Sangtakieng.com
Atmosphere Testing, Ventilation and Fume Extraction Technique
การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ 
นำเสนอและงานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

การตรวจวัดอากาศ (Atmosphere Testing)
  • เครื่องตรวจวัดก๊าซ-สอบเทียบศูนย์ในสภาวะอากาศปกติ (Verify and zeroing set-up)
  • เครื่องตรวจวัดก๊าซ-ปรับตั้งค่า 5-10% ของ LEL-Lower explosive limit
  • กรณีเป็นบ่อน้ำเสีย บ่อพักสิ่งปฏิกูลหรือบ่อที่มีน้ำเสียหมักหมม ให้วัดค่า H2S ค่ายอมรับสูงสุดต้องไม่เกิน 10 ppm (Reference TWA-time weight average ของ H2S=10 ppm)

Note-โดยปกติเครื่องตรวจวัดก๊าซจะปรับตั้งใหม่เฉพาะค่าเปอร์เซนต์ของ LEL ของก๊าซที่ติดไฟหรือระเบิดได้เท่านั้น ส่วนค่าอ๊อกซิเจน คาร์บอนมอนอ๊อกไซด์และไฮโดรเจนซัลไฟล์ จะถูกปรับตั้งไว้แล้ว เนื่องจากเป็นค่าคงที่ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง

          

             

  • ตรวจวัดบรรยากาศ 3 ระดับของที่อับอากาศ เนื่องจากพฤติกรรมการลอยตัวของก๊าซที่แตกต่างกัน (density relative to air) ก๊าซที่ความหนาแน่นมากกว่าอากาศจะลอยต่ำ, ใกล้เคียงกับอากาศจะลอยระดับกลางและหากว่าความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศจะลอยสูง
  • ความถี่ในการตรวจวัดก๊าซ กรณีที่อับอากาศซึ่งกระบวนการทำงานไม่มีก๊าซเสียเกิดขึ้น ให้ตรวจวัดก่อนเข้าพื้นที่อับอากาศ และระหว่างการปฏิบัติงานทุก 2 ชั่วโมง, หากเกิดก๊าซเสียจากกระบวนการทำงานให้ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานพกพาเครื่องตรวจวัดก๊าซตลอดเวลา และให้ผู้เฝ้าระวัง (Standby Person) ตรวจวัดและบันทึกค่าทุก 30 นาที หรือทุก 1 ชั่วโมง

เทคนิคการระบายอากาศ (Ventilation Confined Space)
  • การระบายอากาศตามธรรมชาติ (Natural Ventilation)-คือการระบายอากาศโดยอาศัยหลักการไหลของก๊าซที่อุณหภูมิสูงกว่าขยายตัวทำให้มีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศ จึงมีพฤติกรรมการลอยตัวขึ้นที่สูง อากาศในภาวะปกติจะไหลเข้ามาแทนที่
qเปิด Manhole ค้างไว้ทั้งข้างบนข้างล่างเพื่อให้อากาศไหลเวียนได้ตามธรรมชาติ
qการระบายอากาศจะไหลได้ทิศทางเดียวคือจากข้างล่างสู่ข้างบน จะบังคับเปลี่ยนทิศทางไม่ได้
qความดันบรรยากาศจะเป็นแบบสมดุล ความดันข้างนอกเท่ากับความดันด้านใน

     

  • การระบายอากาศโดยใช้กลไก (Replacement Ventilation or Local Exhaust Ventilation)-โดยการใช้พัดลมบังคับให้เกิดการไหลเวียนของก๊าซระหว่างภายนอกกับภายใน
qการระบายอากาศแบบใช้พัดลมดูดออก-ภายในที่อับอากาศจะมีความดันบรรยากาศน้อยกว่า, อากาศจากภายนอกจึงไหลเข้าไปแทนที่
qการระบายอากาศแบบใช้พัดลมเป่าเข้า-อากาศภายนอกจะดันให้อากาศเสียภายในไหลทิ้งออกไป,บรรยากาศภายในจะมีความดันสูงกว่าภายนอก
qการระบายอากาศแบบดูดและเป่าอากาศเข้า (Push-Pull Ventilation)-ปกติจะใช้ Capacity ของพัดลมที่มีขนาดเท่ากัน ความดันบรรยากาศจะเป็นแบบสมดุล ความดันข้างนอกเท่ากับความดันด้านใน
qการระบายอากาศเฉพาะที่-ใช้พัดลมดูดก๊าซเสียออกจากจุดทำงาน เพื่อไม่ให้ก๊าซเสียฟุ้งกระจายไปทั่วที่อับอากาศ

 

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับไปยังเมนูหลัก ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูวิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูการประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3292 คน
55438 คน
937490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong