อันตรายและข้อกำหนดความปลอดภัยงานนั่งร้าน
ลำดับนี้จะอธิบายลักษณะแจกแจงและนำเสนอในภาพกว้างก่อน ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ
องค์ประกอบความปลอดภัยและการกำกับดูแลความปลอดภัยงานนั่งร้านนั้น
จะกล่าวถึงเป็นลำดับถัดไป |
|
- ผู้เกี่ยวข้องงานนั่งร้านต้องมี certificate
ผู้ติดตั้งรื้อถอน
ผู้ตรวจนั่งร้านต้องมีประกาศนียบัตรผ่านการฝึกอบรมสองวันเป็นขั้นต่ำ
ซึ่งโครงสร้างการฝึกอบรม ต้องมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนาม
ส่วนผู้ใช้นั่งร้านต้องผ่านหลักสูตรหนึ่งวัน
|
แนวปฏิบัตินี้
สำหรับประเทศไทยอาจมีข้อจำกัดและเป็นอุปสรรค์มากพอควร
ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยหรือความล่าช้าของกฎหมายมีมากเกินไป
เมื่อไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย การพัฒนาบุคลากรจึงเป็นเพียงทางเลือก
ส่วนหนึ่งนายจ้างมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายสูญเปล่า หากเราศึกษาเชิงเปรียบเทียบ
กลับพบว่าหลายประเทศที่อุตสาหกรรมถูกพัฒนาและเจริญมากพอ
ได้นำหลักการทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม วิศวกรรมความปลอดภัย
การวิเคราะห์อันตรายหรือการประเมินความเสี่ยง ฯลฯ มาร่วมด้วยและจัดทำเป็นระเบียบฯ
ให้ปฏิบัติภายในบริษัท |
|
|
|
- ต้องใช้อุปกรณ์นั่งร้านและอุปกรณ์ส่วนควบที่ได้มาตรฐาน
อุปกรณ์นั่งร้านต้องมีตัวอักษรมาตรฐานมองเห็นได้ชัดเจน
ส่วนอุปกรณ์ส่วนควบอื่นเช่นบันได ก็ต้องใช้เป็นอุปกรณ์เฉพาะของนั่งร้านเท่านั้น
หากใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานประกอบติดตั้งร่วมเอาไว้ ก็จะส่งผลโดยตรงกับการรับโหลด
การส่งถ่ายโหลดและส่งผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมกับความปลอดภัยในการใช้นั่งร้าน
- ติดตั้งนั่งร้านต้องถูกต้องตามมาตรฐานกำหนด
สอดคล้องกับมาตรฐานการติดตั้ง BS EN 12811 เป็นต้น
- กิจกรรมงานนั่งร้าน
ต้องขออนุญาตทำงาน permit to work
|
|
|
- พื้นที่ใช้นั่งร้านเป็นเขตอันตราย
ต้องปิดกั้นควบคุมพื้นที่ โดยใช้สายแถบความปลอดภัย ธงริ้ว
รั้วแข็งหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกัน
ทั้งนี้ตามผลการวิเคราะห์ความปลอดภัยหรือการประเมินความเสี่ยง
- ผู้ติดตั้งรื้อถอนนั่งร้าน
ผู้ตรวจและผู้ใช้นั่งร้าน ต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
เหมาะสมตามลักษณะงานตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า
- อันตรายทั่วไป
ที่เกิดจากอุปกรณ์นั่งร้าน ตัวอย่างเช่น สะดุด ลื่นล้ม
พลัดตก
นั่งร้านโค่นล้ม ล้อนั่งร้านหัก
เดินกระแทกชนปลายท่อนั่งร้าน
วัสดุ อุปกรณ์บนนั่งร้านตกโดนคนด้านล่าง ฯลฯ
- อันตรายจากภาวะแวดล้อมที่นำนั่งร้านเข้าไปติดตั้งเพื่อใช้งาน
ตัวอย่างเช่นอาจได้รับอันตรายทางด้านกายภาพ อันตรายทางด้านเคมี
อันตรายทางด้านชีวภาพและอันตรายทางด้านเออร์กอนโอมิกส์ เป็นต้น
- ความเร็วลมเกิน ๔๕
กิโลเมตรต่อชั่วโมงห้ามทำงานบนที่สูงและห้ามทำงานบนนั่งร้านที่อยู่นอกอาคาร
- ห้ามทำงานบนนั่งร้านเมื่อพื้นนั่งร้านเปียก
ลื่นหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดชำรุด
- ห้ามใช้นั่งร้านที่ไม่แขวนป้ายแท๊กอนุญาตใช้นั่งร้าน
หรือแขวนแต่อายุป้ายแท๊กเกินเจ็ดวัน หรือป้ายแท๊กที่แขวนโดยผู้ที่ไม่มี certificate
ผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง
|
|