Sangtakieng.com
Personal Protective Equipment and SCBA
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเครื่องช่วยหายใจแบบถังอากาศ
นำเสนอและงานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

เครื่องช่วยหายใจ SCBA-Self Contained Breathing Apparatus
ความเข้าใจทั่วไป-เครื่องช่วยหายใจแบบถังอากาศอัด มีหลายยี่ห้อและหลายรุ่น ในรายละเอียดปลีกย่อยของวิธีใช้งานอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักการใช้และวิธีดูแลรักษายังคงหลักการเดียวกัน หรือจะกล่าวโดยง่ายคือวิธีการใช้อาจแตกต่างกันบ้าง แต่หลักการใช้และดูแลเหมือนกัน การนำเสนอในเมนูนี้ ท่าสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติได้อย่างดีและต้องอ่านและปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำประจำเครื่องควบคู่

               
            เครื่องช่วยหายใจ SCBA-Self Contained Breathing Apparatus

เครื่องช่วยหายใจ-ให้เลือกใช้เครื่องช่วยหายใจยี่ห้อที่มีมาตรฐานสากลรองรับเท่านั้น ซึ่งโดยปกติในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ ภาคงานอุตสาหกรรมจะมี 3 ขนาด
  • Low Pressure 2216 PSIG  45 Ft3 : Service Time 30 minutes 
  • High Pressure 4500 PSIG 66 Ft3 : Service Time 45 minutes 
    High Pressure 4500 PSIG 87 Ft3 : Service Time 60 minutes
ข้อปฏิบัติสำหรับการใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • qต้องกำหนดผู้รับผิดชอบ
  • qให้ออกแบบใบตรวจสอบตรวจสภาพ และให้ตรวจสอบตรวจสภาพทุกระยะ 2 เดือน จากนั้นให้เก็บไว้เพื่อสอบกลับได้
  • qออกซิเจนในถัง หากไม่ได้ใช้งานให้ปล่อยทิ้งและเติมใหม่ทุก 6 เดือน
  • qหลังใช้งานทุกครั้งและทุก 2 เดือนต้องทำความสะอาด Facepiece เช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ห้ามใช้แอล-กอ-ฮอลล์ เนื่องจากทำให้ยางส่วนขอบเสื่อมสภาพเร็ว
  • qทุกรอบปีปฏิทินให้ส่งถังไปทดสอบความแข็งแรงโดยวิธี Hydro-Static Test

Note-กฏหมายไทย, หน้ากากแบบสวมเต็มหน้า (Full Face Mask) ซึ่งอยู่ในชุดเครื่องช่วยหายใจถือเป็นยุทธภัณฑ์ทางทหาร การนำมาใช้ในราชอาณาจักรหรือการถือครอง ต้องขออนุญาตและเห็นชอบโดยกระทรวงกลาโหมแล้วเท่านั้น ส่วนการสูญหายหรือทำลายหลังหมดสภาพใช้งานต้องจัดทำรายงานแจ้งให้กระทรวงฯ ทราบ

              
เครื่องช่วยหายใจ SCBA-Self Contained Breathing Apparatus
qหมายเลข 1 : Cylinder ถังทำจากอลูมิเนียมไร้ตะเข็บ หุ้มด้วยไฟเบอร์
qหมายเลข 2 : Valve และ First Stage Regulator : สำหรับปรับแรงดัน 90-135 psig ซึ่งจะมีชุดระบายความดันไม่ให้เกิน 175-230 Psig
qหมายเลข 3 : Second Stage Regulator : วาล์วปรับลดแรงดันก่อนส่งอากาศเข้าสู่หน้ากาก
qหมายเลข 4 : Face Piece : เลนส์พลาสติกใสทำจาก Poly Carbonate เคลือบสารป้องกันผ้า ซีลยางทำจาก Silicon ทนทานต่อกรดด่างร้อนเย็น
qหมายเลข 5 : Gauge /Alarm : แสดงค่าความดันถัง, เมื่อความดันลดลงเหลือ 25 % ของความดันถังสูงสุดหรือประมาณ 500-625 Psig จะมีสัญญาณเตือน
qหมายเลข 6 : Backpack : ชุดสายสะพายและรองแผ่นหลัง

การใช้งาน (SCBA Operation)
  • เกจหัวถังต้องพร้อมใช้งานที่สเกลเขียว (green or full zone)
  • ตรวจสอบเร็วๆ เกี่ยวกับการชำรุดเสียหายทั่วไป ของอุปกรณ์
  • สวมสะพายเครื่อง SCBA และดึงปรับสายรัดให้ตึงพอดี
  • เปิดวาล์วหัวถัง ทดสอบกด By Pass Button และทดลองเปิดปิด By Pass Valve ที่หน้ากากเพื่อทดสอบการไหลของอากาศ
  • สวมหน้ากาก (Face piece) และดึงสายรัดทั้ง 5 จุดให้ตึงพอดี
  • ใช้มืออุดจมูกของหน้ากากและทดลองหายใจเข้าแรงๆ เพื่อทดสอบว่าหน้ากากแนบชิดผิวหน้า รั่วหรือไม่
               

  • สวม Second Stage Regulator เข้ากับหน้ากาก
  • ทดลองเปิด Bypass valve และปิดคืนหรือ กด/ปล่อย By pass button เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบทำงานได้สมบูรณ์
  • หายใจตามปกติด้วยอากาศภายในถัง
  • หลังใช้งานให้ปิดวาล์วหัวถังและเปิดวาล์ว Bypass ที่ Second Stage Regulator เพื่อปล่อยออกซิเจนค้างสาย
Note-ความดันที่พอดีกับการหายใจของคนคือประมาณหนึ่งบาร์

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลประเภทพื้นฐาน (Basic Personal Protective Equipment)-ให้พิจารณาและใช้อุปกรณ์ดังต่อไปนี้เป็นขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้อุปกรณ์ต้องได้มาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานที่สากลยอมรับ
  • อุปกรณ์ป้องกันศรีษะ-หมวกแข็ง
  • อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังหากมีแหล่งกำเนิดเสียงเกินมาตรฐาน-ปลั๊กอุดหูหรือครอบหู
  • อุปกรณ์ป้องกันดวงตา-แว่นตานิรภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย-ชุดปฏิบัติงานแบบเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • อุปกรณ์ป้องกันเท้า-รองเท้าหนังหุ้มส้น

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลประเภทพิเศษเฉพาะงาน (Special Personal Protective Equipment)-ให้พิจารณาและใช้ตามผลการทำประเมินความเสี่ยง ทั้งนี้ให้พิจารณาป้องกันที่แหล่งกำเนิดอันตรายและป้องกันที่ทางผ่านเป็นลำดับแรก หากเป็นไปไม่ได้จึงมาพิจารณาป้องกันฯ ที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายฯ ต้องได้มาตรฐาน มอก. หรือมาตรฐานที่สากลยอมรับ, ตัวอย่างอุปกรณ์เช่น
  • แว่นครอบตานิรภัย
  • อุปกรณ์ป้องกันลำตัวต่างๆ ชุดกันกรด ชุดกันความร้อน ฯลฯ
  • ปลอกแขนกันบาด
  • ถุงมือชนิดพิเศษเฉพาะงาน
  • ปลอกกันแข้ง
  • รองเท้าบูชยางกันกรด รองเท้ายางธรรมชาติชนิดกันลื่น เป็นต้น

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูวิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนูการประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3292 คน
55438 คน
937490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong