Sangtakieng.com

๔ ตอนที่สี่

working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง 
ตอนที่สี่ บันได ม้ายืนและความปลอดภัยการใช้งาน
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com phone 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222

ที่มาของข้อมูลบางส่วน ข้อมูลอ้างอิง :
 
  • OSHA 3124-12R, Occupational Safety and Health Administration, U.S. Department of Labor
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง

บันไดชนิดเคลื่อนที่ใช้งานและม้ายืน Portable Ladders, Step Ladders and Mobile Platform 
 
การใช้บันไดสำหรับไต่ขึ้นหรือลงที่สูง การทำงานร่วมในพื้นทีซึ่งกำลังใช้บันไดหรือทำงานบริเวณใกล้บันได ทั้งชนิดติดตั้งถาวรและชนิดเคลื่อนที่ใช้งาน (fixed ladders & portable ladders) จากข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ พบว่าการบาดเจ็บจำนวนมากและหลายครั้งของอุบัติเหตุความรุนแรงถึงขั้นหยุดงาน ถึงขั้นต้องบำบัดทางการแพทย์และในบางรายเสียชีวิต ขอบเขตเอกสารฉบับนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัยการใช้บันไดชนิดเคลื่อนที่ใช้งานเท่านั้น (portable ladders) เนื้อหาที่ปรากฏ บางส่วนเป็นข้อมูลทางด้านวิชาการวิศวกรรมความปลอดภัย บางส่วนมาจากแนวทางความปลอดภัยของสำนักบริหารความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน (OSHA-OSHA 3124-12R 2003, Occupational Safety and Health Administration, U.S. Department of Labor) กระทรวงแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกาและบางส่วนก็มาจาก กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของประเทศไทย สามส่วนนี้ถูกประมวลและรวบรวมเข้าด้วยกันและเป็นที่มาของเอกสารฉบับนี้  
 
บันทึกเพิ่มเติม ขอบเขตของเอกสาร ไม่ได้รวมบันไดชนิดพิเศษเฉพาะงานเอาไว้เช่นบันไดงานนั่งร้าน (scaffolding ladder) ซึ่งจะต้องใช้ข้อกำหนดของงานนั่งร้านเป็นการเฉพาะ หรือบันไดที่ไม่ได้รับโหลดโดยตรงเช่นบันไดที่ใช้พาดเพื่อความสะดวกสำหรับการทำงานบนหลังคา ฯลฯ เป็นต้น  
 
ข้อกำหนดทั่วไปและแนวปฏิบัติการใช้บันได
ข้อกำหนดทั่วไป
 
  1. พื้นซึ่งมีความต่างระดับตั้งแต่ ๔๘ เซนติเมตรขึ้นไป โดยไม่มีทางลาดหรือคันสำหรับขึ้นลง สถานประกอบกิจการหรือไซด์งานต้องจัดหาบันไดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน ใช้เป็นเส้นทางสำหรับขึ้นลง
  2. พื้นที่บันไดซึ่งเชื่อมต่อกับทางเดิน ไม่ว่าเป็นทางเดินถาวรหรือทางเดินที่ถูกกำหนดให้ใช้งานเป็นการชั่วคราว (walk way or work way) ต้องบริหารจัดการ กำกับดูแลให้เส้นทางนั้นโล่ง สะอาด เป็นระเบียบและไม่มีสิ่งกีดขวาง
  3. ต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี สารอื่นใดที่ทำให้ลื่นติดอยู่กับขั้นบันไดหรือเฟรมบันได keep rungs and steps free of grease or oil before climbing a ladder.
  4. ให้ใช้บันไดแต่ละชนิดตามวัตถุประสงค์ของการออกแบบ ซึ่งขั้นพื้นฐานบันไดจะใช้เพื่อการไต่ขึ้นลงจากที่ต่างระดับเท่านั้น  only use ladders for their intended purpose and not for platforms or as walk boards.
  5. พื้นด้านล่างและพื้นด้านบนซึ่งใช้บันไดเพื่อขึ้นหรือลงระหว่างกัน ต้องสะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือเศษโลหะแข็งทรงป่องบนพื้น ต้องเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นสาเหตุของการสะดุดหรือลื่นล้มและส่งผลโดยตรงให้เกิดอุบัติเหตุ  

 มาตรฐานและการตรวจสภาพบันได standard and inspections
 
  • บันไดที่นำมาใช้งานต้องได้มาตรฐาน หมายถึงต้องผลิตตามมาตรฐานสากล มาตรฐานใดก็ได้ ทั้งนี้ต้องแสดงค่ารับโหลด หน่วยเป็นกิโลกรัม ไว้ที่เฟรมบันไดนั้น (manufacturing tag or engineering data) กรณีใช้มาตรฐานบันไดตามข้อกำหนดของ OSHA ให้ยึดค่าทางวิศวกรรมความปลอดภัยดังนี้
  1. ความกว้างขั้นบันได หมายถึงจากเฟรมด้านในด้านซ้ายถึงเฟรมด้านในด้านขวา กว้าง ๒๙.๒๑ เซนติเมตร หรือเท่ากับ ๑๑.๕ นิ้ว  the inside width between the side rails of each portable step ladder is at least 11.5 inches.
  2. ต้องมีระยะห่างระหว่างขั้นบันไดเท่ากัน แต่ละขั้นมีระยะห่าง ๓๐.๔๘ เซนติเมตรหรือเท่ากับ ๑๒ นิ้ว  step and rung spacing of portable ladders is uniform and not more than 12 inches apart.
  3. ขั้นบันไดต้องออกแบบไม่ให้ลื่น เช่นเป็นลูกฟูกตามแนวนอน เป็นรอยขึ้นรูปสูงต่ำ ฯลฯ และต้องเคลือบด้วยโลหะเคลือบหรือใช้โลหะที่เกิดสนิมยาก  rungs and steps are corrugated, knurled, dimpled, coated with skid resistant material, or otherwise treated to minimize the possibility of slipping 
  • ไม่อนุญาตให้นำบันไดไม้ มาใช้ในภาคงานปฏิบัติการอุตสาหกรรม เนื่องจากบันไดไม้ควบคุมคุณภาพและตรวจสอบตำหนิได้ยาก ตัวอย่างเช่น ตาไม้ ทิศทางของเสี้ยนไม้ อายุไม้แก่อ่อน รูกัดเจาะของสัตว์ขนาดเล็ก มด มอดไม้ ฯลฯ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้การรับแรงของบันไดลดลง
  • หน่วยงานฝ่ายปฏิบัติการ ต้องกำหนดแผนตรวจสอบ ตรวจสภาพบันได (annual inspecting plan) จัดเก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการและสามารถตรวจสอบได้  
 
 
 
  • การตรวจสภาพตามระยะเวลา (annual inspection) ต้องทำโดยผู้ชำนาญการ ซึ่งสถานประกอบกิจการมอบหมายและให้บันทึกผลการตรวจสภาพไว้เป็นหลักฐาน การตรวจสภาพดังกล่าวนี้ จะตรวจสอบด้วยสายตาเพียงอย่างเดียวหรือจะใช้เครื่องมือตรวจวัด เช่นตลับเมตร ฟุตยาวหรือเครื่องมืออื่นใดร่วมด้วยก็ได้  
    1. เฟรมบันไดสภาพปกติ ไม่มีรอยเว้าแหว่ง  rungs are not excessively dented.
    2. เฟรมบันไดทั้งสองข้างต้องไม่บิดเบี้ยว เสียรูป  all side rails are free of dents or bends.
    3. ทุกรอยต่อระหว่างขั้นบันไดกับเฟรมต้องยึดแน่น ไม่หลวมคลอน  step-to-side rail or rung-to-side rail connections are intact and tight.
    4. ริเวทเชื่อมยึดบันไดและสภาพทั่วไปต้องไม่เกิดตำหนิที่เป็นขอบคม ซึ่งอาจบาดหรือทิ่มแทงขณะใช้งาน  rivets do not show signs of shear.
  • การตรวจสภาพก่อนใช้งาน บันไดต้องผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งาน ทั้งนี้ให้ทำโดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การทำงานบนที่สูงหรือหลักสูตรอื่นใด ที่โครงสร้างของหลักสูตร ระบุได้ว่า มีหัวข้อฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้บันไดรวมอยู่ด้วย visually inspect portable ladders before use to identify any visible defects that could cause employee injury.
ตรวจสภาพบันไดก่อนใช้งาน ให้ตรวจด้วยสายตาถือว่าเพียงพอ (visual check) 
 
  • หลังตรวจสภาพบันไดก่อนใช้งาน หากพบข้อบกพร่องให้ยกเลิกการใช้งานเป็นการชั่วคราวและให้แขวนป้ายแท๊กห้ามใช้ ทั้งนี้จะอนุญาตให้นำกลับมาใช้หลังจากซ่อมแล้วเสร็จ  always inspect the ladder prior to using it. If the ladder is damaged, it must be removed from service and tagged until repaired or discarded.
  • ไม่อนุญาตให้ใช้บันไดที่บกพร่องหรือแปลงสภาพ ยกเว้นการแปลงสภาพนั้น มีเอกสารรับรองโดยวิศวกร ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
  • บันไดไต่ชนิดเคลื่อนที่ใช้งาน ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 
  1. รับรองแบบ โดยวิศวกร ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
  2. สร้างบันไดตามแบบ
  3. ตรวจสอบตรวจสภาพหลังสร้างแล้วเสร็จและลงนามรับรองโดนวิศวกร 
  • ส่วนล่างสุดของขาบันไดต้องมียาง เหตุผลทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยสองประการคือเพื่อกันลื่นและเป็นฉนวนทางไฟฟ้า หากมีเหตุผลอื่นๆ เป็นเพียงออฟชั่นที่เป็นผลพลอยได้เท่านั้น ภาพประกอบขวา จากเว็ปไซด์ ohsguide.worksafenb.ca  
 

วิธีปฏิบัติทั่วไปและหลักการวิศวกรรมความปลอดภัยเมื่อใช้บันได  
 
  • ติดตั้งหรือวางบันไดบนพื้นได้ระดับ มั่นคงไม่ยุบตัว ไม่ลื่นไถลและห้ามใช้กล่อง ลังหรือชิ้นงานใดๆ ที่มีโอกาสขยับเคลื่อนเพื่อรองปรับระดับให้บันไดสูงขึ้น  place ladder only on a stable and level surface, unless it has been secured to prevent displacement. do not place on boxes, barrels or other unstable bases to obtain additional height.
  • ขณะไต่ขึ้นลงบันได ต้องมีสามส่วนของร่างกายสัมผัสอย่างมั่นคงตลอดเวลากับบันได หมายถึง ๒ เท้าบวกหนึ่งมือหรือ ๒ มือบวกหนึ่งเท้า ดูภาพประกอบ  maintain three points of contact at all times when climbing 
three point mean that two hands and a foot, or two feet and a hand.
 
  • เจตนารมณ์ของการใช้บันไดคือเพื่อไต่ขึ้นลง (access equipment) ห้ามไม่ให้ใช้บันไดในลักษณะอื่นๆ ตัวอย่างต้องห้ามเช่น  
  1. ห้ามยืนทำงานบนบันได หากจำเป็นยอมรับได้ไม่เกิน ๑๕ นาที
  2. ห้ามใช้พาดเพื่อข้ามไปมา  only use ladders for their intended purpose and not for platforms or as walk boards 
 
  • ขึ้นลงบันไดคราวละไม่เกินหนึ่งคน only one person at a time is allowed on a single-width ladder.
  • พื้นที่ใช้บันได ถือว่าเป็นเขตอันตรายต้องปิดกั้นควบคุม (interaction control) ห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่  a ladder placed in any location where it can be displaced by other work activities must be secured to prevent displacement or a barricade must be erected to keep traffic away from the ladder.
  • ไม่อนุญาตใช้บันไดเกินความสามารถในการรับโหลด ค่ารับโหลดจะแสดงบนป้ายแท็ก ซึ่งปิดไว้กับเฟรมบันได  do not exceed the maximum load rating of a ladder. be aware of the ladder’s load rating and of the weight it is supporting, including the weight of any tools or equipment.

 

เจ็ดหลักวิศวกรรมความปลอดภัย สำหรับการใช้บันไดขาตัวเอ (step ladders)
 
  • บันไดขามียาง สองเหตุผลหลักคือป้องกันการลื่นและเป็นฉนวนทางไฟฟ้า
  • กางขาบันไดสุด ขาบันไดคู่หน้าและขาบันไดคู่หลังจะถูกยึดตรึงเข้าด้วยกันด้วยค้ำยันแบบขาพับ (spreader) เมื่อกางออกสุดขาจะถูกล็อค ค้ำยันนี้ก็จะทำหน้าที่บังคับองศาขาบันไดและบังคับระยะห่างขาทั้งสองด้าน ให้ได้ฐานรับแรงกว้างที่สุด ขณะใช้งานบันไดจะมั่นคงล้มยาก เชื่อมโยงกับทฤษฎีว่าด้วยการล้มของวัตถุ วัตถุนั้นจะล้มก็ต่อเมื่อมีแรงมากระทำจนกระทั่งจุดศูนย์ถ่วงออกนอกฐานรับแรง การกางขาสุดจึงทำให้ฐานรับแรงกว้างขึ้นการล้มก็จะยากขึ้นด้วย
  • ไต่ขึ้นลงแนวกลางบันได
  • ไม่ถือของ เนื่องจากขณะไต่ขึ้นลงต้องใช้มือจับพยุงร่างกายให้มั่นคง หากต้องการนำชิ้นงานหรือสิ่งของขึ้นลงจากที่สูงให้ใช้วิธีอื่นที่ปลอดภัยแทน ตัวอย่างเช่น ผูกติดหรือแขวนกับเซฟตี้ฮาร์เนส ใส่ในกระเป๋าและสะพายหลัง ชักรอกหรือผูกดึงเพื่อลำเลียงของขึ้นลง ฯลฯ เป็นต้น  do not carry tools or equipment in your hands when climbing a ladder. carry tools on a work belt or in a shoulder-bag/back-pack, and use a hand line to raise or lower equipment.
  • ห้ามเอื้อมทำงานและต้องหันหน้าเข้าหาบันไดตลอดเวลา  keep the center of your body within the side rails of the ladder and always face the ladder while climbing.
  • ยืนไม่เกินบันไดขั้นที่สามนับจากบน บันไดส่วนที่สูงกว่าระดับยืนจะช่วย support กับส่วนที่เป็นหน้าแข้ง เพิ่มจุดสัมผัสให้ยืนได้อย่างมั่นคง  do not stand on the three top rungs of a straight, single or extension ladder.
  • ห้ามยืนทำงานบนบันไดนานเกิน ๑๕ นาที เกี่ยวกับระยะเวลาที่ยืนบนขั้นบันได เราจะนำเรื่องกายวิภาคศาสตร์ของเท้ามาพิจารณาร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อจะคิดวิเคราะห์ถึงอันตรายขณะใช้บันไดนั่นเอง ส้นเท้าจะเป็นส่วนหลักที่รับน้ำหนักของร่างกาย ส่วนฝ่าเท้าจะมีหน้าที่ในการทรงตัวและช่วยรับน้ำหนักส่วนหนึ่งจากส่วนส้นเท้าเท่านั้น
ขยายความเพิ่มเติม และประเด็นพิจารณาคือหากต้องการยืนทำงานนานกว่า ๑๕ นาที เราจะนำเครื่องมือชนิดใด มาใช้งานแทนบันได  
พื้นที่ของขั้นบันไดแบบขาตัวเอมีขนาดแคบ ยืนได้ไม่เต็มเท้า ส่วนของส้นเท้าและแผ่นเท้าสัมผัสได้ไม่เต็ม ขณะยืนกล้ามเนื้อขา น่องและเท้าต้องทำงานในลักษณะหดเกร็งอยู่กับที่ (static effort not dynamic effort) ทำให้เมื่อยล้า จึงห้ามยืนทำงานเกิน ๑๕ นาที ในกรณีที่ต้องทำงานนานกว่า ๑๕ นาทีให้ใช้ม้ายืน (platform step ladder or mobile platform) แทนบันได : ภาพประกอบ บันไดขาตัวเอและม้ายืน  
 
 
 
ม้ายืน (platform step ladder or mobile platform) สามารถยืนทำงานได้นานตามความต้องการของคนทำงาน เนื่องจากเหตุผลดังนี้  
 
  1. พื้นยืนถูกออกแบบให้กว้างพอ ยืนได้เต็มเท้า การยืนจึงสามารถผ่อนคลาย (dynamic effort) ไม่ต้องหดเกร็งกล้ามเนื้อขณะยืนทำงาน
  2. พื้นยืนถูกออกแบบกันลื่น
  3. มีส่วนเฟรมสูงเลยพื้นยืนได้ระยะ ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร ออกแบบตามหลักวิศวกรรมความปลอดภัย 

หลักวิศวกรรมความปลอดภัย สำหรับการใช้บันไดพาด (single ladders or straight ladders) อธิบายเชิงเปรียบเทียบกับบันไดขาตัวเอดังนี้  
 
  • บันไดขามียาง ใช้หลักการเดียวกันกับบันไดขาตัวเอ
  • กางขาบันไดสุด ข้อนี้แตกต่างกับบันไดขอตัวเอ เนื่องจากบันไดพาดมีเพียงชิ้นเดียวจะกางขาไม่ได้ ฉะนั้นในการใช้บันไดพาดอัตราส่วนความลาดชัน ๔ ส่วนต่อ ๑ ส่วน  
 

 
  • ไต่ขึ้นลงแนวกลางบันได ใช้หลักการเดียวกันกับบันไดขาตัวเอ
  • ไม่ถือของ ใช้หลักการเดียวกันกับบันไดขาตัวเอ
  • ห้ามเอื้อมทำงานและต้องหันหน้าเข้าหาบันไดตลอดเวลา ใช้หลักการเดียวกันกับบันไดขาตัวเอ
  • ยืนไม่เกินบันไดขั้นที่สามนับจากบน ข้อนี้แตกต่างกับบันไดขอตัวเอ เนื่องจากบันไดพาดมีเพียงชิ้นเดียว ต้องพาดกับโครงสร้างอื่น  
เมื่อใช้บันไดพาดเพื่อขึ้นไปยังเพลทฟอร์มด้านบน ส่วนปลายของบันไดต้องโผล่เลยจุดที่พาด ไม่น้อยกว่า ๙๐ เซนติเมตร  an extension or straight ladder used to access an elevated surface must extend at least 90 centimeter above the point of support.
  • ห้ามยืนทำงานบนบันไดเกิน ๑๕ นาที ใช้หลักการเดียวกันกับบันไดขาตัวเอ

 

ติดต่องานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  ที่ปรึกษาการจัดทำระบบ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเคน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้ายกคอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้  
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 11 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3293 คน
55439 คน
937491 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong