Sangtakieng.com

 

 
hot work safety-emergency rescue and treate of victim
ความปลอดภัยงานความร้อนและประกายไฟ
ตอนที่ ๓ แผนฉุกเฉินและแผนช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติ 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093 7719222 
 

แผนฉุกเฉิน ณ ที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่รองรับกับงานปฏิบัติการความร้อนประกายไฟเท่านั้น หมายความว่าจะกล่าวถึงเชิงปฏิบัติการว่าหากเกิดเหตุไฟไหม้หรือการระเบิด ทีมปฏิบัติการภาคสนามต้องปฏิบัติการอย่างไร
  • ปฏิบัติการด้วยผู้เฝ้าระวังไฟและทีมจากง่ายไปหายาก
  • เริ่มปฏิบัติภาวะฉุกเฉินด้วยทีม ด้วยเครื่องมือขั้นพื้นฐานและหากเหตุการณ์ขยายขึ้นเกินความสามารถ จะเชื่อมโยงไปสู่แผนหลักอย่างไร

วิธีคิด : ก่อนปฏิบัติการกับงานที่มีสภาวะเสี่ยงอันตรายสูงซึ่งหมายรวมถึงก่อนปฏิบัติงานความร้อนประกายไฟด้วย จะมีการขออนุญาตทำงานเพื่อป้องกันควบคุมอุบัติเหตุอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดตั้งแต่ต้น แต่กลุ่มงานเสี่ยงอันตรายสูงมีหลักการว่า หากมาตรการป้องกันควบคุมอุบัติเหตุเกิดผิดพลาดต้องมีแผนฉุกเฉินแผนช่วยเหลือผู้ประสบเหตุที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับ, แผนฉุกเฉินแค่ไหนถึงจะเหมาะสม
  • แผนมีเงื่อนไขมากซับซ้อนเกิน ก็จะเป็นอุปสรรค์ เมื่อไรจะได้เริ่มงานเพราะแผนต้องแล้วเสร็จก่อนเริ่มงาน
  • แผนเงื่อนไขน้อยง่ายเกินไป หากเกิดเหตุก็อาจขาดประสิทธิภาพ
  • การจัดทำแผนที่พอดี เหมาะสมจึงต้องศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงซ้ำๆ


 
  • ผู้เฝ้าระวังไฟหรือผู้เห็นเหตุการณ์ ทราบเหตุไฟไหม้ในพื้นที่ปฏิบัติงาน : เนื่องจากทำงานหรือทำหน้าที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ใครพบเห็นก่อนก็ต้องรีบแจ้งเหตุ ซึ่งผู้เฝ้าระวังไฟ ก็อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว จึงต้องรับทราบทันทีเช่นกัน
  • แจ้งเหตุและประสานทีมผู้ปฏิบัติงานช่วยสนับสนุนงานปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน : กรณีผู้ปฏิบัติงานมีมากกว่าหนึ่งคนหรือมีงานเป็นลักษณะกิจกรรมย่อยๆ ในพื้นที่เดียวกัน ก็ต้องแจ้งเหตุให้ทุกคนหยุดงานที่กำลังทำ ช่วยสนับสนุนและระงับเหตุก่อน
  • ประเมินว่าเป็นไฟเล็กหรือไฟใหญ่ : ไฟเล็กคือไฟที่ลุกบนพื้นงานไม่กว้างและการขยายวงไม่รวดเร็ว สามารถดับได้ด้วยถังดับเพลิงแบบมือถือไม่เกิน ๒ ถัง หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นไฟใหญ่
  • แจ้งหัวหน้างานและดำเนินการตามแผนไฟไหม้หลักของบริษัทฯ : ทุกสถานประกอบกิจการที่ถูกกฎหมาย จะมีแผนระงับอัคคีภัย (แผนดับเพลิง) และแผนอื่นๆ ตามลักษณะของกระบวนการทำงาน เป็นปฏิบัติการตอบโต้เป็นลำดับขั้น จากง่ายไปหายาก จากเบาไปหาหนัก  


 
สัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัวของผู้ประสบเหตุ
  • สัญญาณชีพ ประเมินตามลำดับเบาไปหาหนักดังนี้ : ระดับความรู้สึกตัว การหายใจ ชีพจร สภาพผิวหนังปลายมือปลายเท้า ม่านตา
  • ระดับความรู้สึกตัวผู้ประสบเหตุ : มีสี่ระดับคือ  

ระดับที่หนึ่ง รู้สึกตัวดี (alertness)

ระดับที่สอง หมดสติแต่มีปฏิกิริยาต่อเสียงพูด (verbal)

ระดับที่สาม หมดสติ ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงพูดแต่ตอบสนองต่อความเจ็บปวด (semi coma)

ระดับที่สี่ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (coma) 

 

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๑ ปรับพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังตอนที่ ๒ การป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้ 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 26 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3308 คน
55454 คน
937506 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong