|
|
๓
| working at heights safety engineering | วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง | | ตอนที่สาม รถกระเช้าและความปลอดภัยงานรถกระเช้า | | งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง | facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 | | บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) | อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน | e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222 |
รถกระเช้า Mobile Elevated Work Platform (MEWP) | รถกระเช้า หมายความว่าเครื่องจักรซึ่งติดตั้งกระเช้าและกลไกยกกระเช้าสำหรับยกคนขึ้นทำงานบนที่สูงและให้หมายความรวมถึงล้อเลื่อน รถลากจูง ยานพาหนะที่ติดตั้งกระเช้าและกลไกยกกระเช้าด้วย ตัวกระเช้าต้องมีทางเข้า ราวกั้นและแผ่นทึบกันของตกโดยรอบ แบ่งตามลักษณะใช้งานออกเป็นห้าประเภท
เนื่องจากการทำงานบนที่สูงมีศาสตร์วิชาและหลายอุปกรณ์ ให้เลือกใช้ตามสภาพงาน (hierarchy
of control)
ตัวอย่างเช่นเพลทฟอร์มถาวร นั่งร้าน กระเช้ายกคนที่ใช้ร่วมกับรถเครน
กระเช้ากอนโดลาสำหรับทำงานบนผนังสูง
การใช้สายบังคับระยะจำกัดพื้นที่
การใช้เชือกโรยตัวและการใช้อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก,
รถกระเช้าก็เป็นหนึ่งในวิธีทำงานบนที่สูงซึ่งมีรายละเอียดและวิธีควบคุมเป็นแบบเฉพาะตัว
สำหรับรถกระเช้าและการใช้งานจะกล่าวถึงในลำดับนี้ | |
- รถกระเช้าแบบ เสากระโดง personal lift
- รถกระเช้าแบบ ขากรรไกร scissor lift
- รถกระเช้าแบบ บูมตรง telescopic boomlift
- รถกระเข้าแบบ บูมหักศอก articulated boomlift และ
- รถบรรทุกติดกระเช้ายกคน bucket truck
| |
๑
|
ส่วนที่หนึ่ง : บทนำและขอบเขตของเอกสาร Introduction and Scope |
องค์ความรู้วิศวกรรมความปลอดภัยเกี่ยวกับรถกระเช้า
หากมองในภาพรวมพบว่าถูกเขียนจากหลายหน่วยงาน สรุปได้ดังนี้
|
- เอกสารที่ออกโดยบริษัทผู้ผลิตและงานการตลาดของบริษัทผู้ผลิต
:
จุดเด่นของเอกสาร
จะได้รายละเอียดข้อมูลทางวิศวกรรมของยีห้อและรุ่นนั้นๆ
แบบจำเพาะเป็นเชิงลึกครบถ้วน
ทว่าอาจมีคำโฆษณาในลักษณะสนับสนุนการขายแฝงรวมอยู่ด้วย
ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงต้องระมัดระวังและค้นคว้าเอกสารจากส่วนอื่นประกอบด้วย
จากนั้นจึงประมวลผลความเข้าใจอีกครั้ง
- เอก สารที่ออกโดยสถาบันทางวิชาการ :
เอกสารจะให้ข้อมูลเชิงหลักการทางวิศวกรรมได้ดี
เช่นเอกสารจะกล่าวถึงทฤษฎีหรือหลักการทำงานของรถกระเช้า ตัวอย่างเช่น
มีรายละเอียดว่ารถกระเช้าแบบแขนตรงและรถกระเช้าแบบแขนหักศอก ทำงานตามทฤษฎีของคาน (lever
theory) จุดศูนย์ถ่วงและทฤษฎีการล้มของรถกระเช้า
ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้อาจมีข้อด้อยในการแนะนำเชิงปฏิบัติการ
ว่าต้องบังคับรถแต่และประเภทด้วยวิธีการอย่างไร
หรือจะกล่าวโดยง่ายก็คือเด่นหลักการแต่ด้อยวิธีการนั่นเอง
- เอกสารที่ออกโดยสายผู้เชี่ยวชาญ
:
เอกสารจากสายงานนี้จะเน้น-how
to do & how to operations-หมายถึงเมื่อมีรถกระเช้าแล้ว
จะมีวิธีใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับหน่วยธุรกิจ โดยไม่เกิดอุบัติได้อย่างไร
| |
ขอบเขตของเอกสาร
:
เนื่องจากเอกสารฉบับนี้
เริ่มขั้นตอนจากการศึกษาข้อมูลจากสามแหล่ง เก็บข้อมูลจากการฝึกภาคปฏิบัติ-ภาคสนามหลายปี
แล้วจึงนำข้อมูลมาผนวกรวมเข้าด้วยกัน
ขอบเขตของข้อมูลจึงเน้นที่วิธีใช้งานรถกระเช้าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นด้านหลัก
จะอย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าได้รวมทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ
หลักการและข้อมูลทางด้านวิศวกรรมเอาไว้ด้วย | |
๒
| ส่วนที่สอง : ประเภทของรถกระเช้า
Type of MEWP | | การสร้างรถกระเช้ามีสองลักษณะคือแบบมาตรฐาน ซึ่งหมายความว่าสร้างขึ้นภายใต้ที่มาตรฐานสากลกำหนด ตัวอย่างเช่น สร้างตาม AS-มาตรฐานออสเตรเลีย, CE-มาตรฐานยุโรป ฯลฯ และลักษณะที่สองคือสร้างตามเหมาะสมใช้งานซึ่งรถกระเช้าจะถูกออกแบบโดยวิศวกร ซึ่งในภาคปฏิบัติการมักเรียกว่ารถกระเช้าแบบพิเศษเฉพาะงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงรถกระเช้าแบบมาตรฐานเท่านั้น |
| | ภาพประกอบ
:
รถกระเช้าแบบเสากระโดง
ซ้าย-เป็นแบบพับเก็บ
กางขาหยั่งและตั้งระดับน้ำก่อนใช้งาน ส่วนภาพขวา-เป็นแบบฐานสำเร็จรูป
ไม่ต้องกางขาหยั่ง เพียงปรับระดับขาหยั่งก่อนใช้งานเท่านั้น |
๒.๑
| รถกระเช้าแบบเสากระโดง Personal Lift |
แม้รถกระเช้าแบบนี้จะสามารถสร้างได้หลายออฟชั่น
คล้ายกับรถกระเช้าแบบอื่นๆ ก็ตาม แต่โดยข้อจำกัดเกี่ยวกับทิศทางการทำงาน
ซึ่งหมายความว่าตัวกระเช้าสามารถทำงานได้เพียง ๒ ทิศทางเท่านั้นคือ
ขึ้นและลงตามแนวดิ่ง ในทางปฏิบัติการจึงนิยมใช้เพียงรถกระเช้าขนาดเล็กและพับเก็บได้เท่านั้น
ตัวอย่างของออฟชั่นที่สามารถสร้างได้เช่น
| | - แบบใช้งานบนพื้นราบบดอัด
: ออฟชั่นนี้นิยมใช้
- ใช้งานบนพื้นที่ขรุขระ (rough
terrain) : ไม่นิยมใช้
- ขนาดเล็กทำงานบนเพลทฟอร์มได้คนเดียว : ออฟชั่นนี้นิยมใช้
- ขนาดใหญ่ทำงานบนเพลทฟอร์มได้ ๒-๒ คน : ไม่นิยมใช้
- เคลื่อนย้ายโดยเข็ญด้วยแรงคน : ออฟชั่นนี้นิยมใช้
- เคลื่อนที่บนพื้นราบและบังคับเลี้ยวโดยกลไกต้นกำลัง : ไม่นิยมใช้
- ทำงานบนขาหยั่ง (on
base) : ออฟชั่นนี้นิยมใช้
- ทำงานบนฐานล้อ
(on wheel) : ไม่นิยมใช้
|
สรุปว่ารถกระเช้าแบบเสากระโดงออฟชั่นที่ใช้งานกันมากคือ แบบใช้บนพื้นที่ราบบดอัด
มีขนาดเล็กทำงานคนเดียว พับเก็บขนย้ายได้ด้วยแรงคนและทำงานบนขาหยั่ง (on
base not on wheel) | |
การทำงาน |
กระโดงซ้อนกัน
๓ ท่อน เคลื่อนที่ยืดหดได้ ตัวกระเช้าจะเคลื่อนที่ขึ้นลงตามแนวดิ่งตามแนวเสากระโดง
กลไกหลักที่เคลื่อนที่คือตัวกระเช้าและเสากระโดงท่อนที่สองและท่อนที่สาม
ต้นกำลังขับเคลื่อนกลไกดังกล่าวจะเป็นระบบไฮดรอลิกส์
ซึ่งปั้มไฮดรอลิกส์จะถูกขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้
| |
- ตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน
- ตั้งขาหยั่ง
ปรับตั้งขาหยั่งให้ได้ระดับน้ำโดยดูสัญญาณที่แผงควบคุมและดูระดับน้ำที่แท่นฐาน
กรณีไม่ปรับขาหยั่งให้ได้ระดับน้ำ
ระบบจะเซนเซอร์บังคับกระเช้าเคลื่อนที่ขึ้นไม่ได้
- ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
- ที่แผงควบคุมด้านล่าง
ให้เลือกเป็นควบคุมบนกระเช้า ทั้งนี้เนื่องจากแผงควบคุมจะมี ๒
ที่คือด้านล่างที่ฐานของตัวรถและด้านบนจะแขวนติดหรือยึดติดไว้ที่กระเช้า
- ผู้บังคับ-บังคับให้กระเช้าทำงานขึ้นลงตามระดับที่ต้องการทำงาน
- หลังใช้งานแล้วเสร็จให้หยุดระบบ
ตรวจสอบสภาพหลังใช้งานประจำวัน
- ทำความสะอาดและจัดเก็บรถกระเช้า
บนพื้นที่ซึ่งสถานประกอบกิจการกำหนด
| |
๒.๒
| รถกระเช้าแบบขากรรไกร Scissor Lift |
รถกระเช้าแบบขากรรไกรจะเคลื่อนที่ตามแนวราบด้วยล้อยางและมีระบบบังคับเลี้ยวร่วมด้วย
สำหรับตัวกระเช้าจะเคลื่อนที่ขึ้นและลงตามแนวดิ่งได้สองทิศ ทาง แต่ออฟชั่นที่สามารถเพิ่มได้คือเพิ่มเป็นพื้นกระเช้าสองชั้น
(หรือพื้นเพลทฟอร์ม
๒ ชั้น )
พื้นกระเช้าชั้นบนเคลื่อนที่เข้าออกได้
(platform
shifting or platform retract-extract) ซึ่งออฟชั่นดังกล่าวนี้
ทำให้กระเช้าเคลื่อนที่ได้รวม ๔ ทิศทางคือขึ้น-ลง-เพลทฟอร์มเคลื่อนที่เข้าตามแนวนอน-และเพลทฟอร์มเคลื่อนที่เข้าตามแนวนอน
| กลไกยกกระเช้า
เป็นโครงติดตั้งร่วมกันไว้คล้ายขากรรไกร
หรือคล้ายอักษรภาษาอังกฤษตัวเอ๊กซ์พิมพ์ใหญ่ บางคนจึงเรียกว่า x-lift
ต้นกำลังที่ทำให้ตัวกระเช้าเคลื่อนที่ได้
๔ ทิศทาง หมายรวมถึงการเคลื่อนที่ด้วยล้อและการบังคับเลี้ยวคือระบบไฮดรอลิกส์
ซึ่งต้นกำลังขับปั้มไฮดรอลิกส์จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ก็ได้ |
| |
| |
ออฟชั่นของรถกระเช้าที่สามารถสร้างได้ | | - แบบใช้งานบนพื้นราบบดอัด
: ออฟชั่นนี้มีใช้มาก
- ใช้งานบนพื้นที่ขรุขระ (rough
terrain)
:
: ออฟชั่นนี้มีใช้
- ทำงานบนขาหยั่ง (on
base) : ออฟชั่นนี้มีใช้
- ทำงานบนฐานล้อ
(on wheel)
:
ออฟชั่นนี้มีใช้
แต่มีระบบระดับน้ำเซนเซอร์ หมายความว่าหากตัวรถเอียง
ระดับน้ำจะส่งสัญญาณไปตัดระบบควบคุม ซึ่งจะบังคับตัวกระเช้าขึ้นไม่ได้
- แบบทำงานได้ทั้งออฟชั่นทำงานบนขาหยั่งและออฟชั่นทำงานบนฐานล้อ
- พื้นกระเช้าสองชั้นหรือรุ่นเพลทฟอร์มพื้น
๒ ชั้น :
ออฟชั่นนี้มีใช้
- พื้นกระเช้าชั้นเดียวหรือรุ่นเพลทฟอร์มพื้นชั้นเดียว
:
ออฟชั่นนี้มีใช้มาก
- ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับปั้มไฮดรอลิกส์ (plug-in)
: ออฟชั่นนี้มีใช้มาก
- ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับปั้มไฮดรอลิกส์ (plug-in)
และแบ๊กอัพกรณีแบตเตอรีอ่อนกำลังด้วยเครื่องยนต์
:
ออฟชั่นนี้มีใช้
เคลื่อนที่บนพื้นราบและบังคับเลี้ยวโดยกลไกต้นกำลัง
: ระบบไฮดรอลิกส์
|
การทำงาน | | เมื่อโครงที่มีลักษณะคล้ายขากรรไกร
ถูกดันด้วยกระบอกไฮดรอลิกส์ ก็จะเคลื่อนที่ขึ้น
ตัวกระเช้าซึ่งถูกติดตั้งไว้ด้านบนก็เคลื่อนที่ขึ้นด้วย ในทางตรงกันข้าม-หากกระบอกไฮดรอลิกส์เคลื่อนที่กลับคืน
โครงสร้างและกระเช้าก็จะลดระดับลง, ขั้นตอนการใช้งานก็จะเหมือนกับรถกระเช้าแบบเสากระโดง |
คำแนะนำข้อมูลด้านความปลอดภัย | สำหรับรถกระเช้าแบบเสากระโดงและรถกระเช้าแบบขากรรไกร จะเห็นได้ว่าข้อมูลทางด้านวิศวกรรมทั้งสองออฟชั่น ไม่ว่าจะทำงานบนขาหยั่งหรือทำงานบนฐานล้อ ก็จะมีระบบป้องกันตัวรถเอียงและระบบฯ จะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น | | - รถกระเช้าแบบเสากระโดงและรถกระเช้าแบบขากรรไกรที่ทำงานบนขาหยั่ง กรณีปรับตั้งตัวรถไม่ได้ระดับ ระบบควบคุมจะเซนเซอร์ฟังก์ชั่นการเคลื่อนที่ขึ้นของกระเช้า จะบังคับให้ตัวกระเช้าเคลื่อนที่ขึ้นไม่ได้
- รถกระเช้าแบบขากรรไกรที่ทำงานบนฐานล้อ หากตัวรถเอียง มีสัญญาณเตือน ระบบควบคุมจะเซนเซอร์ฟังก์ชั่นการเคลื่อนที่ขึ้นของกระเช้า ฯลฯ เป็นต้น
| |
ต้องไม่ลืมว่า
รถกระเช้าทั้งสองแบบที่กำลังกล่าวถึงนี้ เคลื่อนที่ทำงานหลักๆ
ได้สองทิศทางคือตามแนวดิ่งขึ้นและตามแนวดิ่งลง แม้บางออฟชั่น
พื้นของกระเช้าจะเคลื่อนที่เข้า-ออกได้ก็ตาม
แม้ในภาวะที่พื้นกระเช้าเคลื่อนที่ออก จุดศูนย์ถ่วงรวมของรถ (combine
center gravity-combine CG) ก็ยังไม่ออกนอกฐานรับแรง
เพราะหากจุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรงเมื่อใด รถก็จะล้ม เป็นไปตามทฤษฎีการล้มของวัตถุ | | |
๒.๓
| รถกระเช้าแบบแขนตรง Telescopic boomlift | กลไกการเคลื่อนที่ทำงานของรถกระเช้าแบบแขนตรง
แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ซึ่งจะอธิบายโดยแยกเป็นส่วนย่อยๆ ดังนี้ | | - ล้อและระบบบังคับเลี้ยว
เคลื่อนที่ตามแนวราบ
- การเคลื่อนที่ของแขนหรือบูมท่อนหลักและบูมท่อนซ้อน
- การเคลื่อนที่ของตัวกระเช้า
|
ล้อและระบบบังคับเลี้ยว |
รถกระเช้าไม่ใช่ยานยนต์ถือว่าเป็นเครื่องจักรสำหรับยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง
ต้นกำลังขับเคลื่อนตามแนวราบและบังคับเลี้ยวจะเป็นระบบไฮดรอลิกส์
ซึ่งการเคลื่อนที่จะช้า ประมาณ ๑๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือช้ากว่า
จึงเหมาะสมกับการเคลื่อนที่ระยะทางสั้นๆ เท่านั้น หากเป็นระยะ ๕๐๐ เมตรหรือมากกว่า
ก็จะใช้วิธีเคลื่อนย้ายด้วยรถบรรทุก, ชุดล้อขับเคลื่อนมีทั้งแบบใช้งานทั่วไปและแบบทำงานในพื้นที่ขรุขระ
| การเคลื่อนที่ตามแนวราบใช้ระบบไฮดรอลิกส์ โดยปั้มไฮดรอลิกส์จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าหรือมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในแบ็คอัพ เป็นต้นกำลังขับก็ได้ มีใช้ทั้งสองออฟชั่น หากเป็นรุ่นที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน การเคลื่อนที่ตามแนวราบ สามารถผลิตได้หลายออฟชั่น แต่ขอบเขตของเอกสารฉบับนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะแบบมาตรฐาน (standard machine) เท่านั้น |
การเคลื่อนที่ของแขนหรือบูมท่อนหลักและบูมท่อนซ้อน | บูมรถกระเช้าแบบแขนตรง
มีทั้งรุ่นที่เป็นบูมสองท่อนและบูมสามท่อน ซึ่งส่วนมากที่ใช้งานจะเป็นสามท่อน
ท่อนหลักจะอยู่ติดกับตัวรถ บังคับขึ้นลงได้ จะมีบูมท่อนอื่นเลื่อนซ่อนไว้ด้านใน
บูมท่อนที่ซ่อนอยู่ด้านในจะเคลื่อนที่เข้าออกได้โดยระบบไฮดรอลิกส์
การเคลื่อนที่ของบูม | | - เคลื่อนที่ขึ้นลงโดยบูมท่อนหลัก
แต่เนื่องจากบูมท่อนซ้อนติดตั้งไว้ด้วยกัน ก็จะทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงไปด้วยกัน
- เคลื่อนที่ยืดหดตามแนวตรงโดยบูมท่อนซ้อน
|
การเรียกลำดับบูม
ให้เรียกท่อนที่อยู่ติดกับกระเช้าเป็นท่อนที่หนึ่ง
ท่อนลำดับถัดไปเป็นท่อนที่สองและท่อนที่สาม ตามลำดับ ตัวอย่างเช่นรุ่นบูม ๓ ท่อน | | - บูมท่อนที่อยู่ติดกับกระเช้า
เรียกว่าท่อนที่หนึ่ง
- บูมท่อนกลาง เป็นท่อนที่สอง และ
- บูมท่อนหลักซึ่งอยู่ติดกับตัวรถ
เป็นท่อนที่สาม
|
การเคลื่อนที่ของตัวกระเช้า | กระเช้าจะควบคุมให้เคลื่อนที่ได้
๔ ทิศทางคือตามเข็มนาฬิกา ทวนเข็มนาฬิกา คว่ำลงและหงายขึ้น
เหตุผลทางวิศวกรรมความปลอดภัย | | - การเคลื่อนที่ตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา เนื่องจากสภาพงานมีความหลากหลาย
บางครั้งตำแหน่งของกระเช้ายังไม่พอดีกับสภาพการทำงาน เช่นต้องเอี้ยวตัวทำงาน ฯลฯ
ฉะนั้นจึงต้องควบคุมปรับองศากระเช้าให้เหมาะกับการทำงาน
- การเคลื่อนที่คว่ำหงาย
เมื่อบูมถูกควบคุมให้ยก
กระเช้าซึ่งติดตั้งอยู่ด้านปลายบูมก็จะเอียงคว่ำมาทางตัวรถ
ยิ่งปรับบูมสูงขึ้นองศาเอียงคว่ำก็จะมากขึ้นตาม
ฉะนั้นจึงมีระบบควบคุมเพื่อปรับกระเช้าให้ได้ระดับ ไม่เอียง
กรณีควบคุมบูมให้ลดระดับต่ำลง การควบคุมระดับกระเช้าก็จะเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม
|
| |
หลักการทำงานและระบบความปลอดภัย | |
ทฤษฎีการล้มของวัตถุกล่าวว่า วัตถุนั้นจะล้มก็ต่อเมื่อจุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรง
รถกระเช้าแบบแขนตรง แขนหรือบูมสามารถยืดหดได้ เมื่อควบคุมให้บูม
ยืดออกก็จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงรวมขยับเคลื่อนเข้าใกล้พื้นที่ขอบของฐานรับแรงมากขึ้นและเมื่อจุดศูนย์ถ่วงรวมออกนอกฐานรับแรง
รถกระเช้าก็จะล้ม การทรงตัวของรถกระเช้าแบบนี้ เป็นไปตามทฤษฎีของคาน (lever
theory) | ระบบความปลอดภัยป้องกันการล้มขณะใช้รถ
เมื่อควบคุมให้บูมยื่นออกถึงค่าสูงสุดตามโหลดชาร์ท
ก็จะมีสัญญาณเสียงเตือนและจะควบคุมให้บูมยื่นออกอีกไม่ได้
แต่สามารถควบคุมให้บูมหดกลับได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการล้มดังที่กล่าวแล้วขั้นต้น |
๒.๔
| รถกระเช้าแบบแขนหักศอก articulated boomlift | รถกระเช้าแบบนี้
การเคลื่อนที่ทำงานของล้อ
ระบบบังคับเลี้ยวและการเคลื่อนที่ของกระเช้าจะเหมือนกับรถกระเช้าแบบแขนตรง
ที่แตกต่างกันชัดเจนคือการทำงานของแขนหรือบูม หมายถึงเมื่อควบคุมให้ทำงาน
แขนจะพับไปมาได้ |
โดยข้อมูลทางวิศวกรรม
หากพิจารณาเชิงเปรียบเทียบที่ขนาดเดียวกัน หมายถึงฐานล้อเท่ากัน-น้ำหนักถ่วง
counter
weights เท่ากัน,
รถกระเช้าแบบแขนตรงจะมีชิ้นส่วนเคลื่อนที่น้อยกว่า
กลไกการทำงานของแขน ง่ายและซับซ้อนน้อยกว่า
แต่ข้อจำกัดคือความสูงของระดับกระเช้าจะยกได้ต่ำกว่า
ทั้งนี้เนื่องจากแขนยืดได้เพียงแนวตรงและบังคับองศาขึ้นลงเท่านั้น
เมื่อควบคุมยืดออกเพื่อให้กระเช้าปลายแขนสูงขึ้น จุดศูนย์ถ่วงรวมจะเข้าใกล้ขอบของฐานรับแรงได้มากกว่า
ระบบจะตัดควบคุมการยืดแขนเพื่อป้องกันการล้ม ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว
รถกระเช้าแบบแขนหักศอกจึงยกกระเช้าได้สูงกว่า
หรือจะกล่าวโดยง่ายก็คือมีประสิทธิภาพสูงกว่านั่นเอง | |
๒.๕
| รถบรรทุกติดกระเช้ายกคน bucket truck | | รถกระเช้าคือเครื่องจักรที่มีกลไกในตัว เพื่อยกกระเช้าให้คนขึ้นทำงานบนที่สูง หนึ่งในข้อจำกัดคือเคลื่อนที่บนพื้นได้ช้า บางลักษณะงานต้องการเคลื่อนที่ถึงพื้นที่เป้าหมายรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นงานติดตั้ง-แก้ปัญหาระบบสายส่งไฟฟ้า งานกู้ภัยที่สูง งานดับเพลิงอาคารสูง ฯลฯ สภาพงานดังกล่าวต้องการใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่ จึงนำแขนกระเช้ามาติดตั้งร่วมกับรถบรรทุก จึงเป็นที่มาของรถกระเช้าแบบนี้ |
ชุดแขนยกและกระเช้า+รถบรรทุกซึ่งเป็นยานยนต์ = รถบรรทุกติดกระเช้ายกคน | ทำให้รถกระเช้าแบบนี้ทำงานบนที่สูงได้และเคลื่อนที่ถึงพื้นที่เป้าหมายได้รวดเร็วกว่ารถกระเช้าแบบอื่น |
๓
| ส่วนที่สาม : ข้อห้ามและแนวทางปฏิบัติการรถกระเช้า MEWP the code of practices | | แนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความปลอดภัยสูงสุด สำหรับการทำงานโดยใช้รถกระเช้า ประกอบด้วย ๔ ด้าน
หากขาดส่วนหนึ่งส่วนใดก็จะมีภาวะเสี่ยงและอาจเกิดอันตรายในระดับร้ายแรงต่อผู้ปฏิบัติงาน | | - เอกสารระเบียบปฏิบัติ คู่มือคำแนะนำ ฯลฯ : เรียกว่าระบบปลอดภัย
- ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความสามารถและสุขภาพเป็นปกติ, หัวหน้างานมีความรู้ความสามารถกำกับดูแลงานได้ และผู้จัดการต้นสังกัดบริหารจัดการเกี่ยวกับงานรถกระเช้าได้ : เรียกว่าคนปลอดภัย
- ตัวรถและอุปกรณ์ส่วนควบได้มาตรฐานและสภาพพร้อมใช้งาน : เรียกว่า ตัวรถกระเช้าและอุปกรณ์ส่วนควบปลอดภัย
- ปิดกั้นพื้นที่ปฏิบัติงานและควบคุมการทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกันกับจักรกลเคลื่อนที่อื่น : เรียกว่า พื้นที่หรือสภาพแวดล้อมการทำงานปลอดภัย
|
องค์ประกอบที่หนึ่ง กำกับดูแลเกี่ยวกับระบบและเอกสารสนุนการปฏิบัติงาน (System Procedure and Supporting Documents) | | - วิธีตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวันและงานปกติปฏิบัติ (routine work) ที่ต้องใช้รถกระเช้าต้องมีคู่มือคำแนะนำ
- งานที่ทำเป็นครั้งคราว (one off jobs) ต้องวิเคราะห์ความปลอดภัยหรือประเมินความเสี่ยงและต้องขออนุญาตเข้าทำงานข้องโดยตรง
- หลังจากรถกระเช้าสตาร์ทหรือหลังจาก on power ห้ามไม่ให้เดินเข้าด้านหน้าหรือด้านหลังของรถ หากมีความจำเป็นจะอนุญาตฌฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นเข้าใกล้ได้ทางด้านข้าง ส่วนผู้ไม่เกี่ยวข้องห้ามเข้าในระยะ 5 เมตร (five meter rules)
- แผนรักษาสภาพ-ต้องมีแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน ปฏิบัติตามแผนและมีบันทึกซ่อมบำรุงให้ตรวจสอบได้
- แผนรักษาสภาพ-ต้องมีแผนตรวจสภาพประจำรอบ 12 เดือน หรือประจำปีปฏิทิน ปฏิบัติตามแผนและมีบันทึกให้ตรวจสอบได้
- แผนรักษาสภาพ-รถที่ใช้งานครบเจ็ดปี ที่รอยเชื่อมของชิ้นส่วนที่อยู่กับที่ให้ทดสอบแบบไม่ทำลายโดยใช้น้ำยาแทรกซึม (non destructive testing by penetrant testing-PT)
- แผนการตรวจติดตามด้านความปลอดภัย-ต้องมีแผนการตรวจติดตามด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้รถกระเช้าและนำสิ่งผิดปกติที่ตรวจพบมาปรับแก้และกำหนดมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ
- นำเอกสารสนับสนุนภายนอกมาใช้เป็นแนวปฏิบัติ เช่นเอกสารทางวิชาการ มาตรฐานสากล DIN JIS AS CE BS ASTM etc. เป็นต้น
- ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท (ถ้ามี)
- ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่
|
องค์ประกอบที่สอง กำกับดูแลเกี่ยวกับการอนุญาตบุคคลเป็นผู้บังคับรถกระเช้า (MEWP Operator) | | ผู้บังคับรถกระเช้าต้องมีสองส่วนประกอบกันคือต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการบังคับรถฯ, มีสุขภาพเป็นปกติและได้รับอนุญาตจากสถานประกอบกิจการ, ก่อนตัวแทนนายจ้างของสถานประกอบกิจการจะออกใบอนุญาต ต้องตรวจสอบใบประกาศนียบัตรและตรวจหลักฐานการตรวจสุขภาพเสียก่อน หากเอกสารสองส่วนนี้ไม่ครบ ก็จะออกใบอนุญาตฯ ไม่ได้ซึ่งในรายละเอียดจะแจกแจงและอธิบายดังต่อไปนี้ | | - ความรู้ : ต้องผ่านการฝึกอบรมเกียวกับการใช้รถกระเช้าโดยเฉพาะและได้รับประกาศนียบัตร (certtificate) จากหน่วยงานฝึกอบรมที่เป็น third party, ซึงหน่วยงานที่ออกใบประกาศนียบัตรต้องเป็นอิสระจากสถานประกอบกิจการ หลังจากได้รับประกาศนียบัตร ผู้บังคับรถกระเช้าต้องเข้าร่วมฝึกอบรมทบทวนความรู้ทุกสองปีปฏิทิน (refresher training-แต่ละครั้งต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง)
- ความสามารถ : ให้ฝึกปฏิบัติจริงภาคสนามกลุ่มย่อยละสามชั่วโมงและให้ปฏิบัติงานจริงภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้างานจนครบ 30 ชั่วโมง
- ผ่านการตรวจสุขภาพประจำปีปฏิทิน : ตรวจสุขภาพทางกายและสายตาโดยแพทย์ กรณีสายตาสั้น สายตายาวหรือสายตาเอียง ให้ตัดแว่นเพื่อปรับสภาพการมองเห็น, หากผู้ที่ตาบอดสีประสงค์จะขอใบอนุญาตจากสถานประกอบกิจการ ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพร่วมกับผู้จัดการต้นสังกัดของพนักงาน ร่วมกันทำประเมินความเสี่ยง หากผลการประเมินความเสี่ยงผ่านก็สามารถอนุญาตให้ใช้รถกระเช้าได้
- สุขภาพแต่ละวันต้องเป็นปกติ พร้อมทำงาน (fit to work), สุขภาพก่อนเริ่มงานเป็นหน้าที่โดยตรงและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน กรณีพบว่าผู้บังคับรถกระเช้ามีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ จะไม่อนุญาตให้ใช้รถกระเช้าในวันนั้น
| | - พักผ่อนต่ำกว่าหกชั่วโมงต่อวัน
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดผิดกฎหมาย
- ป่วยและทานยาประเภทระงับหรือกระตุ้นระบบประสาท
| - ผู้ที่ทำงานกับรถกระเช้า หรือผู้ที่ทำงานร่วมกับรถกระเช้าต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยระดับพื้นฐานตั้งแต่หัวถึงเท้าและให้สวมเสื้อสะท้อนแสง high (visibility vest)
|
| |
องค์ประกอบที่สาม กำกับดูแลเกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวรถกระเช้า การรักษาสภาพและการตรวจซ่อมรถกระเช้า (inspection and PM-preventive maintenancer) | รถกระะเช้าและอุปกรณ์ส่วนควบของรถกระเช้าที่นำเข้ามาใช้ในสถานประกอบกิจการต้องคุณลักษณะและให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือปฏิบัติตามแนวทาง (truck attribution, the code of practices) ดังต่อไปนี้ | | - กระเช้าคนยืนทำงานแผ่นพื้นต้องไม่ลื่น ระบายน้ำออกจากพื้นได้และต้องบรรลุข้อกำหนด (1.1) ประตูเป็นแบบเปิดเข้า, (1.2) รั้วกันตกต้องมีโดยรอบ หากเป็นรั้วโปร่งต้องประกอบด้วยรั้วบน รั้วกลางและแผ่นทึบกันของตก, (1.3) แสดงค่ารับโหลดที่ตัวกระเช้า หน่วยเป็นกิโลกรัม, (1.4) มีที่เกี่ยวสายแลนยาร์ดของเซฟตี้เบลท์ อย่างน้อยสองจุด, (1.5) ผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานโดยผู้ใช้, และ (1.6) มีหลักฐานการตรวจสภาพโดยวิศวกรประจำรอบสิบสองเดือนหรือประจำรอบปีปฏิทิน
- ตัวรถต้องเป็นสีโทนสว่างไม่เก่าคร่ำ หากเก่าคร่ำให้ทำสีใหม่ /และที่ส่วนบนสุดและส่วนล่างสุดของรถหรืออุปกรณ์ส่วนควบของรถให้มีแถบเฉียงสลับสี ขาว-แดงสะท้อนแสงรอบตัวรถ
- ที่ส่วนบนสุดของตัวรถต้องมีไฟวับวาบ ขาว-แดง อย่างน้อยสองโคม (ยกเว้นแนวปฏิบัติของอุตสาหกรรมออสเตรเลีย จะบังคับขั้นต่ำสี่โคม)
- ขณะรถเคลื่อนที่ ต้องมีสัญญาณไฟวับวาบ ขาว-แดง และสัญญาณเสียง
|
องค์ประกอบที่สี่ กำกับดูแลเกี่ยวกับสภาพการทำงาน การทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกันกับจักรกลเคลื่อนที่อื่นและการทำงานร่วมกับคน | สภาพการทำงานของรถกระเช้ามีสองลักษณะคือสภาพที่ควบคุมได้และสภาพที่ควบคุมไม่ได้ (uncontrolable cause and under controlable cause), สภาพที่ควบคุมไม่ได้ตัวอย่างเช่น ฝนฟ้าคะนอง ลมแรง สภาพเช่นนี้เป็นข้อห้ามไม่ให้ใช้รถกระเช้า ในขั้นตอนนี้จะกล่าวถึงสภาพที่ควบคุมได้เท่านั้น | | - ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานฯ เข้าในพื้นที่การทำงานของรถกระเช้า
- ห้ามไม่ให้รถกระเช้าทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกัน เวลาเดียวกันกับจักรกลเคลื่อนที่อื่นโดยไม่มีมาตรการควบคุมอุบัติเหตุ
- ขณะรถกระเช้าทำงาน ต้องปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน ทั้งนี้โดยใช้แถบกั้นอันตราย ธงริ้วกั้นอันตราย รั้วแข็ง สัญลักษณ์จราจรหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้
|
ติดต่องานฝึกอบรม งานแปลเอกสารเซฟตี้ งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบ-ระเบียบปฏิบัติ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222 E-mail : sangtakieng@gmail.com | |
กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หนึ่ง ที่สูง-ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สอง กระเช้ายกคนและกอนโดลาไฟฟ้า : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและการใช้งานอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่ห้า อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่หก อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้ | ตอนที่เจ็ด การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้ | ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้ |
|
|
|
|
VISIT |
สถิติวันนี้ |
10 คน |
สถิติเมื่อวาน |
254 คน |
สถิติเดือนนี้ สถิติปีนี้ สถิติทั้งหมด |
3292 คน 55438 คน 937490 คน |
เริ่มเมื่อ 2012-10-14 |
| |
| | |