Sangtakieng.com
 
๑.๒ ตอนที่หนึ่ง
working at heights safety engineering
วิศวกรรมความปลอดภัยการทำงานบนที่สูง
ตอนที่หนึ่ง (๑.๒) ที่สูงและความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง
 
งานเขียน เรียบเรียงและนำเสนอ : รณรงค์ แสงตะเกียง
facebook : รณรงค์ แสงตะเกียง
e-mail : sangtakieng@gmail.com phone 093 7719222
 
บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) : ฝึกอบรม สัมมนา 
อบรม สัมมนา งานที่ปรึกษาจัดทำระบบ & ระเบียบปฏิบัติงาน
e-mail : sangtakieng@gmail.com  phone 093 7719222

 
ที่สูงและความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง ต่อจากตอนที่ ๑.๑ 

3.2 นั่งร้าน erector, inspector and scaffolding worker

นั่งร้านเป็นศาสตร์วิชาการทำงานบนที่สูงลำดับที่ ๓.๒ ลักษณะของนั่งร้านเป็นโครงสร้างชั่วคราว ติดตั้งประกอบเข้าด้วยกันเพื่อใช้ทำงานบนที่สูง นั่งร้านหมายความว่าที่ทำงานซึ่งจัดไว้สูงจากพื้นดิน หรือพื้นอาคารหรือส่วนของงานก่อสร้างสำหรับเป็นที่รองรับผู้ทำงานหรือวัสดุในงานก่อสร้างเป็นการชั่วคราว ผู้เกี่ยวข้องกับงานนั่งร้านมีสี่กลุ่มคือผู้ติดตั้งรื้อถอน ผู้ตรวจนั่งร้าน ผู้ใช้นั่งร้านและผู้กำกับดูแลงานนั่งร้าน (scaffolding erector, inspector, workers and scaffolding supervisor) แต่ละกลุ่มจะฝึกอบรมความรู้พื้นฐานเหมือนกัน และบางส่วนจะฝึกอบรมเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามภาระงาน

 
แม้กฎหมายไทยระดับประกาศกรม ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยังไม่ได้ประกาศกำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ การสร้าง ประกอบ ติดตั้งและตรวจนั่งร้าน ซึ่งออกตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง ยังไม่ออกบังคับใช้หรือขาดรายละเอียดส่วนนี้ไปก็ตาม แต่ด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับงานนั่งร้าน มีความซับซ้อนและหัวข้อบังคับเรียนค่อนข้างมาก จึงประมาณระยะฝึกอบรมขั้นต่ำดังนี้   
 
  • ผู้ติดตั้งรื้อถอนนั่งร้าน scaffolding erector ระยะฝึกอบรมสองวัน
  • ผู้ตรวจนั่งร้าน scaffolding inspector ระยะฝึกอบรมสองวัน
  • ผู้กำกับดูแลงานนั่งร้านในสถานประกอบกิจการ scaffolding supervisor
  • ผู้ใช้นั่งร้าน scaffolding worker ระยะฝึกอบรมหนึ่งวัน  
การตรวจนั่งร้านให้ทำโดยผู้ที่มี certificate ระบุว่าเป็นผู้ตรวจนั่งร้าน และแขวนป้ายแท็กอนุญาตคราวละไม่เกินเจ็ดวัน หรือจะกล่าวให้เข้าใจง่ายคือป้ายแท็กอนุญาตใช้นั่งร้าน มีอายุไม่เกินเจ็ดวัน ในกรณีที่คนเดียวกันมี certificate ทั้งผู้ติดตั้งรื้อถอนและผู้ตรวจนั่งร้าน งานเดียวกันให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบ (role and responsibilities) เพียงหน้าที่เดียวเท่านั้น จะติดตั้งนั่งร้านเองและตรวจอนุญาตเองไม่ได้ 

 
ศาสตร์การทำงานลำดับที่สี่และศาสตร์ลำดับที่ห้า จะมีหลักการเหมือนกันคือ ABC (บางตำราใช้หลักการ ABCD บางตำรา ABCDE) ลำดับนี้จะอธิบายถึงภาพกว้างเท่านั้น ส่วนรายละเอียดจะกล่าวถึงในหน่วยเรียนที่เป็นเฉพาะในลำดับหลังอีกครั้ง วิธีการของศาสตร์ลำดับที่สี่และลำดับที่ห้าจะมีภาวะใช้งานแตกต่างกัน อุปกรณ์ป้องกันการตกที่กล่าวถึงนี้ (fall restraint system) ใช้งานภายใต้สองหลักคิด หลักคิดแรกคือบังคับระยะไม่ให้ออกนอกขอบตกและอีกหลักคิดคือยึดรั้งไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานตกลงไปด้านล่าง จากสองหลักคิดจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้งานใน ๕ ลักษณะย่อยๆ ดังนี้ 
 
  • ใช้เชือกบังคับระยะไม่ให้ออกนอกขอบตก
  • ใช้กับการรั้งผู้ปฏิบัติงานอยู่กับที่เพื่อทำงานบนต้นเสา
  • งานเชือกโรยตัวเพื่อทำงานบนผนังสูง
  • wire rope crab อุปกรณ์ป้องกันการตกชนิดฟันโลหะล็อคเชือก
  • ใช้ม้วนสลิงแบบกระตุกหยุด retractable lifeline  

4.1 การใช้เชือกบังคับระยะไม่ให้ออกนอกขอบตก
 

ศาสตร์ลำดับที่ ๔.๑ นี้เหมาะสมกับสภาพงานซึ่งเป็นที่สูงขอบเปิด ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมสายรัดแบบเต็มตัว ใช้เชือกประเภทเชือกยืดตัวต่ำผูกเงื่อนวัดความยาวบังคับระยะ ไม่ให้ ผู้ปฏิบัติงานออกนอกขอบตก สามองค์ประกอบของการใช้เชือกบังคับระยะ

 
  • A-anchorage point จุดยึดเกาะต้องไม่เป็นวัสดุขอบคมหรือขอบเหลี่ยม กรณีเลี่ยงวัสดุขอบคมหรือวัสดุขอบเหลี่ยมไม่ได้ให้รองขอบด้วยวัสดุอ่อน แข็งแรงรับกระตุกได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ กิโลกรัม คูณพิกัดเผื่อความปลอดภัยขั้นต่ำ ๓.๕ เท่า
  • B-body harness ใช้อุปกรณ์มาตรฐานทั่วไป ผ่านการตรวจสภาพตามระยะเวลา ผ่านการตรวจสภาพก่อนใช้งานและยืนยันว่าไม่ชำรุด ไม่มีตำหนิ
  • C-connectors ในที่นี้หมายถึงเชือกและอุปกรณ์ทางเลือกที่นำมาใช้ร่วมด้วยเช่น คาราบินเนอร์ carabiner เป็นต้น 
 

4.2  รั้งผู้ปฏิบัติงานอยู่กับที่เพื่อทำงานบนต้นเสา
 
การทำงานบนต้นเสา ด้วยสภาวะเช่นนี้ผู้ปฏิบัติงานยืนไม่เต็มเท้าไม่ได้ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ด้านหน้าของขา กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่น่องและกล้ามเนื้อส่วนขาอื่นๆ อยู่ในสภาวะหดเกร็ง static condition เลือดผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ลดลงทำให้เมื่อยล้าเร็วกว่าปกติ จากข้อมูลทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยแนะนำว่าการทำงานในสถาะวะเช่นนี้ ไม่ควรเกิน ๑๕ นาที หากนานกว่านี้แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นแทน เช่นใช้รถกระเช้า กระเช้ายกคนด้วยเครน ฯลฯ เป็นต้น 
 
4.3  งานเชือกโรยตัวสำหรับทำงานบนผนังสูง
 
งานเชือกโรยตัวเพื่อทำงานผนังสูง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและภาคปฏิบัติการอุตสาหกรรมบางส่วนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนและมองว่ามีภาวะเสี่ยงอันตรายสูง เมื่อเทียบกับประเทศใกล้ๆ เช่นอินโดนีเซียพบว่าเขามีบุคลากมากกว่าและได้เปรียบในการทำงานค่อนข้างมาก อาจด้วยเหตุนี้การพัฒนางานเชือกโรยตัวบ้านเราจึงอยู่ในกรอบจำกัด  
หากเราศึกษาโดยใช้วิชาว่าด้วยวิศวกรรมความปลอดภัย พบว่าเป็นวิธีการที่ง่าย รวดเร็วและเหมาะกับงานปฏิบัติบนผนังสูงของอาคาร ผนังสูงของปล่องไฟ ผนังสูงของเครื่องจักรหรือสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน และที่สำคัญคือต้นทุนทำงานต่ำและความปลอดภัยสูงด้วยซ้ำ 
 
 
 
อุปกรณ์ของระบบและการทำงานของอุปกรณ์
 
  • working line เชือกโรยตัวเส้นหลักซึ่งแขวนยึดฮาร์เนสของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ให้ตกลงด้านล่าง อุปกรณ์ที่ยึดเกาะฮาร์เนสกับเชือกคืออุปกรณ์ปล่อยเชือก (self-braking descender)
  • self-braking descender อุปกรณ์ปล่อยเชือก เป็นอุปกรณ์ที่มีกลไกเกาะชุดฮาร์เนสไว้กับเชือก เมื่อใช้มือบีบให้กลไกหนีบเชือกถ่างออก ผู้ปฏิบัติงานสามารถปรับระดับลงได้และเมื่อหยุดบีบ กลไกจะจับเกาะเชือกดังเดิมผู้ปฏิบัติงานจะคงระดับ
  • chest harness สายรัดหน้าอกเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์เนส หรือเป็นอุปกรณ์ส่วนควบของฮาร์เนส
  • work positioning harness ฮาร์เนสแบบเต็มตัวสำหรับทำงานเชือกโรยตัว ซึ่งต้องมีมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งรองรับเช่น DIN JIS CE AS/NZS BS หรือมาตรฐานอื่นใดที่งานอุตสาหกรรมยอมรับ
  • lanyard assembly และ swing seat (optional) แปลรองนั่งเป็นอุปกรณ์เสริม จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยให้การนั่งทำงานสบายมากขึ้น หากนำมาใช้ก็จะประกอบไว้กับฮาร์เนส
  • safety line เชือกโรยตัวเส้นสำรองจะแขวนยึดฮาร์เนสของผู้ปฏิบัติงานเอาไว้ ไม่ให้ตกลงด้านล่าง อุปกรณ์ยึดเกาะฮาร์เนสกับเชือกเส้นสำรอง อาจจะใช้อุปกรณ์ปล่อยเชือกหรืออุปกรณ์กระตุกหยุด (self-braking descender of rope grab) ก็ได้
  • rope grab อุปกรณ์กระตุกหยุดจะใช้แทนด้วยอุปกรณ์ปล่อยเชือกก็ได้ (self-braking descender) เจตนารมณ์คือ หากเกิดเหตุขัดข้องของเชือกเส้นหลัก ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ตกลงไปด้านล่าง
  • tool attach strap มือจับเชือกมีกลไกเกาะยึดเชือกมั่นคง เมื่อผลักตามแนวเชือกขึ้นบน กลไกจะเป็นอิสระสามารถเลื่อนได้ หากเลื่อนลงกลไกจะล็อค 

4.4  wire rope crab อุปกรณ์ป้องกันการตกชนิดฟันโลหะล็อคเชือก
 
อุปกรณ์มีสองชนิดคืออุปกรณ์ป้องกันการตกแบบกระตุกหยุด retractable lift line, fall arrest block หรือบางผู้ผลิตเรียกว่า inertia reel และชนิดที่สองคืออุปกรณ์ล็อคสลิงตามแนวดิ่ง wire rope grab
 
  • อุปกรณ์ป้องกันการตกชนิดกระตุกหยุด retractable lift line กลไกทางกลจะมีหลักการและวิธีการทำงานเหมือนกับกลไกการทำงานของเข็มขัดนิรภัยรถยนต์ เมื่อเกิดเหตุผู้ปฏิบัติงานตกจากที่ต่างระดับ ซึ่งปกติการตกก็จะมีการกระตุกโหลดและกลไกก็จะล็อคสายช่วยชีวิตให้แขวนค้าง ผู้ปฏิบัติงานไม่ตกกระแทกด้านล่าง จุดยึดเกาะที่ใช้กับอุปกรณ์ลักษณะนี้ ต้องอยู่กับที่ แข็งแรงรับแรงกระตุกได้และติดตั้งอยู่เหนือผู้ปฏิบัติงาน ความยาวของสายช่วยชีวิต ๕-๔๐ เมตร
  • อุปกรณ์ป้องกันการตกชนิดฟันโลหะล็อค wire rope grab หลักการคล้ายกระเดื่อง ใช้เมื่อไต่ขึ้นลงที่ต่างระดับ โดยจะเกาะอุปกรณ์ไว้กับเชือกขึงตึงหรือสลิงขึงตึงตามแนวดิ่ง vertical static line เมื่อเกิดเหตุตกจากที่ต่างระดับ กระเดื่องของอุปกรณ์จะกระตุกโหลดและล็อคสายช่วยชีวิตให้แขวนค้างไว้ ผู้ปฏิบัติงานไม่ตกกระแทกด้านล่าง จุดยึดเกาะที่ใช้กับอุปกรณ์ลักษณะนี้ ต้องเป็นเชือกหรือสลิงขึงตึงเท่านั้น การประกอบอุปกรณ์เข้ากับสลิงหรือเชือกให้ไปทิศทางเดียวกันกับทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้ปฏิบัติงาน เคลื่อนที่ขึ้นลูกศรชี้ขึ้น เคลื่อนที่ลงลูกศรชี้ลง 
 
 
 
4.5  ใช้สายแลนยาร์ดแบบกระตุกหยุด retractable lifeline 
 
ความสูงของระดับยืนทำงานเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่วิศวกรรมความปลอดภัยต้องคำนึงถึง พื้นยืนทำงานที่ระดับต่ำกว่าหกเมตร อาจจะมีอุปกรณ์ให้เลือกหลายชนิดเช่น เพลทฟอร์มถาวร รถกระเช้า กระเช้ายกคน นั่งร้าน บันไดและม้ายืน ฯลฯ อุปกรณ์แลนยาร์ดแบบกระตุกหยุด retractable lanyard ก็เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับระดับปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าระดับหกเมตร หลักการทำงานจะเสมือนผสมรวมกันระหว่าง retractable lift line กับแลนยาร์ด ฟังก์ชั่นเด่นคือผู้ปฏิบัติงานคล่องตัวในการทำงาน สามารถเคลื่อนที่ได้ตามระยะของสายดึงหยุด ซึ่งปกติจะมีความยาวสองเมตรและสามเมตร ซึ่งจะกระตุกหยุดภายในเวลาสั้นหากเกิดเหตุตกจากที่สูง
 
 
 

 
ระบบอุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตกจะแนะนำให้ใช้งานที่สามองค์ประกอบคือ ABC anchorage point ความแข็งแรงจุดยึดเกาะแลนยาร์ด, body harness มาตรฐานอุปกรณ์และการใช้ฮาร์เนสถูกวิธี และสามคือ connectors หมายถึงอุปกรณ์ยึดเชื่อมต่อระหว่างจุดเกาะแลนยาร์ดกับฮาร์เนสที่ผู้ปฏิบัติงานสวมอยู่ การใช้อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตกคือแลนยาร์ดสายคู่ประกอบร่วมกับช็อคอัฟซอฟเบอร์ 
 
เป้าหมายคือหากเกิดเหตุตกจากที่สูง ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่บาดเจ็บจากการกระตุกโหลด ไม่ตกกระแทกพื้นหรือไม่บาดเจ็บจากการสลัดเหวี่ยงกระแทกโครงสร้างหรือผนังด้านข้าง ส่วนประกอบของแลนยาร์ดแบบสายคู่ประกอบร่วมกับช็อค-อัฟซอฟเบอร์
 
  • แลนยาร์ดแบบสายคู่ เนื่องจากความยาวของแลนยาร์ดและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วม ความยาวรวมเท่ากับ ๒ เมตร บางครั้งงานบนที่สูงต้องปลดตะขอเพื่อเคลื่อนที่ทำงานออกนอกระยะนี้ การใช้งานให้ปลดขยับคราวละหนึ่งตะขอเท่านั้น
  • ช็อค-อัฟซอฟเบอร์ shock-absorber เมื่อเกิดเหตุตกจากที่สูงจะดูดซับแรงกระตุก ไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ
 
 

ลำดับการเลือกเพื่อทำงานบนที่สูง hierarchy of working at heights หกลำดับขั้น 
 
  1. เลือกทำงานบนพื้นเป็นอันดับแรก หากเป็นไปไม่ได้
  2. ให้เลือกทำงานบนเพลทฟอร์มถาวร หากเป็นไปไม่ได้
  3. ให้ใช้กระเช้าหรือนั่งร้าน หากเป็นไปไม่ได้
  4. เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก หากเป็นไปไม่ได้
  5. ลดความรุนแรงจากการตก หากเป็นไปไม่ได้
  6. ให้หยุดและปรึกษาหัวหน้างาน

 
 
ศาสตร์ปฏิบัติการลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ห้าถือว่ามากพอที่จะทำงานบนที่สูงให้ลุล่วงเสร็จได้ กรณีนี้ผู้ปฏิบัติงานอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิธีการ จึงให้หยุดและปรึกษาสายบังคับบัญชาในระดับที่สูงกว่า
 
จริงแล้วศาสตร์หลักสำหรับการทำงานบนที่สูงมีเพียงห้าลำดับเท่านั้น หากแต่การนำระบบนี้มาสื่อสารในประเทศไทยและภาคพื้น ยังอยู่ในช่วงเวลาที่มีความจำเป็นต้องปรับใช้ให้เหมาะสม ณ ที่นี้จึงผนวกรวมเข้าเป็นศาสตร์ลำดับที่หก ต้องไม่ลืมว่าองค์กรที่มีประสิทธิภาพ สายบังคับบัญชาแต่ละระดับต้องทำงานตามบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองได้ ขณะทำงานหากมีข้อสงสัยพนักงานต้องหยุดและสอบถามหัวหน้างาน (front line leader) หากหัวหน้างานมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ก็มีสายบังคับบัญชาในระดับที่สูงขึ้นช่วยเหลือเป็นลำดับขั้น เหตุที่แนะนำให้หยุดการทำงานและสอบถามฯ ด้วยเหตุที่หัวหน้างานฝ่ายปฏิบัติการ มีบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบขั้นต่ำดังนี้  
  • หนึ่ง-SHE control หมายถึงให้คำแนะนำ กำกับดูแลด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่อาจเกิดกับชุมชนด้วย
  • สอง-product or output control กำกับดูแลกำลังการผลิตหรือปริมาณงานต่อวันหรือต่อช่วงเวลาที่องค์กรวางแผนไว้
  • สาม-quality control กำกับดูแลให้ผลของงานได้คุณภาพ ไม่เกิดของเสียจากกระบวนการทำงานหรือเกิดอยู่ในค่ายอมรับ
  • สี่-cost control กำกับดูแลเกี่ยวกับต้นทุนที่ใช้ในกระบวนการทำงานให้อยู่ในระดับควบคุม ไม่สูงกว่าที่ควรจะเป็น
  • ห้า-man power control กำกับดูแลและให้คำแนะนำคนทำงานตามแผนและปรับแก้สิ่งที่ผิดปกติจากแผนงานหรือวิธีการที่ผิดไปจากปกติ
หากพนักงานปฏิบัติการมีข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีทำงานบนที่สูงหรือขั้นตอนย่อยของการทำงานบนที่สูง ให้หยุดและถามหัวหน้างาน ทั้งนี้เพราะเป็นบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงที่ต้องปฏิบัตินั่นเอง

ติดต่องานฝึกอบรม แปลเอกสารเซฟตี้  งานที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ : บริษัท เอเซีย แสงตะเกียง จำกัด (ASSA) Tel 093 7719222  E-mail : sangtakieng@gmail.com

กลับหน้าแรก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หนึ่ง (๑.๑) ที่สูงและความเข้าใจเกี่ยวกับงานบนที่สูง : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สอง อุปกรณ์ป้องกันการตกระบบสายรั้งและงานเชือกโรยตัว คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สาม อุปกรณ์ลดความรุนแรงจากการตก : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่สี่ ม้ายืน บันไดและความปลอดภัยการใช้งาน : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่ห้า การควบคุมของตกและวิธีปิดกั้นควบคุมพื้นที่ปฏิบัติงาน : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๑) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่หก (๖.๒) องค์ประกอบความปลอดภัยงานที่สูง และกฎหมาย : คลิ๊กตรงนี้ 
ตอนที่เจ็ด กระเช้ายกคนด้วยรถเคน HOLD รอ-กำลังพัฒนา : คลิ๊กตรงนี้
ตอนที่ รถกระเช้าและการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย : คลิ๊กตรงนี้
ไปยังเมนู หลักสูตรที่ฝึกอบรมและสัมมนา คลิ๊กตรงนี้ 
  
MENU
 
WEB LINK
 
VISIT
 สถิติวันนี้ 8 คน
 สถิติเมื่อวาน 254 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3290 คน
55436 คน
937488 คน
เริ่มเมื่อ 2012-10-14
 
Copyright (c) 2006 by Ronnarong