การรื้อถอนนั่งร้าน Scaffolding
Dismantle |
|
กิจกรรมงานรื้อถอนนั่งร้านจะมีขั้นตอนตรงกันข้ามกับงานติดตั้งนั่งร้าน
เพราะฉะนั้นอันตรายที่อาจเกิดจากกระบวนการทำงานจะคล้ายๆ กัน
พิจารณาความแตกต่างคือการติดตั้งนั่งร้านจะมุ่งเน้นควบคู่เรื่องมาตรฐานติดตั้งและความปลอดภัย
หากแต่การรื้อถอนเพื่อยกเลิกการใช้งานนั่งร้านนั้นมุ่งเน้นที่ความปลอดภัย |
|
|
|
งานรื้อถอนนั่งร้าน
ต้องมีมาตรการควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงานและมาตรการควบคุมของตกเป็นขั้นต่ำ
ในภาคงานอุตสาหกรรมสองมาตรการที่กล่าวถึงนี้
ต้องอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารขออนุญาตทำงาน permit
to work การรื้อถอนนั่งร้าน
อีกหนึ่งความสำคัญก็คือหลังจากการรื้อถอน ต้องแยกจัดแยกอุปกรณ์เป็นประเภท
หมายความว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันรวมไว้ด้วยกันและอุปกรณ์ต่างกัน
ให้จัดแยกออกจากกัน ตัวอย่างเช่นท่อที่มีความยาวเท่ากันเก็บไว้ด้วยกัน
แผ่นปูพื้นความยาวเท่ากัน แคลมป์ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน
แคลมป์ต่างประเภทแยกออกจากกัน ฯลฯ เป็นต้น |
|
สรุปวิธีติดตั้งและแนวปฏิบัติงานติดตั้งรื้อถอนนั่งร้านท่อประกอบ |
|
พื้นที่ใช้นั่งร้าน
กฎหมายกำหนดเป็นเขตอันตราย ฉะนั้นการติดตั้ง การใช้หรือรื้อถอน
ต้องปิดกั้นควบคุมพื้นที่ตามหลักเกณฑ์
วิธีการที่ถูกต้องและต้องสอดคล้องกับความต้องการทางด้านความปลอดภัยด้วย
วิธีติดตั้งนั่งร้านท่อประกอบ tubular scaffolds ที่กล่าวถึงในเอกสารส่วนนี้
จะยึดข้อมูลการติดตั้งตามข้อกำหนดของมาตรฐานอังกฤษ BS
EN
12811
ซึ่งจำกำหนดขนาดโครงสร้างนั่งร้าน
กว้าง ยาวและสูง ตามระดับโหลดใช้งาน |
นอกจากนี้ยังแนะนำใช้อุปกรณ์นั่งร้านให้ถูกต้อง
ตั้งแต่ล่างสุดถึงบนสุด ซ้ายสุดถึงขวาสุด
ซึ่งอุปกรณ์นั่งร้านต้องครอบคลุมตั้งแต่แผ่นรองฐานนั่งร้าน แผ่นรองตีนเสา เสา
คิ๊กเกอร์ตามแนวความยาว คิ๊กเกอร์ตามแนวความกว้าง คาน ตงหลัก ตงเสริม บันได
แผ่นปูพื้น โทย์บอร์ด รั้วกลาง รั้วบนและการใช้แคลมป์ต่างๆ |
|
|
|
เทคนิคการตรวจและอนุญาตใช้นั่งร้าน Inspection
and Tagging |
|
หลักการตรวจนั่งร้านไม่ว่านั่งร้านท่อประกอบ
นั่งร้านโครงสำเร็จรูปหรือนั่งร้านลิ่มล็อคจะคล้ายกัน
หากแต่เชิงเทคนิคและวิธีการจะต่างกัน
ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์และวิธีติดตั้งนั่งร้านแต่ละประเภทแตกต่างกัน
หากจะกล่าวโดยง่ายหมายถึงหลักการเหมือนกันแต่วิธีการจะแตกต่างกัน ความเหมือนประเด็นแรกคืองานนั่งร้านต้องตรวจอะไรบ้าง
การตรวจงานนั่งร้านต้องตรวจเป็นลำดับก่อนหลังโดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม
คือตรวจสภาพอุปกรณ์
ตรวจมาตรฐานติดตั้งเทียบกับข้อกำหนดและตรวจสอบการปิดกั้นควบคุมพื้นที่ซึ่งติดตั้ง
ใช้และรื้อถอนนั่งร้าน |
|
|
|
การตรวจและอนุญาตใช้นั่งร้าน Inspection
and Tagging |
|
ตรวจสภาพอุปกรณ์นั่งร้าน
เช่นแผ่นรองตีนเสา ท่อ ข้อต่อท่อ แผ่นปูพื้น- แคลมป์จับยึด บันได ฯลฯ
ต้องมีแผนตรวจสภาพเป็นช่วงเวลา
อุปกรณ์มีความถี่ใช้งานสูงก็ต้องตรวจสภาพด้วยความถี่มากขึ้น
อาจจะเป็นทุกหกเดือนหรือปีละหนึ่งครั้งก็ได้
ทั้งนี้ต้องให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้ ได้มาตรฐานและมีสภาพขณะนั้นเป็นปกติ
ในทางตรงกันข้ามหากอุปกรณ์ที่มีสภาพต่ำกว่ามาตรฐาน บกพร่อง
ชำรุดหรือมีตำหนิต้องถูกคัดแยกออกไป ไม่นำมาปะปนและถูกใช้งานในสถานประกอบกิจการ
จะอย่างไรก็ตามการตรวจสภาพอุปกรณ์ตามระยะเวลา ต้องใช้ร่วมกันทั้งวิธีตรวจด้วยสายตา
(visual
check) และอาจใช้เครื่องมือร่วมด้วย
ฉะนั้นจำเป็นต้องทำโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี
ภาคปฏิบัติและมีประสบการณ์งานนั่งร้านมากพอเท่านั้น |
|
- ตรวจมาตรฐานติดตั้งและความถูกต้องของการใช้อุปกรณ์-ตรวจมาตรฐานติดตั้งจากล่างขึ้นบน
ซ้ายไปขวาเพื่อยืนยันว่าใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้องและระยะติดตั้งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
|
- ใช้อุปกรณ์ถูกต้อง
ติดตั้งได้ระยะ-แผ่นรองฐาน
แผ่นรองตีนเสา เสานั่งร้าน เสาลอย กิ๊กเกอร์ตามแนวยาว กิ๊กเกอร์แนวกว้าง คาน
ตงหลัก ตงเสริม ค้ำยัน ท่อยึดกันนั่งร้านล้ม แผ่นพื้น โทว์บอร์ดกันของตก
รั้วกลางและรั้วบน
- ปลายท่อตามแนวดิ่ง
ตามแนวนอนและปลายท่อค้ำยันต้องโผล่เลยโครงสร้างไม่ต่ำกว่า ๒๐ เซนติเมตร
ปลายท่อยึดกันนั่งร้านล้มต้องเลยจุดยึด ไม่ต่ำกว่า ๒๐ เซนติเมตร
- ใช้แคลมป์ถูกประเภท
ใช้ถูกที่ ขันกวดแข็งแรง
- บันไดเอียงถูกองศา
ความสูงหกเมตรแรกอยู่นอกเฟรมหรือด้านในเฟรมก็ได้แต่ที่ระดับสูงกว่าหกเมตร
ต้องติดตั้งในเฟรมเท่านั้น
|
|
- ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ Area
Barricade-ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ซึ่งกำลังดำเนินการติดตั้ง
ตรวจสภาพ ใช้นั่งร้านหรือกำลังรื้อถอนนั่งร้าน
ถูกต้องตามการวิเคราะห์ความปลอดภัยหรือการประเมินความเสี่ยง
ซึ่งการปิดกั้นควบคุมพื้นที่ อาจใช้แถบกั้น ธงริ้ว รั้วแข็ง
แบริเออร์หรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้
|
|