ก๊าซใช้งานเชื่อมตัด : ก๊าซเชื้อเพลิงใช้ก๊าซอะเซทีลีนห้ามใช้ก๊าซแอลพีจี (LPG liquefied petroleum gas) เหตุผลหลักคือความหนาแน่นของอะเซทีลีนเบากว่าอากาศ ๐.๙๑ หากรั่วไหลออกนอกระบบ จะลอยตัวขึ้นด้านบนและถูกเจือจางด้วยอากาศในบรรยากาศ ค่าความเข้มข้นจะต่ำไม่ถึงค่าติดไฟ, ส่วนก๊าซแอลพีจี ความหนาแน่น ๑.๗๓ เท่าของอากาศ หากรั่วออกนอกระบบจะลอยต่ำและสะสมบนพื้น อากาศในบรรยากาศเข้ามาเจือจางได้ช้า จึงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้หรืออุบัติเหตุจากการระเบิด
  • วาล์วหัวถัง (หมายเลข ๑ ในภาพ) : หน้าทีปิดและเปิดนำก๊าซออกไปใช้งาน หากมองในภาพรวมของถังฯ วาล์วหัวถังเป็นอุปกรณ์ที่แข็งแรงน้อยที่สุด ฉะนั้นขณะขนย้ายหรือจัดเก็บต้องขันแน่นครอบปิดด้วยฝาครอบเสมอ
  • ชุดเรกกูเลเตอร์และเกจวัดความดัน (หมายเลข ๒ ในภาพ) : อุปกรณ์ส่วนนี้ถูกประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุดทำงาน เกจมีสองตัว-ตัวแรกจะเป็นเกจวัดความดันถัง หมายความว่าหลังจากเปิดวาล์วหัวถัง เกจจะรับความดันโดยตรงและแสดงค่าความดันถัง แต่เนื่องจากภายในถังมีความดันมากกว่าความดันใช้งานจึงต้องมีเรกกูเลเตอร์ ปรับความดันให้เหมาะสมกับการใช้งาน ความดันหลังจากปรับที่เรกกูเลเตอร์จะแสดงผลที่เกจด้านจ่ายก๊าซ
 
 

 


  • อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ : flashback arrestor หมายเลข ๓ ในภาพและ non-return valve หมายเลข ๕ ในภาพ : หนึ่งยูนิต ของเครื่องเชื่อมตัดก๊าซ จะใช้ทั้งหมด ๔ ตัว ที่ต้นสายใช้ flashback arrestor และที่ปลายสายจะใช้ non-return valve รวมสายอะเซทีลีนและสายออกซิเจนจะเท่ากับ ๔ ตัว
  • ท่อสายยาง hose (หมายเลข ๔ ในภาพ) : สีแดงเป็นรหัสท่อสายยางก๊าซเชื้อเพลิง อีกเส้นที่แพคไว้ด้วยกัน (สีฟ้า สีเขียวหรือดำ) เป็นท่อสายออกซิเจน การยึดสายเข้ากับอุปกรณ์ต้องแน่น ในทางวิศวกรรมความปลอดภัยต้องรับแรงดันได้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) จึงต้องใช้อุปกรณ์รัดท่อสายยางให้ถูกต้อง คือต้องเป็นแบบ hose clamping devices ไม่ใช้ jubilee clip
 
   

จากกรณีตัวอย่างเครื่องเชื่อมตัดก๊าซ จะเห็นได้ว่าหากประกอบอุปกรณ์ไม่ครบหรือใช้ก๊าซผิดประเภทเช่นไม่ใช้อะเซทีลีนแต่ใช้ก๊าซแอลพีจี ก็จะมีภาวะเสี่ยงในงานปฏิบัติการเพิ่มขึ้น ฉะนั้นเครื่องมือที่ใช้ทำงานกับงานความร้อนประกายไฟ จึงต้องได้มาตรฐานและต้องมีมาตรการยืนยันสภาพว่าพร้อมใช้งาน


งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com


กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๑ ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๓ แผนฉุกเฉินและแผนช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 111 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2165 คน
23496 คน
905548 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong