Sangtakieng.com

 

 

lockout tagout safety and permit to work system
วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบฯ
 
ตอนที่ห้า วิธีจัดทำ WI แนบเอกสารขออนุญาตทำงาน
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง 
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222

วิธีจัดทำเอกสารคู่มือคำแนะนำ Work Instruction
ย้อนเชื่อมโยงถึงเอกสารแนบในขั้นตอนที่สองของใบขออนุญาตเข้าทำงาน ซึ่งต้องมีเอกสารแนบสองส่วน คือ (1) คู่มือคำแนะนำและ (2) ใบรายการตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ วิธีเตรียมคู่มือคำแนะนำยังไม่ได้กล่าวถึง จึงจะอธิบายลงรายละเอียด ในลำดับนี้

ปรับฐานความเข้าใจก่อนเตรียมเอกสารคู่มือคำแนะนำ
ปรับฐานความเข้าใจลำดับที่หนึ่ง : ศาสตร์วิชาที่นำมา ใช้
ศาสตร์พื้นฐานที่นำมาประยุกต์ใช้และสร้างเป็นคู่มือคำแนะนำคือวิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial hygiene : recognize, evaluate, control measure) ซึ่งนำมาใช้ร่วมกับการชี้บ่งและระบุอันตราย การชี้บ่งและชี้บ่งอันตรายมีเครื่องมือหลายชนิด ตัวอย่างเช่น 
  • Check list
  • What if Analysis
  • HAZOP hazard and operability studies
  • FTA fault tree analysis
  • FMEA failure modes and effects analysis
  • ETA even tree analysis
  • PTA pre task analysis
  • PA problem analysis
  • PPA potential problem analysis
  • JSA job safety analysis
  • JSEA job safety and environmental analysis
  • JHA job hazard analysis
  • JTAP job task analysis and procedure
  • Fish bone diagram
  • MORT management oversight and risk tree
  • Causes and effect-bow tie
  • อก.18004 หรือ M3E

เครื่องมือหลายตัวมีลักษณะคล้ายกัน การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเตรียมเอกสารคู่มือคำแนะนำจึงขึ้นอยู่กับความถนัด วัฒนธรรมองค์กรหรือความเหมาะสมของกระบวนการทำงาน ตัวอย่างเช่น HAZOP hazard and operability studies จะเหมาะสมกับกระบวนการที่เป็นท่อ ถัง ปั้ม ฯลฯ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้กับงาน lockout tagout and permit to work จะเลือกแนะนำเฉพาะบางเครื่องมือเท่าที่จำเป็น, ณ ลำดับนี้จะเน้นการกล่าวถึง job safety analysis เป็นอันดับต้น และจะแนะนำเทคนิค check list และเครื่องมืออื่นเป็นลำดับถัดไป

ปรับฐานความเข้าใจลำดับที่สอง : อันตรายที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำงาน
เพื่อให้นำศาสตร์วิชาไปสู่การจัดทำเอกคู่มือคำแนะนำ การให้ความหมายของอันตรายทั้ง 4 กลุ่มที่แฝงอยู่ในกระบวนการทำงาน ในเอกสารฉบับนี้ จะกล่าวในลักษณะประยุกต์ใช้หรือกล่าวถึงในแง่ทฤษฎีเชิงปฏิบัติการเท่านั้น

  • อันตรายทางด้านกายภาพ (P-physical hazards) หมายถึงอันตรายที่อยู่ในลักษณะ สั่นสะเทือน บาด ตัด หนีบ ทิ่มแทง ฝุ่นควัน ร้อนหนาว รังสี ของตกใส่หรืออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน
  • อันตรายทางด้านเคมีและวัตถุอันตราย (C-chemical and hazardous substance) เคมีและวัตถุอันตรายอาจอยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลวหรือก๊าซ ดังนั้นจึงเข้าสู่ร่างกายได้สามทางคือ
  1. สูดดม (inhalation)
  2. ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำและกลืนกินเข้าไป (ingestion)
  3. ซึมผ่านผิวหนัง (skin)
  • อันตรายทางด้านชีวภาพ (B-biological hazards) สารทางชีวภาพมีประมาณ 200 ชนิดเช่น จุลินทรีย์ สารที่ทำให้เกิดการแพ้ สารพิษ เชื้อโรคหรือการติดเชื้อ ฯลฯ /บันทึกเพิ่มเติม : กรณีเป็นงานปฏิบัติการทั่วๆ ไป อาจเข้าใจหยาบๆ ดังกล่าวข้างต้นก็อาจเพียงพอ แต่หากเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม ที่ทำตามระบบคุณภาพ GMP, HACCP ต้องศึกษาอันตรายด้านนี้โดยละเอียด
  • อันตรายทางด้านเออร์กอนโอมิกส์ (การยศาสตร์หรือจิตวิทยาสังคม=ergonomics hazards) หมายถึงอันตรายที่เกิดจาก 3 สาเหตุและส่งผลกระทบต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโครงร่าง : สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตราย
    1. การเคลื่อนที่แบบเดิมซ้ำๆ มากครั้ง
    2. ยกของหนักเกินกำลัง
    3. ทำงานด้วยท่าทางฝืนธรรมชาติ

ปรับฐานความเข้าใจลำดับที่สาม : ชื่อเรียกเอกสารคู่มือคำแนะนำ
เนื่องจากการจัดทำคู่มือคำแนะนำ เป็นการนำศาสตร์วิชามาประยุกต์ใช้  วัฒนธรรมการเรียกชื่อในภาคภาษาอังกฤษอาจแตกต่างกันออกไป และด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ส่งผลโดยตรงให้ผู้ที่ศึกษาแบบไม่สมดุลระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกิดความสับสนและเข้าใจเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง คู่มือคำแนะนำอาจเรียกชื่ออย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ตัวอย่างเช่น
  • WI-work instruction
  • MMS-work method statement
  • SWS-safety work method statement
  • WS-work standard
  • SWS-safety work standard
  • SOP-standard operating procedure
  • SSOP-safety standard operating procedure
  • SJP-standard job procedure
  • SSJP-safety standard job procedure etc.

แนวคิดเพื่อจัดทำเอกสารคู่มือคำแนะนำ
เอกสารคู่มือคำแนะนำประกอบด้วย ๓ ส่วน ส่วนแรกเป็นขั้นตอนการทำงาน ส่วนที่สองคือการชี้บ่งและระบุอันตราย หากขั้นตอนใดชี้บ่งและระบุอันตรายได้ ให้นำไปควบคุมอันตราย ซึ่งการควบคุมอันตรายถือว่าเป็นส่วนที่สาม ต้องไม่ลืมว่าพื้นฐานของเอกสารคู่มือคำแนะนำ ประกอบด้วยสามส่วน

  1. ขั้นตอนงาน (work steps or work statements)
  2. ชี้บ่งและระบุอันตราย (hazard identified)
  3. กำหนดมาตรการป้องกัน ควบคุมอันตรายเฉพาะขั้นตอนที่ชี้บ่งและระบุอันตรายได้ (control measure)
 

ลำดับที่หนึ่ง : เขียนขั้นตอนงาน work steps or work statements

การเตรียมการเพื่อเขียนขั้นตอนงาน เริ่มจากทำความเข้าใจขอบเขตของงานและทำสำรวจพื้นที่ หลังจากนั้นจึงเริ่มกำหนดขั้นตอนงาน โดยเริ่มจากกำหนดขั้นตอนหลักและนำขั้นตอนหลักมาแจกแจงเป็นขั้นตอนย่อย

บันทึกเพิ่มเติม : ขั้นตอนหลักคือขั้นตอนที่บอกลำดับการทำงานแบบกว้างๆ ไม่อธิบายลงรายละเอียด ส่วนขั้นตอนย่อยคือการนำขั้นตอนหลักมาแจกแจงลงรายละเอียดเป็นภาษากริยาว่าให้ทำอย่างไร เช่นถอดออก ประกอบ ขั้นกวด ตรวจสอบ ฯลฯ เป็นต้น

รณีศึกษาอย่าง่าย เกี่ยวกับการเขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน แผนภาพเป็นระบบส่งน้ำดิบเข้าสายการผลิต : ความบกพร่องคือปะเก็นของวาล์วด้านจ่ายรั่ว มีคำสั่งงานเปลี่ยนปะเก็น

หลังจากทำสำรวจภาคสนามและยืนยันเปลี่ยนปะเก็นของวาล์วด้านจ่าย (discharging valve) จึงกำหนดการปฏิบัติงานออกเป็น ๔ ขั้นตอนหลัก ดังนี้
  1. การเตรียมการ ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ
  2. ถอดวาล์วด้านจ่ายเพื่อเปลี่ยนปะเก็น
  3. เปลี่ยนปะเก็นและประกอบชิ้นส่วนของปั๊มที่ถอดออก กลับเช่นเดิม
  4. ทดลอง ทดสอบเดินเครื่อง

จะเห็นได้ว่าขั้นตอนหลัก มีเจตนารมณ์เพียงบอกลำดับปฏิบัติเป็นกลุ่มงานเท่านั้น ส่วนรายละเอียดว่าให้ทำอย่างไรก่อนหลังยังไม่มี จึงนำไปสนับสนุนการทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องนำแต่ละขั้นตอนหลักไปแจกแจงเป็นขั้นตอนย่อย

1. การเตรียมการ ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ

1.1 ตัดแยกพลังงานและล็อค-เอาท์ระบบ

1.2 ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยพิจารณาใช้สายแถบกั้นอันตราย (ขาว-แดง), รั้วแข็ง ไฟวับวาบหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัยอื่นๆ ตามสภาพแวดล้อมการทำงาน

1.3 เตรียมอุปกรณ์ อะไหล่สำรอง วัสดุที่ต้องใช้ เครื่องมือช่าง ฯลฯ

1.(n) .............................................................................

ลำดับที่สอง : ชี้บ่งและระบุอันตราย hazards identified

ลำดับทีสอง ให้นำทุกขั้นตอนย่อยมาชี้บ่งและระบุอันตราย โดยชี้บ่งอันตรายให้ครอบคลุมทั้ง ๔ กลุ่ม, ตัวอย่างเช่นนำขั้นตอนที่ ๒.๑ มาชี้บ่งอันตราย ก็ให้ดูว่าในขั้นตอนนี้มีอันตรายทางกายภาพ เคมี ชีวภาพและเออร์กอนโอมิกส์หรือไม่ สมมุติว่ามีอันตรายทางด้านกายภาพ ก็ต้องระบุว่าเป็นอันตรายลักษณะใด สั่นสะเทือน หรือบาด หรือตัด หนีบ ทิ่มแทง ฝุ่นควัน ร้อนหนาว กระแทกชน ฯลฯ ต้องระบุว่ามีอันตรายลักษณะใด

การชี้บ่งและระบุอันตรายนั้น ต้องทำเป็นลำดับขั้นและต้องครอบคลุมอันตรายทุกกลุ่มทั้งอันตรายทางด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพและเออร์กอนโอมิกส์ เพื่อให้เข้าใจโดยง่าย จึงสรุปขั้นตอนการชี้บ่งและระบุอันตรายดังนี้

  1. นำขั้นตอนย่อยตั้งแต่ขั้นตอนย่อยแรก กระทั่งถึงขั้นตอนสุดย่อยข้อสุดท้าย มาชี้บ่งและระบุอันตรา
  2. ข้อใดชี้บ่งและระบุอันตรายไม่ได้ ก็ไม่ต้องกำหนดมาตรการควบคุม
  3. หากข้อใดมีอันตรายหลายอย่าง ก็ต้องระบุให้ครบและต้องกำหนดมาตรการควบคุมอันตรายทั้งหมด
  4. ทบทวนความถูกต้องซ้ำ

ลำดับที่สาม : กำหนดมาตรการควบคุมอันตราย control measure
มาตรการควบคุมอันตรายตามทฤษฏีคือ ควบคุมที่แหล่งกำเนิด ความคุมที่ทางผ่านและควบคุมที่ตัวคนทำงาน (source, patch and receiver) ณ ที่นี้ไม่ได้บอกว่าผิด แต่นำมาใช้งานยากเนื่องจากขอบเขตกว้างเกินไป ในแง่ประยุกต์ใช้จึงแนะนำให้เลือกวิธีควบคุมอันตรายเป็นลำดับขั้น (hierarchy of control) จะง่ายกว่าและควบคุมอุบัติเหตุได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า

การควบคุมอุบัติเหตุเป็นลำดับขั้น hierarchy of control : จะอธิบายลงรายละเอียดในหัวข้อถัดไป (หัวข้อ มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ)
  1. แยกงานออกจากอันตราย eliminate get rid of the hazard
  2. ใช้วิธีหรือกระบวนการที่อันตรายน้อยกว่าแทน substitute replace with less hazardous material or process
  3. ใช้เครื่องป้องกันระหว่างอันตรายกับคนหรือตัดแยกระบบ engineering a solution (barriers, isolation) guards between people and hazards
  4. กำหนดนโยบาย มีระบบเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน
  5. ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตรงกับลักษณะงาน personal protective equipment correct for work task

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ lockout tagout : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจการตัดแยกพลังงาน ล็อคเอาท์ระบบ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้น ควบคุมพื้นที่และเซฟตี้แท็ก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงานและทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตทำงาน : คลิ๊กตรงนี้  
ตอนที่หก มาตรการควบคุมอุบัติเหตุในงานปฏิบัติการ  : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3292 คน
55438 คน
937490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong