Sangtakieng.com
Confined Space Identification
วิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้พื้นที่อับอากาศในสถานประกอบการ
นำเสนอและงานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

บททั่วไป General
การชี้บ่งที่อับอากาศ คณะทำงานอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปบ้าง หากจะลดข้อจำกัดดังกล่าวลง ควรทำสำรวจให้เห็นพื้นที่หรืออุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมดก่อน จากนั้นจึงลงความเห็นร่วมกัน
โดยพื้นฐานที่อับอากาศ ต้องเป็นที่ปิดหรือปิดบางส่วน การบ่งชี้ว่าเป็นลักษณะใดนั้นให้พิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้ประกอบด้วย หากประกอบด้วยข้อหนึ่งข้อใด ถือว่าเป็นที่อับอากาศ (In relation to a place of work, means an enclosed or partially enclosed space that) :
 
  • ทางเข้าออกจำกัด เข้ายาก-ออกยาก (may have restricted means of entry and exit)
  • 2.ไม่ถูกออกแบบให้คนเข้าไปทำงานแบบต่อเนื่อง (is not intended or designed primarily as a place of work)
  • 3.อากาศมีความดันหรือความร้อนสูงขณะที่คนปฏิบัติงานอยู่ในนั้น (is at atmospheric pressure or high temperature while persons are in it)
  • 4.อาจมีบรรยากาศอันตราย อ๊อกซิเจนสูงหรือต่ำเกินไป มีก๊าซติดไฟหรือระเบิดได้หรือเป็นที่สะสมก๊าซพิษ (may have an atmosphere with potentially harmful contaminants, an unsafe level of Oxygen or stored substances that may cause engulfment)

            

แนวปฏิบัติเพื่อบ่งชี้ที่อับอากาศ (Confined Space Identification)
  • 1.แต่งตั้งคณะทำงานหนึ่งทีม 3-5 คน มอบหมายให้ศึกษาจัดทำระบบปฏิบัติการที่อับอากาศ โครงสร้างควรประกอบด้วยตัวแทนพื้นที่และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 
  • 2.ทีมทำงานศึกษากฏหมาย ประกาศกรมฯ และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายและมาตรฐานที่อับอากาศดังตัวอย่างต่อไปนี้
กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ (กำลัง update)
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตสำหรับการทำงานในที่อับอากาศ 
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ (กำลัง update)
มาตรฐานสากลที่องค์กรยึดถือ ตัวอย่างเช่นมาตรฐานออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ AS/NZS 2865 :2001 Safe Working in a Confined Space เป็นต้น

  • 3.กำหนดหัวข้อบ่งชี้ที่อับอากาศ โดยพิจารณาสถานที่หรืออุปกรณ์ (ซึ่งระเบียบปฏิบัติฉบับนี้เรียกแทนสถานที่หรืออุปกรณ์เหล่านั้นว่า-ที่) ซึ่งเป็นที่ปิดหรือปิดบางส่วนหรือหลุมปากเปิด โดยถือเงื่อนไขดังต่อไปนี้เป็นเกณฑ์

 Note-การนำกฏหมายหรือประกาศกรมฯ หรือมาตรฐานใดๆ มาใช้ จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจในภาพรวมให้ชัดเจนเสียก่อน จากนั้นจึงนำมาใช้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองและตรงตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย ประกาศกรมฯ หรือมาตรฐานนั้นมากที่สุด

Note-ความลึกของหลุมปากเปิด ไม่ได้ถูกบ่งชี้อย่างชัดเจนจากกฏหมายหรือมาตรฐานสากลฉบับใด แต่ละองค์กรอาจมีความเห็นแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมของสถานประกอบการนั้น คณะทำงานและผลการทำประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ที่พบมักจะกำหนดความลึก 1.5 เมตร, 1.8 เมตรและ 2 เมตร, ฉะนั้นการยึดถือค่าใดให้คณะทำงานเสนอให้นายจ้างหรือตำแหน่งงานซึ่งปฏิบัติแทนนายจ้างเป็นผู้เห็นชอบ

4.ขั้นทำสำรวจและบ่งชี้ว่าเป็นที่อับอากาศ
  • จัดทำทะเบียนที่อับอากาศและเสนอให้ผู้จัดการแผนกความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมลงนามอนุมัติ
  • ปิดป้ายทุกทางเข้าออกของที่อับอากาศ, หากองค์กรเป็นการทำงานร่วมมากกว่าหนึ่งชาติ, ให้ปิดป้ายซึ่งมีสองภาษาคือภาษาไทยและภาษาอังกฤษทุกทางเข้าออก
  • ที่ใด ทีมทำงานพิจารณาร่วมกันแล้ว มีความยากลำบากในการบ่งชี้ว่าเป็นที่อับอากาศหรือไม่ ให้บ่งชี้ที่นั้นว่าเป็นที่อับอากาศ

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 90 คน
 สถิติเมื่อวาน 142 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1387 คน
57572 คน
939624 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong