|
|
๒
| lifting equipment operations-wire rope | ตอนที่สอง การใช้งานและการตรวจสภาพสลิงเหล็ก | | งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 | | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | อบรม สัมมนา ที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 | |
เหล็กสลิงเหล็ก คือมัดของเส้นลวดโลหะที่บิดเป็นเกลียวตีพันรอบแกนกลาง
สลิงเหล็กถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนและลดอุบัติเหตุจากการใช้โซ่เหล็ก
เนื่องจากจะพบปัญหาเรื่องการขาดของโซ่ที่ตำแหน่งข้อโซ่มากครั้ง
หลังจากทดลองใช้สลิงเหล็กและเก็บข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ พบว่าเส้นลวดขาดน้อยกว่าโซ่
ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของสลิงเหล็ก เส้นลวดจะไม่ขาดพร้อมกันทั้งหมด
เส้นลวดที่ยังไม่ขาดจะรับโหลดทดแทนได้อุบัติเหตุจึงลดลงและไม่พบในสลิงเหล็ก
เดิมลวดเหล็กที่ใช้ผลิตสลิงจะเป็นเหล็กคาร์บอนต่ำ (wrought
iron)
แต่ปัจจุบันได้พัฒนามาใช้ลวดเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กกล้าแทน | |
๑. โครงสร้างของสลิงและทิศทางการตีเกลียว
wire
rope structure
| | เส้นลวดเหล็กกล้าตีเกลียวเข้าด้วยกันเรียกว่ากลุ่มเกลียว
นำกลุ่มเกลียวมาตีเกลียวรอบแกนกลางจะได้สลิง (เส้นลวด=wire,
กลุ่มเกลียว=strand,
สลิงเหล็ก=wire
rope, แกนกลาง=core)
ส่วนการตีเกลียวสลิงจะมีสองแบบคือ lang
lay และ
regular
lay
|
| |
การตีเกลียวมี ๒ แบบ | | - lay lang lay คือการตีเกลียวที่มีทิศทางเดียวกันระหว่างกลุ่มเกลียวกับการตีเกลียวเข้าเป็นเส้นสลิง,
สลิงแลงเลย์เกลียวขวา
(right
lang lay) คือสลิงที่ตีเกลียวขวาเข้าเป็นกลุ่มเกลียว
และตีเกลียวขวาเข้าเป็นเส้นสลิง ส่วนสลิงแลงเลย์เกลียวซ้าย
(left lang lay) การตีเกลียวก็จะเป็นลักษณะตรงกันข้าม
หมายความว่าตีเกลียวซ้ายเข้าเป็นกลุ่มเกลียว และตีเกลียวซ้ายเข้าเป็นเส้นสลิงด้วย
เมื่อใช้งานจะอ่อนตัวได้ดี
- regular
lay ทิศทางการตีเกลียวจะสวนทางกันระหว่างกลุ่มเกลียวกับการตีเกลียวเข้าเป็นเส้นสลิง,
สลิงเรกกูลาร์เกลียวขวา
(right
regular
lay) คือสลิงที่ตีเกลียวซ้ายเข้าเป็นกลุ่มเกลียว
และตีเกลียวขวาเข้าเป็นเส้นสลิง
ส่วนสลิงเรกกูลาร์เลย์เกลียวซ้าย
(left regular lay) การตีเกลียวก็จะเป็นลักษณะตรงกันข้าม
หมายความว่าตีเกลียวขวาเข้าเป็นกลุ่มเกลียว และตีเกลียวซ้ายเข้าเป็นเส้นสลิง
เมื่อใช้งานจะคงสภาพได้ดี
|
แกนกลางของสลิงมี ๓ แบบ ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ | | - แกนกลางเส้นใยสังเคราะห์ (fiber
core
:
FC)
ในระยะเริ่มแรกแกนกลางเคยผลิตจากวัสดุที่เป็นเชือกธรรมชาติด้วย
คุณสมบัติของแกนกลางชนิดนี้มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ดูดซับความชื้น
ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี ทนกรดและทนกรดอ่อนและด่างอ่อนได้
สลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์เมื่อนำมาใช้งานจะอ่อนตัวได้ดี
- แกนกลางเส้นลวดตีกลุ่มเกลียว (wire
stand core
:
WSC)
ความยืดหยุ่นน้อยกว่าลวดสลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์แต่มากกว่าสลิงแกนกลางเหล็กลวดเส้นเดียว,
ทนอุณหภูมิได้มากกว่าลวดสลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์
น้อยกว่าสลิงแกนกลางเหล็กลวดเส้นเดียว, ความทนทานต่อการกระแทก
การบีบอัดมากกว่าได้มากกว่าลวดสลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์แต่น้อยกว่าสลิงแกนกลางเหล็กลวดเส้นเดียว
- แกนกลางเหล็กลวดเส้นเดียว (independent
wire rope core : IWRC) ทนอุณหภูมิได้มากกว่าลวดสลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์
มีความทนทานต่อการกระแทก
การบีบอัด คงสภาพเสียรูปยาก แต่ความยืดหยุ่นน้อยกว่าลวดสลิงแกนกลางเส้นใยสังเคราะห์
|
๒. การตรวจสภาพ wire rope inspection | | ตรวจการตรวจสภาพสลิงแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ
ดังที่กล่าวถึงแล้วข้างต้นคือตรวจตามระยะเวลา (inspection
interval) และการตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้
(daily
inspection) การตรวจสภาพตามระยะเวลาเป็นการตรวจสภาพแบบละเอียดจะใช้วิธีตรวจด้วยสายตา
(visual
inspections) ได้เป็นบางรายการเท่านั้น
ฉะนั้นในบางหัวข้องานต้องใช้เครื่องมือร่วมด้วยเช่น
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง ยาว การคอดกิ่ว การเสียรูป ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งในเชิงปฏิบัติการ
จะมีทีมเป็นผู้ร่วมทำงานและวิศวกรจะเป็นผู้ลงนามรับรองสภาพอุปกรณ์ฯ
ส่วนการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันโดยผู้ใช้จะตรวจสภาพด้วยสายตาเท่านั้น
เอกสารส่วนนี้จะเน้นให้คำแนะนำสำหรับการตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน
ตามรายละเอียดดังนี้ |
| |
| |
- broken wire เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียวขาด ๓ เส้นขึ้นไปในกลุ่มเกลียวเดียวกัน หรือขาด ๖ เส้นขึ้นไปในหลายกลุ่มเกลียวรวมกัน
- worn or abraded wire ลวดเส้นนอกสึกหนึ่งในสามของเส้นผ่าศูนย์กลาง
- wire rope reduce diameter เส้นผ่าศูนย์กลางของสลิงมีขนาดลดลง ๕ เปอร์เซนต์
- bird caging ถูกบดกระแทกแตกเกลียว
- core protrusion (shock loading) ช็อคโหลดทำให้ สลิงแตก มองเห็นแกนกลางหรือแกนกลางโผล่
- corrosion โดนสารเคมีกัดกร่อน
ตรวจสอบตรวจสภาพภายในสลิงไม่ได้
สำหรับภายนอกอาจเกิดสนิมหรือเป็นรอยตามดปรากฏให้เห็น
- cuts
or burn โดนบาดจากโลหะขอบคม
โดนความร้อนหรือเปลวไฟ สลิงแกนกลางไฟเบอร์
(fiber
core) ต้องไม่โดนอุณหภูมิสูงถึง
๙๓ °C
- kinks
หงิกงอหรือขมวดปม
| |
๓. โหลดชาร์ทของสลิงเหล็ก wire rope's load chart | | หนึ่งในองค์ความรู้ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความรู้ความสามารถของผู้ที่อนุญาตให้ใช้สลิงหรืออุปกรณ์ช่วยยกอื่นๆ
คือต้องอ่านตารางรับโหลด (load chart) ของสลิงได้
หากอ่านโหลดชาร์ทของสลิงเหล็กเราจะได้ความรู้ดังต่อไปนี้เป็นขั้นต่ำ | | - สามวิธียึดเกาะวัสดุและการนำวิธีการไปประยุกต์ใช้กับงานยึดเกาะโหลดในงานขนย้ายวัสดุด้วยเครน
- ทราบค่าสัมประสิทธิ์การยึดเกาะแต่ละแบบตามหลักการทางตรีโกณมิติ
- เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่าศูนย์กลางสลิงกับความสามารถในการรับโหลด
|
งานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
|
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
10 คน |
สถิติเมื่อวาน |
254 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3292 คน 55438 คน 937490 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |