Sangtakieng.com
wat phraborrommatat worraviharn. chainat
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ประวัติศาสตร์น่ารู้แห่งเมืองชัยนาท
รวบรวม เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง ronnarong sangtakieng
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : www.tatsuphan.net  www.thaitambon.com และข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุนี กรมศิลปากร

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เดิมมีนามว่าวัดพระธาตุและยังเรียกกันอีกนามหนึ่งว่าวัดหัวเมือง สร้างขึ้นครั้งขอมเรืองอำนาจอยู่แถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในองค์พระเจดีย์ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบพิธีพุทธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ น้ำหน้าวัดฯ จึงถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ด้วยและนำไปใช้ในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกแห่งหนึ่ง วัดพระบรมธาตุวรวิหารมีโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญดังนี้

  •  เจดีย์พระบรมธาตุ องค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้าง แต่มีตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตริย์แห่งอินเดีย ซึ่งได้ให้พระสงฆ์เดินทางมาเผยแผ่พระศาสนายังประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
  • พระวิหารเก้าห้อง สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับเจดีย์พระบรมธาตุ ภายในวิหารมีบ่อน้ำ มีน้ำออกมาตามธรรมชาติ อายุ ๗๐๐ กว่าปี ครั้งปี ๒๕๑๘ ทางวัดได้จัดสร้างพระประธานประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ลงรักปิดทองปางมารวิชัย หลวงพ่อเพชรจำลอง (องค์เดิมพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างไถ่เมืองชัยนาทคืนจากพระเจ้าอู่ทอง ขณะนี้กรมศิลปากรนำรักษาไว้)
  • พระอุโบสถ พระอุโบสถอยู่ทางด้านใต้ติดกับพระวิหาร เชื่อว่าสร้างพร้อมกับพระวิหาร มีร่องรอยการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปแบบสรรคบุรี โดยลงรักปิดทองขนาดใหญ่ปางมารวิชัย
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาทมุนี พิพิธพันธ์เป็นอาคาร ๒ ชั้น แบ่งพื้นที่จัดแสดงฯ ออกเป็นสามส่วน คือชั้นล่าง ชั้นบนและด้านนอกตัวอาคาร ชั้นล่างจัดแสดงเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของจังหวัด โบราณวัตถุที่จัดแสดงได้แก่เครื่องใช้ เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดีและพระพุทธรูปสมัยต่างๆ

            

อีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เช่นตู้พระธรรม เครื่องบริขารถมปัด ประติมากรรมและเครื่องถ้วยศิลปะสมัยลพบุรี ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา ศิลปะรัตนโกสินทร์และศิลปะจีน ด้านหน้านอกตัวอาคาร ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาเขียวประทับยืนศิลปะสมัยทวารวดีไว้ กรมศิลปากรได้ใช้ปูนปั้นส่วนบนที่ขาดหายขึ้นมาแทน โดยสร้างเป็นปางประทานอภัย ที่ฝ่าพระหัตถ์ขวามีรูปธรรมจักร, ส่วนด้านซ้ายอาคารพิพิธภัณฑ์ ห่างออกไปประมาณ ๑๐ เมตร มีอาคารหลังคาจั่วกึ่งถาวรอีกหลังหนึ่งชื่อว่า-พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน-ขนาดประมาณด้วยสายตา ๔ เมตรคูณ ๑๒ เมตรเห็นจะได้ เป็นที่แสดงของใช้และเครื่องมือประกอบอาชีพตามวิถีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างเช่นเครื่องมือจับสัตว์น้ำ กระต่ายขูดมะพร้าว กรรไกรปอกหมาก ตุ่มดินเผา เตารีดใช้ถ่าน ครกกระเดื่อง เกราะไม้ เกวียนขนข้าว ฯลฯ เป็นต้น

ชั้นบนฯ จัดแสดงพระพิมพ์ที่ได้จากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดี ตั้งแต่พระพิมพ์ศิลปะสมัยทวารวดี ศิลปะศรีวิชัย ศิลปะลพบุรี ศิลปะรัตนโกสินทร์ พระพิมพ์ไม้และพระพุทธรูปขนาดเล็ก พิพิธภัณฑ์ฯ จะเปิดให้เข้าชม วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ ถึง ๑๒.๐๐ น. และ ๑๓.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. หยุดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์

วัดบรมธาตุฯ อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๔ กิโลเมตร จากอำเภอเมืองชัยนาทใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ จนถึงสี่แยกตัดกับทางหลวงหมายเลข ๓๑๘๓ เลี้ยวซ้ายประมาณ ๑ กิโลเมตร หรือรถโดยสาประจำทางสายกรุงเทพฯ–วัดสิงห์ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๔๒ ๖๔๑๖, ๐๘ ๙๙๐๖ ๘๑๐๓

จังหวัดชัยนาท : ความเป็นมา

คำขวัญจังหวัด-หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

จังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสำคัญ ๓ สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำน้อย ทำให้เกิดภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของผู้คนมาแต่ครั้งพรรพกาล จากหลักฐานทางโบราณคดีสะท้อนให้เห็นว่าบริเวณนี้มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๒๕๐๐-๓๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีการพัฒนาเจริญสืบเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์, สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นขวาน หินขัด ชิ้นส่วนเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัด รวมทั้งเครื่องใช้สำหรับทำงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อตามรูปแบบของสังคมดั้งเดิมอีกด้วย

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อารยธรรมอินเดียได้เข้ามายังภูมิภาคแถบนี้ ชุมชนลุ่มน้ำที่กระจายอยู่ในพื้นที่ ได้พัฒนาทางวัฒนธรรมเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มบันทึกเรื่องราวด้วยตัวอักษร สร้างรูปเคารพและก่อสร้างศาสนสถาน ระบบสังคมและการดำรงชีพของผู้คนซับซ้อนมากขึ้น ปรากฏร่องรอยของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่นเมืองอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์, เมืองดงคอน อำเภอสรรค์ โบราณวัตถุที่พบส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวเนื่องกับศาสนา เช่นพระพุทธรูปศิลา พระพิมพ์และชิ้นส่วนธรรมจักร ตลอดจนแผ่นหินเจาะรูเพื่อใช้ตีให้มีเสียงกังวาน เรียกกันว่า-ระฆังหิน-และยังพบเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ อีกด้วย

ที่ตั้งของจังหวัดชัยนาทในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ ๒ เมืองคือเมืองสรรค์และเมืองชัยนาท มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวข้องกับเมืองทั้งสองนี้อยู่หลายฉบับ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึงพระสมเด็จพระนครินทราธิราช ทรงตั้งพระโอรส ๓ พระองค์ไปครองเมืองสำคัญ คือเจ้าอ้ายพระยาให้ครองเมืองสุพรรณ เจ้ายี่พระยาให้ครองเมืองสรรค์และเจ้าสามพระยาให้ครองเมืองชัยนาท

เมืองสรรค์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย อยู่ในเขตตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรค์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อยู่ในฐานะเมืองชั้นลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลาง-โบราณสถานที่ปรากฏภายในเมือง เช่นวัดพระยาแพรก วัดสองพี่น้องและวัดพระแก้วนอกเมือง ล้วนแล้วแต่สร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้นทั้งสิ้น ส่วนเมืองชัยนาทที่เจ้าสามพระยาได้ครองนั้น อยู่ที่ฝากตะวันตกของแม่น้ำน่าน ไม่ใช่เขตพื้นที่ของทุกวันนี้ โดยสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้รวบรวมชุมชนเมืองฝากตะวันตกของแม่น้ำน่านเข้ากับเมืองสรลวงสองแควซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้าม ตั้งเป็นเมืองพิษณุโลกขึ้น สำหรับเมืองชัยนาทในกาลปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำน้อยด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตก มีวัดพระบรมธาตุวรวิหารเป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองชัยนาทได้ย้ายมาตั้งทางฝากตะวันออกกระทั่งถึงกาลปัจจุบัน

ชัยนาท แปลตามศัพท์มีความหมายว่า ชัยชนะที่มีชื่อเสียงบันลือ เป็นเมืองเก่าแก่ซึ่งแต่เดิมตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า ตั้งเมืองหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย สร้างในสมัยพระยาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พศ. ๑๘๖๐–๑๘๗๙ จึงได้ชื่อว่าเมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ ครั้งกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา

ชัยนาทเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และเรื่องราวให้เล่าขานยาวนานมาแต่กาลก่อน ลุถึงปัจจุบันชัยนาทก็มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ที่มีฝีมือประณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยา มีตลาดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่างๆ อีกด้วย, ชัยนาทมีเนื้อที่ ๒,๔๖๙.๗๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น ๘ อำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมงและอำเภอเนินขาม

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานีและนครสวรรค์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรีและสุพรรณบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์และสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานีและสุพรรณบุรี

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก เสาะหามาเล่าค้นรื้อมาบอก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานแห่งความรัก : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เนเฟอติติ ราชินีแห่งไอยคุปต์-ราชินีผู้สาบสูญ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บันทึกวิถีคนกล้า บันทึกสืบ นาคะเสถียร : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู รู้จักดาบวิชัย รู้จักปรางค์กู่ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ตำนานรักนางนาก บางพระโขนง : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมแห่งล้านนา : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู สถาพร ศรีสัจจัง นักเขียนนักต่อสู้จากแดนใต้ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู เอลวิส เพรสลีย์ ราชาแห่งร็อคแอนด์โรล : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ปฏิบัติการ us navy seal นาทีสังหารผู้นำอัลเคด้า : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู พันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา วีระบุรุษบันนังสตา : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บ้านแพน ตลาดมีชีวิตบนวิถีคนลุ่มน้ำ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู ราชินีแบดมินตันลูกชาวบ้าน รัชนก อินทนนท์ : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู นครธม ศิลปเขมรแบบบายน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก : อ่านต่อคลิ๊กตรงนี้

 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 34 คน
 สถิติเมื่อวาน 120 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2801 คน
24132 คน
906184 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong