Sangtakieng.com
status review for system developement
การทบทวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบ
 
งานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
e-mail : sangtakieng@gmail.com  mobile 093-7719222 
 

ความทั่วไป-ดังที่กล่าวถึงในเมนูข้างต้น การที่หน่วยงานของคุณจะประสบผลสำเร็จในการใช้โฟร์ค-ลิฟท์ในสถานประกอบการนั้น ต้องพิจารณาองค์รวมทั้ง 3 องค์ประกอบหลักนั่นคือ
 
  • ระบบปลอดภัย (Safety System)-หมายความว่าหน่วยงานต้องมีเอกสารบริหารจัดการด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างเป็นระบบ โครงสร้างของเอกสารต้องชัดเจน ตัวอย่างเช่นมีระเบียบปฏิบัติ มีคู่มือคำแนะนำ แบบฟอร์มตรวจสอบ ใบบันทึก ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเอกสารที่กล่าวถึงนี้ต้องนำไปปฏิบัติได้จริง, ต้องสอดคล้องกับกฏหมายที่เกี่ยวข้อง, ระบบฯ จัดทำให้มาตรฐานสูงกว่าข้อกำหนดของกฏหมายได้ แต่ต่ำกว่าไม่ได้ ทั้งนี้เอกสารของระบบฯ ต้องสนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้โฟร์ค-ลิฟท์ในสถานประกอบการได้จริง ดัชนีชี้วัดคือโฟร์ค-ลิฟท์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เกิดอุบัติเหตุ
  • บุคคลปลอดภัย (Personal Safety)-หมายความว่าพนักงานควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์ หรือผู้ที่ทำงานร่วมด้วย มีพฤติกรรมที่ปลอดภัย ซึ่งพฤติกรรรมฯ ที่กล่าวถึงนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ, การฝึกอบรมพัฒนาคนทั้งภาคทฤษฏีเชิงปฏิบัติการและภาคปฏิบัติ จึงเป็นเรื่องจำเป็น
  • โฟร์ค-ลิฟท์ อุปกรณ์ส่วนควบและพื้นที่ทำงานปลอดภัย (Forklift and Areas Attribution Safety)-หมายความว่าตัวโฟร์ค-ลิฟท์และอุปกรณ์ส่วนควบต้องได้มาตรฐานตามสภาพเดิมของบริษัทผู้ผลิต ไม่ดัดแปลงแก้ไข ซึ่งยังหมายรวมถึงการจัดสถานที่การทำงานของโฟร์ค-ลิฟท์ ให้มีสภาพที่ปลอดภัยด้วย

หัวข้อทบทวนสถานภาพการใช้โฟร์ค-ลิฟท์ในสถานประกอบการ
 
ประเมินความปลอดภัยในงานโฟร์ค-ลิฟท์ ของหน่วยงานคุณ โดยอ่านหัวข้อประเมินและให้แต้ม (1) เมื่อตรงกับความเป็นจริง, ให้แต้ม (0) เมื่อไม่ตรง
  1. หน่วยงาน มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับจักรกลหนักผ่อนแรงหรือเกี่ยวกับโฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่
  2. 2.มีคู่มือคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสอบตรวจสภาพหรือการใช้งานโฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่
  3. เอกสารสนับสนุน เมื่อพนักงานต้องการ, สามารถเข้าไปเปิดอ่านได้โดยสะดวกหรือไม่
  4. 4.เอกสารสนับสนุนฯ ตามข้อ (1) และข้อ (2) ถูกนำมาใช้จริงจัง ต่อเนื่องหรือไม่
  5. 5.พนักงาน ผ่านการตรวจสุขภาพทั่วไปและผ่านการสายตาก่อนอนุญาตให้ควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่
  6. 6.พนักงานควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์ ผ่านการฝึกอบรมทฤษฏีเชิงปฏิบัติการภาคห้องเรียน หรือไม่
  7. 7.พนักงานควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์ ผ่านการฝึกอบรมภาคสนาม ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงครบ 30 ชั่วโมงก่อนให้อนุญาตขับฯ หรือไม่
  8. 8.พนักงานควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์ที่มีอายุงานเกิน 3 ปี ได้รับการอบรมทบทวนเพื่อรักษาระดับความสามารถหรือไม่
  9. 9. พนักงานถูกเข้มงวดให้ใช้สายรัดลำตัวนิรภัย (Seal Belt) ขณะควบคุมโฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่, ผู้ไม่ใช้ถือว่าฝ่าฝืนร้ายแรงหรือไม่
  10. 10.พนักงานฯ ทราบหรือไม่ว่าโฟร์ค-ลิฟท์ต้องควบคุมความเร็วเท่าไร ขณะใช้งาน
  11. 11.ผู้ปฏิบัติงานร่วมในพื้นที่โฟร์ค-ลิฟท์ทำงาน ถูกกำหนดให้สวมทับด้วยแจ็คเก็ตสะท้อนแสงหรือไม่
  12. โฟร์ค-ลิฟท์ถูกตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันหรือไม่
  13. 13.โฟร์ค-ลิฟท์ที่ตรวจพบข้อบกพร่อง ถูกแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที และดำเนินการประสานเพื่อแก้ไขหรือไม่
  14. 14.ติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบบนแผงป้องกันของตก (หลังคา) หรือไม่ และสัญญาณดังกล่าวแสดงตลอดเวลาเมื่อรถฯ ทำงานหรือไม่
  15. 15.ตัวโฟร์ค-ลิฟท์ต้องเป็นสีโทนสว่าง หากสีเก่าคร่ำคร่าได้ถูกปรับปรุงให้ใหม่ดังเดิมหรือไม่
  16. 16.พื้นที่ซึ่งอนุญาตให้โฟร์ค-ลิฟท์ทำงาน มีป้ายห้าม ป้ายเตือนหรือป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการใช้โฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่
  17. 17.หน่วยงานได้มีการจัดการ พื้นที่ทำงานโฟร์ค-ลิฟท์ไว้ชัดเจนหรือไม่ ตัวอย่างเช่นขีดสีตีเส้นช่องวิ่ง, มีป้าย, รั้วแข็ง, กระจกโค้งที่มุมอับทึบ, ที่จอดหลังเลิกใช้งานประจำวัน ฯลฯ เป็นต้น
  18. 18.มีแผนตรวจซ่อมและปฏิบัติได้ตามตามแผนฯ หรือไม่
  19. 19.เมื่อปฏิบัติการ โหลดขึ้นลงวัสดุหรือชิ้นงานหรือสินค้า, พื้นที่ดังกล่าวถูกกำหนดเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตราย (Exclusion Zone) ควบคุมการเข้าพื้นที่หรือไม่
  20. มีการตรวจติดตามความปลอดภัย เกี่ยวกับโฟร์ค-ลิฟท์หรือไม่

           

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก การใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีตรวจสภาพโฟร์ค-ลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวัน : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีการลดภาวะเสี่ยงและวิธีควบคุมอันตรายในงานโฟร์ค-ลิฟท์ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนขนย้ายงานปฏิบัติการโฟร์ค-ลิฟท์ Handling Plan : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจติดตามความปลอดภัย Safety Audits : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีฝึกภาคสนาม ซ้อนวางชิ้นงานแบบซิกแซกสลับฟันปลา : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 87 คน
 สถิติเมื่อวาน 142 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1384 คน
57569 คน
939621 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong