Sangtakieng.com
๗
working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่เจ็ด
การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail :
sangtakieng@gmail.com
mobile 093 7719222
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน
e-mail : sangtakieng@gmail.com mobile 093 7719222
การควบคุมของตกจากที่สูงและวิธีปิดกั้นพื้นที่ทำงาน
อันตรายจากที่สูงต้องครอบคลุมการป้องกันคนตก ป้องกันของตกและการพังทลายของโครงสร้างเนื่องจากโหลดที่มากเกินพิกัดของโครงสร้างนั้น ขอบเขตของเอกสารไม่ได้กล่าวถึงการพังทลายของโครงสร้าง หากแต่จะกล่าวเพียงวิธีป้องกันของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่เท่านั้น
วิธีป้องกันของตก fall object prevention
งานปฏิบัติการภาคสนาม ให้พิจารณาวิธีควบคุมของตกออกเป็นสองลักษณะคือของน้ำหนักเบาพกไปกับตัวได้และลักษณะที่สองคือของหนักหรือของที่สามารถยกได้ด้วยแรงคนแต่รูปทรงไม่สะดวกที่จะพกพกไปกับตัว มาตรการควบคุมของตกมีแนวปฏิบัติดังนี้
นำขึ้นไปที่สูง ของน้ำหนักเบาและสะดวกที่จะพกไปกับตัวให้ใส่ในซองกะทัดรัด ซึ่งซองนั้นถูกรัดคล้องกับกับชุดเข็มขัด สายสะพายหรืออื่นใดที่กระชับและไม่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น ตะปู ริเวท น๊อตโบลท์ขนาดเล็ก ค้อน ประแจ นำขึ้นที่สูงโดยใส่ซอง เป็นต้น ภาพจากอเมซอน.ดอทคอม, pinterest.com และจากเว็ปไซด์ thatshirt.com
การขนย้ายของหนักหรือของที่สามารถยกได้ด้วยแรงคน แต่ลักษณะรูปร่างของนั้นไม่สะดวกที่จะพกไปกับตัว ให้ใช้เครื่องกลผ่อนแรงเช่น รอกไฟฟ้า รอกสาวมือ รอกเดี่ยว รอกพวง สายพานลำเลียงหรือลิฟท์ขนของ ฯลฯ
การวางของเล็กน้ำหนักเบาบนพื้นเพลทฟอร์ม ให้ใส่ถุงหรือใส่ในถังและวางไว้ด้านในแผ่นกันของตก ในกรณีเพลทฟอร์มนั้นไม่มีขอบกันของตก ให้ยึดผูกหรือมัดภาชนะสำหรับใส่ชิ้นงานกับโครงสร้างหลัก ซึ่งการมัดยึดภาชนะดังกล่าวต้องมั่นคงแข็งแรง
การใช้เครื่องมือช่าง hand tools บนที่สูง ให้มีสายมัดเครื่องมือนั้นไว้กับตัวหรือจะผูก มัดหรือยึดไว้กับโครงสร้างของเพลทฟอร์มก็ได้
การขนย้ายโดยใช้เครื่องกลผ่อนแรงเช่นเครน รอกไฟฟ้า รอกสาวมือ รอกเดี่ยว รอกพวง ต้องมีแผนขนย้าย lifting plan or handling plan ซึ่งแผนขนย้ายหากจะคิดง่ายๆ ก็เป็นเพียงมาตรการเชิงบริหารจัดการเท่านั้น (administrative method) หากแต่เป็นกระบวนการคิดที่นำไปสู่มาตรการป้องกันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและนั้นหมายถึงความปลอดภัยจากการทำงานที่จะตามมา ดังนั้นงานวิศวกรรมความปลอดภัยจึงให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ห้าองค์ประกอบของแผนขนย้าย
หนึ่ง การเตรียมการ
สอง ยึดเกาะอุปกรณ์ช่วยยกกับโหลด
สาม ยกโหลดสูงจากพื้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตรเพื่อตรวจสอบสภาวะยึดเกาะ
สี่ ห้าและหกคือยกโหลดให้ได้ระดับขนย้าย ย้ายและวางโหลด
การเตรียมการคือการทบทวนหรือตรวจสอบยืนยันความพร้อมให้ครบทุกองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานขนย้าย องค์ประกอบแรกคือคน ต้องพิจารณาตรวจสอบความรู้ ความสามารถและคุณสมบัติต้องพร้อมทำงานตามภารกิจ องค์ประกอบที่สอง เครื่องมือ เครื่องมือกล เครน ฯลฯ และอุปกรณ์ช่วยยกซึ่งต้องใช้ยึดเกาะสิ่งของ องค์ประกอบที่สามการปิดกั้น ควบคุมพื้นที่ขนย้ายและองค์ประกอบสุดท้ายคือพื้นที่วางโหลด
วิธียึดเกาะโหลดถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย นอกจากอุปกรณ์ช่วยยกจะไม่แตก หัก พังหรือชำรุดจากการทำงานแล้ว ต้องมีภาวะสมดุลขณะยก ย้ายและวางด้วย
ยกโหลดครั้งที่หนึ่งสูงจากพื้นประมาณ ๑๐ เซนติเมตรและหยุด ๑-๒ นาที เพื่อตรวจสอบความสมดุลของโหลดและหน่วงเวลาทดสอบการรับแรงของอุปกรณ์ยึดเกาะว่ามีการขยับไปจากเดิมหรือไม่ หากเกิดเหตุที่ลำดับนี้จะมีผลกระทบต่ำกว่าการเกิดเหตุเมื่อโหลดถูกยกไปที่ระดับสูงแล้ว หากยกโหลดแนวดิ่งขึ้นลงก็ให้ทำต่อไปจากลำดับนี้ได้เลย แต่ถ้าต้องยกตามแนวราบก็ให้ปรับให้ได้ระดับที่จะขนย้ายและทำงานขนย้ายในลำดับถัดไป
ย้ายและวางโหลดตามเงื่อนไขของงาน
การปิดกั้นและควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน working area barricading
มาตรการที่ดีกว่าคือมาตรการป้องกันของตก (fall prevention) หากมาตรการดังกล่าวมีความผิดพลาดและเกิดเหตุของตกลงไปด้านล่าง กระบวนการคิดเชื่อมโยงต่อไปคือต้องไม่โดนคน จึงจำเป็นต้องใช้วิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ทำงานเป็นมาตรการร่วมด้วย
ในแง่มุมของกฎหมาย กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พุทธศักราช ๒๕๕๒ ให้คำกำจัดความไว้ว่าเขตอันตราย หมายความว่าบริเวณที่เป็นสถานที่ที่กําลังก่อสร้าง ที่ติดตั้งนั่งร้าน ใช้ปั้นจั่นหรือใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อการก่อสร้าง พื้นที่ทีเป็นนทางลําเลียงวัสดุเพื่อการก่อสร้างหรือพื้นที่ที่ใช้เป็นสถานที่เก็บเชื้อเพลิง วัตถุระเบิดหรือวัสดุก่อสร้างและหมายความรวมถึงการต่อเติม ซ่อมแซม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย หรือการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างนั้นด้วย
เขตอันตรายต้องพิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่รอบทิศทาง หมายความว่าให้พิจารณาอันตรายที่อาจเกิดจากด้านบน ด้านล่าง ซ้ายขวา ด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นให้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยใช้แถบกั้น ธงริ้ว รั้วแข็ง แบริเออร์ สัญลักษณ์ความปลอดภัยต่างๆ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ อุปกรณ์ปิดกั้นควบคุมพื้นที่ทำงานจะกล่าวถึงบางตัวอย่างดังต่อไปนี้
หนึ่ง
ตา
ข่ายกันของตก
safety net
เป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสำหรับงานก่อสร้าง งานซ่อมบำรุง สำหรับป้องกันของตกจากที่สูง ผลิตจาก
โพลีเอสเตอร์
หรือโพลีเอทิลีน (
polyethylene
HDPE
)
เป็นระบบถักทอแบบรัชเซลเน็ทซึ่งสามารถกระจายการรับน้ำหนักได้ดี ส่วนประกอบการติดตั้ง
เส้นใยโพลีเอสเตอร์แบบใช้เป็นตาข่ายกันของตก
เชือกขอบหรือเชือก main safety net ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ขนาดเชือกเส้นผ่านศูนย์กลาง ๙ มิลลิเมตร โดยทุกระยะไม่เกินสามเมตร จะมีเชือกหูความยาวหนึ่งเมตร ทิ้งออกมาเพื่อผูกมัดกับโครงสร้างของโรงเรือน ภาพประกอบจากเว็ปไซด์ temco.co.th และแบริเออร์ซีเมนต์หล่อจาก klickbm.com
สอง
แบริเออร์และรั้วแข็ง hard barricade ปกติอุปกรณ์จะออกแบบให้สีโทนสว่างสะท้อนแสงตรงกับรหัสสีด้านความปลอดภัยเช่นเหลืองดำ ขาวแดง ในกรณีที่ไม่มีสีแสดงรหัส สามารถใช้แถบกั้นขึงพันแนบกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
แบริเออร์ความสูงมาตรฐาน ขั้นต่ำ ๙๐ เซนติเมตรความสูงที่ใช้กันมากที่สุด ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตร การผลิตส่วนมากจะคำนึงถึงสามองค์ประกอบคือต้องเป็นวัสดุที่มีความทนทาน ต้นทุนต่ำและเหมาะสมกับการใช้งานตัวอย่างเช่น แบริเออร์ซีเมนต์หล่อ แบริเออร์พลาสติกกลวงมีช่องเติมน้ำ แบริเออร์แผ่นโลหะติดล้อเลื่อน แบริเออร์แผ่นโลหะแบบสแตนขาตั้ง ฯลฯ เป็นต้น, รั้วแข็ง ความสูงมาตรฐาน ๙๐-๑๑๐ เซนติเมตรหรือจะสูงมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับผลการประเมินความเสี่ยง รั้วแข็งอาจจะสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ ตามสภาพใช้งาน
ติดตั้งกึ่งถาวรโดยยึดโครงสร้างกับพื้นและใช้แผ่นโลหะหรือผ้าใบแบบหนาขึงปิด หากเป็นไซด์งานก่อสร้างต้องสูงขั้นต่ำสองเมตร
รั้วแบบท่อและแคลมป์ โดยใช้อุปกรณ์ของนั่งร้านท่อประกอบมาประยุกต์ใช้และยึดติดตั้งเป็นรั้วแข็ง
รั้วแข็งล้อเลื่อน จะสร้างขึ้นที่ระดับความสูงตามมาตรฐาน ให้สีสะท้อนแสงเหลืองดำหรือขาวแดงตามความต้องการของผู้ใช้ ความยาวต่อหนึ่งชิ้นประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตร จะใช้งานแบบรั้วแข็งล้อเลื่อนทั่วๆ ไป หรือจะติดตั้งป้ายความปลอดภัย (safety sign) ร่วมด้วยก็ได้
รั้วแข็งประดิษฐ์ รั้วแข็งประดิษฐ์แม้จะมีความสูงและขนาดต่างๆ ตามมาตรฐาน แต่ลักษณะภายนอกทางกายภาพอาจแตกต่างกันออกเป็นตามสภาพงานที่มีลักษณะจำเพาะ ตัวอย่างเช่นรั้วแบบขากรรไกรหนีบเข้าออก รั้วตกแต่ง ฯลฯ เป็นต้น
โดยทั่วไปของหลักการทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัย รั้วแข็งหรือแบริเออร์ที่ไม่ใช้แบบซีเมนต์หล่อให้ใช้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยรอบของจุดทำงานประมาณ ๒ เมตร หากพื้นที่คับแคบกว้างไม่ถึงระยะสองเมตร แนะนำให้ใช้แบริเออร์ซีเมนต์หล่อแทน จะอย่างไรก็ตาม ระยะติดตั้งแบริเออร์และรั้วแข็งมักจะมีหลายเงื่อนไขเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามหลักคิดที่ว่าสภาพงานหรือกระบวนทำงานต่างกัน อันตรายที่อาจเกิดก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นระยะการติดตั้งแบริเออร์และรั้วแข็งจึงมักใช้การประเมินความเสี่ยงร่วมด้วย
ภาพรั้วประดิษฐ์จากเว็ปไซด์ hmart.mu, แบริเออร์พลาสติกกลวงมีช่องเติมน้ำ อาลีบาบา.ดอทคอม, รั้วแข็งแบบตาข่ายโปร่ง caulfieldindustrial.com และรั้วแบบล้อเลื่อน ภาพจาก officemate.co.th
สาม
สายเทปปิดกั้นพื้นที่ ธงริ้ว soft barricade ลักษณะภายนอก (ทางกายภาพ) ของอุปกรณ์สองอย่างนี้ อาจแตกต่างกันแต่สื่อความหมายในการควบคุมพื้นที่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เทปขาวแดง เทปแดงสกรีนตัวหนังสือสีดำแดนเจอร์และธงริ้วสามเหลี่ยมปลายปักลงสลับสีขาวแดง มีความหมายว่าอันตรายห้ามเข้า ฯลฯ เป็นต้น ภาพจากเว็ปไซด์ bradyid.com emergencykits.com emedco.com และเว็ปไซด์ elmersflag.com
สี่
สัญลักษณ์ความปลอดภัย ป้ายความปลอดภัย safety sign, สัญลักษณ์ความปลอดภัย ปกติความหมายก็จะรวมถึงป้ายความปลอดภัยอยู่ด้วยแล้ว จากเหตที่คนอุตสาหกรรมบางส่วนเข้าใจคลาดเคลื่อน ณ ที่นี้จึงแตกชื่อออกมาให้เห็นด้วย, สัญลักษณ์ความปลอดภัย อาจแบ่งออกตามลักษณะใช้งานออกเป็นป้ายความปลอดภัย safety sign, ไฟวับวาบ แสงและเสียง warning light and sound alarm ทั้งนี้ต้องสำแดงเชิงสัญลักษณ์สามอย่างเพื่อสื่อสารคือหนึ่งรูปภาพ สองข้อความตัวหนังสือและสามคือรหัสสี ในหนึ่งสัญลักษณ์ความปลอดภัยจะใช้เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ สำหรับข้อความหากพนักงานในองค์กรมีมากกว่าหนึ่งประเทศ ให้ใช้ข้อความอย่างน้อยสองภาษาคือภาษาของประเทศที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่และสองคือภาษาอังกฤษ ส่วนรหัสสีมีความหมายดังนี้
เหลืองหรือเหลืองดำ เตือนให้ระวังอันตราย
แดงหรือแดงขาว อันตราย ห้ามปฏิบัติ
น้ำเงินขาว บังคับหมายความว่าต้องปฏิบัติตาม
ตัวอย่างสัญลักษณ์ความปลอดภัย จากเว็ปไซด์ huntoffice.ie safetybuyer.com และจาก amazon.com
in summary
ดังที่กล่าวถึงข้างต้นว่าขั้นพื้นฐานต้องพิจารณาปิดกั้นควบคุมพื้นที่รอบทิศทาง หมายความว่าให้พิจารณาอันตรายที่อาจเกิดจากด้านบน ด้านล่าง ซ้ายขวา ด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากนั้นให้ปิดกั้นควบคุมพื้นที่โดยใช้แถบกั้น ธงริ้ว รั้วแข็ง แบริเออร์ สัญลักษณ์ความปลอดภัยต่างๆ อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างร่วมกันก็ได้ หลังจากพิจารณาแล้ว หากบางด้านไม่สามารถเข้าออกได้เช่นติดกับผนังอาคาร หรือด้านบนไม่มีกลุ่มกิจกรรมอื่นทำงานอยู่ ฯลฯ ด้านนั้นก็ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ไปปิดกั้นควบคุมเพิ่มเติมอีก การปิดกั้นและควบคุมพื้นที่จึงให้ทำบนพื้นฐานตามความเป็นจริงเท่านั้น
ติดต่องานฝึกอบรม
แปลเอกสารเซฟตี้
ที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ
: บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA)
Tel 093 7719222 E-mail :
sangtakieng@gmail.com
กลับหน้าแรก
:
คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง
ที่สูงและการทำงานบนที่สูง :
คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง
กระเช้ายกคนและกระเช้ากอนโดลา :
คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม
รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย :
คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่
ม้ายืน บันไดและการใช้งานอย่างปลอดภัย :
คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ห้า
อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว
:
คลิ๊ก
ตรงนี้
ตอนที่หก
อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก :
คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู
หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา
คลิ๊กตรงนี้
MENU
หน้าแรก
หลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนา
สมัครสมาชิกฟรี-ลงทะเบียน
เว็ปบอร์ดแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
Lockout Tagout Safety
เครนเหนือศีรษะ
อุปกรณ์ช่วยยกในงานเครน
การใช้โฟร์ค-ลิฟท์อย่างปลอดภัย
นั่งร้าน Scaffolds
การทำงานบนที่สูง
ที่อับอากาศ ConfinedSpace
การกำกับดูแล & บริหารผู้รับเหมา
เสาะหามาเล่า ค้นรื้อมาบอก
เพลงลูกทุ่งไทย ฤาถึงยุคล่มสลาย
บันทึกแผ่นดิน มนต์รักลูกทุ่งปี ๑๓
รำลึกวิถีคนกล้า สืบนาคะเสถียร
มิตรชัยบัญชา มายาชีวิต
รอยรักข้างหลังภาพ ศรีบูรพา
ท่องไชยาทางโลก ท่องสวนโมกข์ทางธรรม
WEB LINK
VISIT
สถิติวันนี้
98 คน
สถิติเมื่อวาน
435 คน
สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
5425 คน
16975 คน
690519 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
Copyright (c) 2006 by Ronnarong