Sangtakieng.com

 

 

lockout tagout safety and permit to work system 
วิศวกรรมความปลอดภัยล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์และการจัดทำระบบฯ
 
ตอนที่หก มาตรการควบคุมอันตรายในงานปฏิบัติการ 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) 
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222

introduction งานปฏิบัติการโรงงานหรืองานปฏิบัติการอุตสาหกรรม การกำหนดมาตรการควบคุมอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นหลังจากขอบเขตและขั้นตอนของงานที่จะปฏิบัติถูกระบุเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะนำแต่ละขั้นตอนมาชี้บ่งและระบุอันตราย จึงจะกำหนดมาตรการควบคุมอันตราย /ขั้นตอนและกระบวนการทำงานที่แตกต่างหรือสภาวะการทำงานที่แตกต่างกัน อันตรายก็จะแตกต่างกันด้วย มาตรการควบคุมฯ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต้องใช้มาตรการที่แตกต่างกันไปด้วย ณ ที่นี้จะแนะนำเทคนิคการควบคุมอุบัติเหตุเป็นลำดับขั้นหรือไฮราจจิออฟคอลโทรล (hierarchy of control) ดังนี้

 

หนึ่ง แยกงานออกจากอันตราย eliminate get rid of the hazard : แม้หลักการควบคุมอุบัติเหตุได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียด ทว่าการแยกอันตรายออกจากงาน นำมาใช้งานจริงในแง่งานปฏิบัติการซ่อม สร้าง กู้สภาพยากลำบาก ในที่นี้จึงไม่กล่าวถึงโดยละเอียด แต่จะแนะนำให้ควบคุมอันตรายโดยใช้มาตรการ ๒-๔ มากกว่าซึ่งมาตรการ ๒-๔ สำหรับควบคุมอุบัติเหตุ จะกล่าวถึงในลำดับต่อจากนี้

สอง ใช้วิธีหรือกระบวนการที่อันตรายน้อยกว่าแทน substitute replace with less hazardous material or process : สำหรับกระบวนการคิดในการควบคุมอุบัติเหตุต้องพยายามมองถึงหลายๆ ตัวเลือก เงื่อนไขใดอันตรายน้อยกว่าและประสิทธิภาพงานเท่าเดิมหรือประสิทธิภาพงานสูงกว่า ให้เลือกเงื่อนไขนั้นแทน ตัวอย่างเช่น

  • ในกระบวนการผลิต เปลี่ยนจากใช้กรดกำมะถัน (ซัลฟูริค sulfuric acid H2SO4) มาใช้กรดเกลือแทน (ไฮโดรคลอริค hydrochloric acid HCL)
  • บางขั้นตอนของงานระบุให้ขนย้ายของด้วยรถยก แต่เมือพิจารณาลงรายละเอียดพบว่าของที่จะขนยายนำหนักประมาณ ๑๕-๒๐ กิโลกรัม ขนย้ายระยะทางสั้นๆ และเป็นงานลักษณะที่ทำเป็นครั้งคราว (one off job or infrequent job) จึงเลือกใช้ hand pallet truck แทนรถยก
  • ติดตั้งนั่งร้านท่อประกอบเพื่อใช้ในงานซึ่งมีความร้อนและประกายไฟ จึงระบุให้ใช้พื้นนั่งร้านแบบโลหะแทนการใช้พื้นนั่งร้านที่เป็นไม้ ฯลฯ เป็นต้น

สาม ใช้เครื่องป้องกันระหว่างอันตรายกับคนหรือตัดแยกระบบ engineering a solution (barriers, isolation) guards between people and hazards : คือการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพื่อควบคุมอันตราย ซึ่งเรามักเรียนรู้เป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นแถบกันเตือน แถบกั้นอันตรายและธงริ้ว, รั้วแข็ง สัญลักษณ์ความปลอดภัยและหมายความรวมถึงการนำมาใช้หรือยกเลิกอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ตามลักษณะงานด้วย ตัวอย่างเช่น

  • ขีดสีตีเส้นเหลืองดำ ขึงล้อมด้วยแถบเหลืองดำ ขึงล้อมด้วยธงริ้วเหลืองดำหรือใช้ไฟวับวาบสีเหลือง แสดงเขตเตือนให้ระวังอันตราย
  • ขีดสีตีเส้นขาวแดง ขึงล้อมด้วยแถบขาวแดง ขึงล้อมด้วยธงริ้วขาวแดงหรือใช้ไฟวับวาบสีแดง แสดงเขตอันตรายห้ามเข้า
  • ทำงานสูงจากพื้น จึงติดตั้งตาข่ายป้องกันของตก ไม่ให้ของที่ตกโดนคนที่ทำงานอยู่ด้านล่าง
  • เขตก่อสร้างติดตั้งรั้วแข็งแข็งแรงสูง ๒ เมตรและติดตั้งป้ายพื้นขาวตัวหนังสือสีแดง ข้อความเขตก่อสร้างห้ามเข้า
  • ทำงานใกล้เส้นทางสัญจรในระยะ ๕ เมตร จึงวางผนังปูนความสูง ๙๐ เซนติเมตร ที่ผนังปูนมีสีสะท้อนแสงเป็นแถบเฉียงสลับสีขาวแดง
  • พื้นที่ซึ่งจะเข้าไปซ่อมบำรุงเครื่องจักรคับแคบ จึงถอดท่อที่กีดขวางออกเป็นการชั่วคราว หลังงานแล้วเสร็จจะประกอบทกลับที่เดิม
  • ตัดแยกพลังงานและล็อคเอาท์ระบบก่อนซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงาน
  • งานซ่อมบำรุงเครื่องจักรบนเพลทฟอร์มสูง ๔ เมตร ชิ้นส่วนที่ถูกถอดออกขณะซ่อมบำรุงใช้วิธียึดรั้งไม่ให้ตกลงด้านล่าง
  • ติดตั้งสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง เมื่อจักรกลขนถ่ายทำงาน ฯลฯ เป็นต้น

สี่ กำหนดนโยบาย มีระบบเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่นขออนุญาตเข้าทำงาน ระเบียบปฏิบัติ คู่มือคำแนะนำ ใช้มาตรฐานสากล ใช้กฎหมาย ฝึกอบรมคน ฯลฯ เป็นต้น administrative control procedures.
ห้า ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตรงกับลักษณะงาน personal protective equipment correct for work task : อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ อุปกรณ์ระดับพื้นฐานและระดับพิเศษเฉพาะงาน (basic and special personal protective equipment)
 

การควบคุมอุบัติเหตุ ให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เป็นมาตรการร่วมเท่านั้น หมายถึงนอกจากจะใช้มาตรการข้างต้นแล้วก็ให้ใช้ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลร่วมด้วยเสมอ

งานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ lockout tagout safety : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)  Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง ความเข้าใจการตัดแยกพลังงาน ล็อคเอาท์ระบบ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ปิดกั้นพื้นที่ แท๊ก อุปกรณ์ตัดแยกพลังงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สาม ขั้นตอนการตัดแยกพลังงาน และทำล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ การตัดแยกระบบและขออนุญาตทำงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า วิธีจัดทำคู่มือคำแนะนำ (WI) แนบใบขออนุญาตเข้าทำงาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด การจัดทำระบบล็อคเอาท์ แท๊กเอาท์ในสถานประกอบกิจการ : คลิ๊กตรงนี้
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3292 คน
55438 คน
937490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong