Sangtakieng.com
 

ตอนที่สาม

working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก Fall Arrest System
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง 
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน 
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222 

หากจำเป็นต้องทำงานบนที่สูง มาตรการที่ดีที่สุดคือป้องกันไม่ให้ของตก ป้องกันไม่ให้คนตก (fall prevention) ลำดับการเลือกวิธีปฏิบัติงาน จึงแนะนำวิธีที่ปลอดภัยที่สุดก่อน หากเป็นไปไม่ได้ก็จะแนะนำให้ขยับเลือกวิธีการที่ยากขึ้นเป็นอันดับถัดไป ดังนั้นการทำงานจึงแนะนำไว้เป็นลำดับขั้น (hierarchy of control) สำหรับระบบลดความรุนแรงจากการตก เป็นมาตรการเชิงแก้ไข (fall correction) แก้ไขภายใต้สมมุติฐานว่าเมื่อเกิดเหตุ ผู้ประสบเหตุต้องไม่บาดเจ็บ จึงเป็นรากฐานทางด้านความคิด คิดค้น ผลิตและทดลองใช้กระทั่งอุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตกถูกสร้างขึ้นใช้งานจริง

การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุตก มีสองลักษณ์คือคนทำงานตกจากที่สูงหรือของตกจากที่สูงโดนคนด้านล่าง หากของตก คนตกพลังงานที่ทำให้ได้รับอันตรายอธิบายดังนี้ 
 
 

เมื่อคนตกจากที่สูงจะเกิดพลังงานกล หมายถึงพลังงานศักย์บวกกับพลังงานจลน์เท่ากับพลังงานกล พลังงานกลนี่เองเมื่อกระตุกโหลดโดยตรงกับตัวผู้ปฏิบัติงาน ก็จะได้รับบาดเจ็บ หลังจากงานวิศวกรรมความปลอดภัยได้คิดค้นและผลิตช๊อคอัฟซอฟเบอร์สำเร็จ โดยนำมาติดตั้งร่วมไว้กับแลนยาร์ด แรงที่เกิดจากการกระตุกโหลดจะถูก ช๊อคอัฟซอฟเบอร์ดูดกลืนเอาไว้ แรงกระตุกไม่เกิดโดยตรงกับคนทำงานจึงไม่บาดเจ็บ หากพิจารณาซ้ำเชิงเปรียบเทียบ จะพบว่า fall restraint system มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการตก ส่วนระบบ fall arrest system ลดความรุนแรงจากการตก เมื่อผู้ปฏิบัติงานเกิดเหตุต้องไม่บาดเจ็บ หมายถึงต้องไม่กระแทกกับพื้นด้านล่าง ไม่กระแทกกับโครงสร้างด้านล่างและต้องไม่สลัดเหวี่ยงกระแทกกับผนังด้านข้างอีกด้วย ภาพจากเว็ปไซด์ hawkeswoodlifting.co.uk และภาพอุปกรณ์ยี่ห้อซารา
 


A anchorage point จุดยึดเกาะแลนยาร์ด 
 
จุดยึดเกาะแลนยาร์ดสำหรับระบบลดความรุนแรงจากการตก ต้องอยู่เหนือตัวผู้ปฏิบัติงานตามแนวดิ่งหรือใกล้กับแนวดิ่งมากที่สุด ซึ่งจะมีสองลักษณะคือแบบจุดยึดเกาะเฉพาะจุดและจุดยึดเกาะตามแนวยาว 
 
  • แบบเฉพาะจุด จะเหมาะกับลักษณะงานที่ทำในพื้นที่แคบๆ หากจะเปลี่ยนขยับพื้นที่ทำงาน จุดยึดเกาะต้องอยู่ใกล้กันประมาณ ๑-๑.๕ เมตร อุปกรณ์ที่ใช้ยึดเกาะอาจติดตั้งถาวรหรือติดตั้งชั่วคราวก็ได้ กรณีเป็นบีมโครงสร้างขนาดใหญ่ให้เลือกใช้สายคล้องช่วยเพื่อคล้องรอบบีมและเกาะด้วยตะขอของแลนยาร์ด
  • สายสแตติกลายน์ตามแนวนอน สำหรับการทำงานที่เป็นลักษณะยาวตามแนวนอน ตัวอย่างเช่น งานซ่อมจุดโหลดขึ้นลงสินค้า งานติดตั้งท่อน้ำดิบ งานเดินสายไฟฟ้าระบบ ฯลฯ สแตติกลายน์ตามแนวนอนจะเหมาะสมและง่ายต่อการทำงาน
 
คุณสมบัติสามข้อของจุดยึดเกาะแลนยาร์ด 
 
  1. แข็งแรง ขอบไม่คม ไม่ใช่ขอบเหลียม
  2. จุดยึดเกาะแลนยาร์ดสูงได้ระดับ (fall clearance distance)
  3. ดิ่งเหนือตัวผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๓๐ องศา

แข็งแรง ขอบไม่คม ไม่ใช่ขอบเหลียม แข็งแรงหมายความว่ารับแรงกระตุกโหลดได้ตามมาตรฐานทางวิศวกรรมความปลอดภัย ดัชนีชี้วัดในทางปฏิบัติคือหากเกิดเหตุ จุดยึดเกาะต้องไม่แตกหักหรือไม่เสียรูปกระทั่งมีผลกับความบาดเจ็บของผู้เกิดเหตุ ส่วนลักษณะขอบคมหรือขอบเหลี่ยม ให้พิจารณาว่าหากปากของตะขอโลหะ (lanyard snap hook) สามารถคล้องโดยตรงได้ ขอบเหลียมหรือขอบคมก็จะไม่มีผลต่อการตัดบาด เนื่องจากตะขอเป็นโลหะ หากจุดยึดเกาะมีขนาดใหญ่ ปากของตะขอเปิดสุดแล้วยังกว้างไม่พอ คล้องยึดเกาะโดยตรงไม่ได้ ก็ต้องใช้อุปกรณ์ส่วนควบเช่นเชือกยืดตัวต่ำ สายคล้อง anchorage strap ฯลฯ มาช่วยคล้อง ขอบคมหรือขอบเหลี่ยมจำเป็นต้องใช้วัสดุอ่อนมาพันรองที่ส่วนขอบนั้น (ภาพสายยึดเกาะยี่ห้อพีเอ็มไอและยี่ห้อมิลเลอร์)
 
 
จุดยึดเกาะแลนยาร์ดสูงได้ระดับ หมายความว่าหากเกิดเหตุคนต้องไม่กระแทกพื้นด้านล่างหรือต้องไม่กระแทกกับสิ่งกีดขวางด้านล่าง ระดับความสูงจุดยึดเกาะ ต้องไม่ต่ำกว่าหกเมตร ซึ่งกำหนดตามเงื่อนไขต่อไปนี้ 
 
  • แลนยาร์ดและอุปกรณ์ส่วนควบ สองเมตร
  • ระยะยืดช็อคอัฟซอฟเบอร์หลังเกิดเหตุ ร้อยละ ๗๐ ของความยาว ๑.๗๕ เมตร เท่ากับ ๑.๒ เมตร
  • ความสูงคน การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยใช้ ๑.๘ เมตร
  • ระยะเผื่อความปลอดภัยก่อนถึงพื้น (free fall or residual clearance) หนึ่งเมตร
 
 

ดิ่งเหนือตัวผู้ปฏิบัติงานไม่เกิน ๓๐ องศา 
 
หากเกิดเหตุ นอกจากผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ตกกระแทกพื้นล่างหรือไม่ตกกระแทกกับโครงสร้างด้านล่างแล้ว จุดยึดเกาะที่ถูกต้องความหลักการวิศวกรรมความปลอดภัยก็ต้องไม่เป็นเหตุให้ผู้ประสบเหตุได้รับการบาดเจ็บจากการกระแทกผนังด้านข้างด้วย จากการเก็บข้อมูลภาคสนาม พบว่าหากจุดยึดเกาะเอียงจากแนวดิ่งมากกว่า ๓๐ องศา เมื่อตกจากที่สูง ผู้ประสบเหตุจะถูกสลัดเหวี่ยงกระแทกกับผนังด้านข้างและจะได้รับบาดเจ็บลักษณะแผลปิดฟกช้ำ (close fracture) และเมื่อองศาเอียงออกจากแนวดิ่งมากขึ้น ระดับความรุนแรงของแรงกระแทกก็จะมากขึ้น การบาดเจ็บที่เกิดต่อร่างกายมนุษย์ก็จะเพิ่มขึ้น ระดับความรุนแรงจึงมากขึ้นออกนอกค่ายอมรับ (bio-mechanical & pendulum effect) 
 
 
 

B body harness & C connector ฮาร์เนสส์และแลนยาร์ด
 
ฮาร์เนสส์แนะนำให้ใช้รุ่นที่มีสามดีริงคืออยู่อยู่บริเวณต้นคอหนึ่งดีริงและหน้าอกซ้ายขวาอีกสองดีริง ซึ่งจริงแล้วก็เป็นแบบมาตรฐานที่ใช้งานกันอยู่โดยทั่วไปนั่นเอง, connectors สำหรับระบบลดความรุนแรงจากการตกจะเป็นช็อคอัฟซอฟเบอร์แลนยาร์ดแบบสายคู่ (twin tail lanyard with shock absorber or twin tail absorbing lanyard) 
 
  1. แลนด์ยาร์ดสายคู่ twin tail lanyard : แลนยาร์ดมีความยาวจำกัดคือไม่เกินสองเมตร เมื่อเคลื่อนที่ทำงานออกนอกรัศมี ผู้ปฏิบัติงานต้องปลดตะขอออกจากจุดยึดเกาะเดิมเพื่อย้ายไปยังจุดใหม่ หากแลนยาร์ดเป็นแบบเส้นเดียว ขณะปลดตะขออก ตัวก็จะเป็นอิสระจากการยึดเกาะ หากเกิดเหตุก็จะกระแทกพื้น จึงต้องใช้แบบสายคู่โดยให้ปลดขยับคราวละเส้น ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีแลนยาร์ดอย่างน้อยหนึ่งเส้นเกาะอยู่ตลอดเวลา
  2. ช็อคอัฟชอฟเบอร์ shock absorber : ช็อคอัฟชอฟเบอร์ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ถักรูปร่างเป็นแผ่นแบน ความยาวมาตรฐาน ๑.๗๕ เมตร เย็บพับทบไปมาด้วยด้ายฝีเข็มที่ต่างขนาดกัน โดยทบแรกจะเย็บด้วยด้ายขนาดเล็กและจะค่อยๆ เพิ่มขนาดใหญ่ขึ้นในทบถัดไป เมื่อเกิดเหตุและมีแรงกระตุกจากน้ำหนักของผู้ปฏิบัติงานคูณความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก สายช็อคอัฟซอฟเบอร์ทบแรกจะฉีกขาดออกง่ายก่อนทบอื่น ส่วนทบถัดไปจะฉีกขาดยากขึ้นเป็นลำดับขั้น ด้วยการขาดและฉีกออกเป็นลำดับขั้นนี่เอง พลังงานกลที่เกิดจากการกระตุกจะถูกอุปกรณ์ดูดกลืนเอาไว้ ผู้ปฏิบัติงานจึงไม่บาดเจ็บ
 
 


ระบบลดความรุนแรงจากการตก fall arrest system เมื่อทำงานในรัศมีของความยาวแลนยาร์ด จะมีความสะดวกสบาย แม้เคลื่อนที่เร็วกว่าปกตินิดหน่อยก็ไม่มีกลไกกระตุกหยุด ข้อจำกัดคือจุดยึดเกาะแลนยาร์ดต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่าหกเมตร หากต่ำกว่านี้ ผู้ประสบเหตุจะตกกระแทกพื้นด้านล่าง หรือตกกระแทกกับเฟรมแข็งด้านล่าง ฉะนั้นจำเป็นต้องทบทวนใช้เครื่องมือทำงานที่สูงเสียใหม่ หากยืนยันว่าจะใช้แลนยาร์ดที่มีลักษณะคล้ายเดิม ก็จะแนะนำให้ใช้แลนยาร์ดแบบมีตลับสายกระตุกหยุด (retractable lanyard) ซึ่งสามารถใช้งานสูงต่ำได้ทุกระดับ 
การทำงานของแลนยาร์ดแบบมีตลับสายกระตุกหยุด retractable lanyard เหมือนกับกลไกการทำงานของเข็มขัดนิรภัยรถยนต์และเหมือนกับกลไกการทำงานของม้วนสลิงแบบกระตกหยุด retractable life line แต่จะมีตลับสายกระตุกหยุด ความยาว ๒ และความยาว ๓ เมตร ประกอบรวมอยู่กับแลนยาร์ดเรียบร้อยแล้ว
 
 

แลนยาร์ดแบบมีตลับสายกระตุกหยุด (retractable lanyard)
แลนยาร์ดแบบมีตลับสายกระตุกหยุด เป็นอุปกรณ์ป้องกันการตกไม่ใช้อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก นำมาใช้งานเพื่อลดข้อจำกัดของม้วนสลิงแบบกระตุกหยุดและลดข้อกำจัดใช้งานของแลนยาร์ดแบบสายคู่ติดตั้งช็อคอัฟซ๊อฟเบอร์ (retractable life line & twin tail lanyard with shock absorber) 
 
  • หากใช้ม้วนสลิงแบบกระตุกหยุด ความยาวต่ำสุดห้าเมตร น้ำหนักจึงมากกว่า แต่แลนยาร์ดแบบตลับสายกระตุกหยุดความยาวแค่สองขนาดคือสองเมตรและสามเมตร น้ำหนักเบากว่า ประกอบร่วมกับแลนยาร์ดไม่ได้แยกชิ้นออกจากกัน
  • ใช้แทนแลนยาร์ดแบบสายคู่ติดตั้งช็อคอัฟซ๊อฟเบอร์ โดยอุปกรณ์นี้ใช้ได้ทุกระดับความสูง

 

ติดต่องานฝึกอบรม  แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com
 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูง ความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและความปลอดภัยการใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเคน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้ 

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 9 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3291 คน
55437 คน
937489 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong