Sangtakieng.com
Hazards Identified and Control of Measure
การประเมินสภาพงานและมาตรการควบคุมอันตราย
นำเสนอและงานเขียน เรียบเรียง : รณรงค์ แสงตะเกียง

ทบทวนความรู้และความเข้าใจขั้นพื้นฐาน

ทบทวนเรื่องแรก : กลุ่มอันตรายในภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรม
ภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรมหรือภาคปฏิบัติการโรงงานมีอันตรายอะไรบ้าง (Plant Relate Hazards)-อันตรายที่อาจเกิดฯ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  1. อันตรายทางกายภาพ (Physical Hazard) : ตัวอย่างเช่นไฟฟ้าดูด ลื่นล้ม ตกจากที่สูง สั่นสะเทือน บาดตัดหนีบ ทิ่มแทง ฝุ่นควัน ร้อนหนาว กระแทกชน ทุบตี รังสี ฯลฯ
  2. อันตรายทางด้านเคมี (Chemical Hazard) : ต้องทำความเข้าใจว่าเคมีหรือวัถุอันตรายอาจจะอยู่ในสถานะใด สถานะหนึ่ง อาจอยู่ในรูปของแข็ง เป็นของเหลวหรืออยู่ในสถานะก๊าซก็ได้ ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบใดระบบหนึ่งภายในร่างกายทำงานผิดปกติ
  3. อันตรายทางด้านไบโอโลจิคัล (Biological Hazard) : เป็นสิ่งมีชิวิตขนาดเล็ก เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรคจากการทำงาน เช่นเชื้อโรค แบคทีเรีย  
  4. อันตรายทางด้านเออร์กอนโอมิกส์ (Ergonomics Hazard) : สาเหตุหลักของอันตรายกลุ่มนี้มาจากการยกของหนักเกินกำลัง ยกของผิดท่าทาง และหรือทำงานด้วยท่าทางซ้ำ-ซ้ำ มากครั้งต่อวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง

                 
              

ทบทวนเรื่องที่สอง : เครื่องมือที่ใช้ในการบ่งชี้อันตราย (Hazards Identified)
การบ่งชี้อันตรายมีหลายวิธี เป็นเครื่องมือในการค้นหาอันตราย, ค้นคิดมาจากหลายองค์กร มีเจตนารมณ์เดียวกันแต่วิธีการแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
  • What-If analysis
  • Hazard and operability studied (HAZOP)
  • Fault-tree analysis (FTA)
  • Failure modes and effects analysis (FMEA)
  • Even-tree analysis (ETA)
  • Problem analysis (PA)
  • Potential problem analysis (PPA)
  • Job safety analysis (JSA) etc

การบ่งชี้อันตรายในงานเสี่ยงอันตรายสูงหกประเภท และงานขนถ่ายด้วยจักรกลหนักผ่อนแรง แนะนำให้ใช้เทมเพลท Teplate การบ่งชี้อันตรายด้วยเทคนิคประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ซึ่งจะอธิบายให้เข้าใจในเมนูนี้
Note-งานเสี่ยงอันตรายสูงหกประเภทในภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรม : (1) งานแหล่งกำเนิดความร้อนและประกายไฟ, (2) งานปฏิบัติการบนที่สูง, (3) งานปฏิบัติการนั่งร้าน, (4) งานปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง, (5) งานขุดเจาะ, และ (6) งานปฏิบัติการที่อับอากาศ 

ทบทวนเรื่องที่สาม : มาตรการควบคุมอันตราย (Hazards Control or Control of Measure)
การควบคุมอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นหลังจากการบ่งชี้อันตราย กระบวนการทำงานที่แตกต่างหรือสภาวะการทำงานที่แตกต่างกัน อันตรายก็จะแตกต่างกัน มาตรการควบคุมไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต้องใช้มาตรการที่แตกต่างกันไปด้วย, การควบคุมอุบัติเหตุมีสองเทคนิค
  • การควบคุมอุบัติเตโดยวิธีบริหารจัดการ (Adminitrative Control)
  • การควบคุมอุบัติเหตุด้วยวิธีทางวิศวกรรม (Engineering a Solution)

การควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีบริหารจัดการ
หมายถึงการควบคุมอุบัติเหตุโดยกำหนดเป็นเงื่อนไข กฏระเบียบ ฝึกอบรมพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถหรือข้อปฏิบัติต่างๆ เช่นเขียนเป็นข้อกำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติ กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงานในเอกสารคู่มือคำแนะนำ ประกาศซึ่งลงนามโดยตัวแทนนายจ้าง ใบตรวจสอบ ฯลฯ เป็นต้น

การควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีทางวิศวกรรม
หมายถึงการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือการใช้เครื่องมือฯ ร่วมในการควบคุมอุบัติเหตุเช่น ใช้รั้วแข็งขวางกั้นไม่ให้คนเข้าพื้นที่, ใช้แถบกั้นเตือน, ใช้แถบกั้นอันตราย, ใช้ป้ายเตือน, ป้ายบังคับ, สัญญาณไฟวับวาบ, สัญญาณเตือนอันตรายแสง-เสียง-สั่น, กำหนดขอบเขตโดยขีดสีตีเส้น, ทางเท้า (Walkway), ตาข่ายป้องกันของตกจากที่สูง ฯลฯ 

เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมอุบัติเหตุ ให้ทำความเข้าใจและลองวิเคราะห์กรณีศึกษาข้างล่างนี้
กรณีศึกษาที่หนึ่ง : พื้นที่ปฏิบัติงานคับแคบ มีท่อน้ำดิบขวางกั้นพื้นที่ ขณะทำงานฯ โดยลำตัวอยู่ในลักษณะคุดคู้ไม่สะดวก อาจมีผลกระทบทางด้านเออร์โกโนมิกส์, การควบคุมอุบัติเหตุ
  • ถอดท่อเป็นการชั่วคราวเพื่อให้คนทำงานไม่ต้องคุดคู้ หลังจากงานแล้วเสร็จจึงประกอบฯ กลับ, กรณีเช่นนี้เรียกว่าการควบคุมอุบัติเหตุโดยทางวิศวกรรม
  • กรณีไม่ควรถอดท่อ-ออก เนื่องจากยากลำบากเกินไปและไม่คุ้มทุน คนต้องทำงานลักษณะลำตัวคุดคู้ แต่บริหารจัดการโดยเขียนไว้ในคู่มือคำแนะนำ (Work Instruction) ให้จัดผู้ปฏิบัติงานเป็น 2 ทีม โดยกำหนดให้สลับกันทำงานทีมละหนึ่งชั่วโมง, กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการควบคุมอุบัติเหตุโดยทางบริหารจัดการ

กรณีศึกษาที่สอง : โฟร์ค-ลิฟท์ต้องขนวัตถุดิบเข้าไปภายในอาคารโรงงาน เส้นทางขนย้ายของดังกล่าวเข้าใกล้พื้นที่ปฏิบัติการที่อับอากาศในรัศมี 2 เมตร จึงจัดทำป้ายบังคับประเภทชั่วคราว ให้โฟร์ค-ลิฟท์ขนย้ายวัตถุดิบเฉพาะช่วงเวลา 0900-1000 นาฬิกาและเวลา 1400-1500 นาฬิกาเท่านั้น, ทั้งนี้ได้สื่อสารกับพนักงานขับโฟร์ค-ลิฟท์ ให้ควบคุมความเร็วไม่เกิน 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเส้นทางฯ ใกล้พื้นทีปฏิบัติการที่อับอากาศได้ติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบ เพื่อเตือนให้ระวังอันตรายเนื่องจากการทำงานสองกิจกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน
  • การมีป้ายบังคับประเภทชั่วคราว ให้โฟร์ค-ลิฟท์ ทำงานเฉพาะช่วงเวลาที่กำหนด : เป็นการควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีทางวิศวกรรม
  • การสื่อสารกับพนักงานขับโฟร์ค-ลิฟท์ ให้ควบคุมความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง : เป็นการควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีบริหารจัดการ
  • ติดตั้งไฟวับวาบ บริเวณเส้นทางซึ่งอยู่ใกล้พื้นทีปฏิบัติการที่อับอากาศ : การใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ดังกล่าวเป็นการควบคุมอุบัติเหตุโดยวิธีทางวิศวกรรม

             
        การใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ในการควบคุมอันตรายถือว่าเป็นการควบคุมฯ โดยใช้วิธีการทางวิศวกรรม

ทบทวนเรื่องที่สี่ : การประเมินสภาพงานหรือการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การประเมินความเสี่ยง เป็นการคาดการณ์ระดับความรุนแรงของอุบัติการณ์ที่อาจเกิด โดยมองถึงโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบที่ตามมา (Consequence), ตารางข้างล่างนี้เป็นความหมายจำเพาะ ไม่ต้องการให้เทียบกับความรู้สึกของบุคคล หากแต่ใช่เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อหวังผลขั้นปลายจากการทำประเมินเท่านั้น
เนื่องจากการทำประเมินความเสี่ยงมีวิธีการการแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่ว่าจะอ้างอิงมาตรฐานใด ทั้งนี้ผลขั้นปลายจะออกมาเหมือนกัน, ณ ที่นี้จะอ้างอิงมาตรฐานออสเตรเลี่ยน/นิวซีแลนด์ AS/NZS 4360 : Risk Management

ความหมายจำเพาะของโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ (Likelihood Score)
  • Almost Certain-เกิดขึ้นบ่อย (5) : เหตุการณ์ที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกสถานการณ์ เกิดได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี 
  • Major-น่าจะเกิดขึ้น (4) : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ และเคยเกิดขึ้นมาแล้วกับงานลักษณะนี้
  • Possible-มีโอกาสเกิด (3) : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • Unlikely-ไม่น่าเกิดขึ้น (2) : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้บ้าง แต่บางสถานการณ์เท่านั้น 
  • Rare-เกิดยากมาก (1) : เกิดยากมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการที่จำเพาะเท่านั้น

ความหมายจำเพาะของผลกระทบที่อาจตามมา (Consequence Score)
  • Critical-เกิดขึ้นบ่อย (5) : บุคคลเสียชีวิตหรือมีผลกระทบกับกลุ่มคน เช่นบาดเจ็บจำนวนมากหรือตายหมู่ 
  • Major-น่าจะเกิดขึ้น (4) : บุคคลเสียชีวิตหรือหรือทุพพลภาพรุนแรงเช่น อัมพาตหรือสูญเสียอวัยวะ
  • Moderate-มีโอกาสเกิด (3) : บาดเจ็บขั้นรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายตามปกติได้ เช่นแผลไหม้รุนแรงบนผิวหนังส่วนใหญ่ของร่างกาย สมองกระทบกระเทือน การบาดเจ็บที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
  • Minor-ไม่น่าเกิดขึ้น (2) : เกิดการบาดเจ็บ แต่สามารถรักษาให้หายตามปกติได้ 
  • Low-น้อยมาก (1) : เกิดการบาดเจ็บหรือไม่สบายเล็กน้อยในระยะเวลาสั้นๆ เช่นถูกบาด รอยถลอก โดนเปลวความร้อนหรือโดนแสงแดดจ้าแสบร้อน

 

เห็นได้ว่าการทำประเมินความเสี่ยงหรือการทำประเมินสภาพงาน จะได้ความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับคือ
  • ต่ำหรือเล็กน้อย-Low
  • ปานกลาง-Moderate
  • สูง-High
  • ร้ายแรง-Extreme

การทำประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Method)

ขั้นตอนการทำประเมินความเสี่ยง
  • กำหนดขั้นตอนปฏิบัติงานตั้งแต่ขั้นตอนแรกกระทั่งงานแล้วเสร็จ (Creat Working Step)
  • นำแต่ละขั้นตอนมาพิจารณา เพื่อบ่งชี้ลักษณะของอันตรายที่อาจเกิด (Hazards Identified) ซึ่งต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มของอันตราย P=Physical Hazeads อันตรายทางด้านกายภาพ, C=Chemical Hazard อันตรายทางด้านเคมี, B=Biological Hazard อันตรายทางด้านไบโอโลจิคัล, และ E=Ergonomice Hazard อันตรายทางด้านเออร์โกโนมิกส์
  • ประเมินระดับความเสี่ยงก่อนกำหนดมาตรการควบคุม, ว่าอยู่ระดับใด   
  • กำหนดมาตรการควบคุม โดยวิธีบริหารจัดการหรือวิธีการทางวิศวกรรม (Hazards Control Measure or Hahards Control Method)
  • ประเมินระดับความเสี่ยงหลังกำหนดมาตรการควบคุม หากมาตรการควบคุมถูกต้อง, ความเสี่ยงหลังมาตรการควบคุมต้องได้เท่ากับระดับ Low (ต่ำ)

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
กลับเมนูหลัก ความปลอดภัยในงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู คุณสมบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู วิธีการ หลักเกณฑ์บ่งชี้ที่อับอากาศในสถานประกอบการ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู บทบาท หน้าทีและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องฯ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การขออนุญาตเข้าทำงานและการขอยกเลิกปฏิบัติการที่อับอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู การตรวจวัดก๊าซและเทคนิคการระบายอากาศ : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและ SCBA : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู แผนฉุกเฉิน แผนช่วยเหลือช่วยชีวิต : คลิ๊กตรงนี้

  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 10 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3292 คน
55438 คน
937490 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong